รองเท้ากันน้ำ ถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ สำหรับผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง เดินป่า ปีนเขา เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร รวมถึงผู้ที่ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น โดยในอดีต หากอยากสร้างรองเท้าสักคู่ให้สามารถกันน้ำได้ จะต้องใช้หนังวัวเคลือบน้ำมัน ซึ่งพอนำไปใส่ จะรู้สึกอึดอัด ร้อน และมีน้ำหนักเยอะใส่นาน ๆ แล้วเมื่อย แต่ปัจจุบัน การมาถึงของวัสดุที่ชื่อว่า Gore-Tex นั้น ได้เปลี่ยนแปลงวงการรองเท้ากันน้ำ ไปอย่างสิ้นเชิง
ผู้ให้กำเนิด เทคโนโลยี Gore-Tex
Gore-Tex เป็นนวัตกรรมจากบริษัทอเมริกันชื่อว่า W. L. Gore & Associates ซึ่งก่อตั้งในปี 1958 โดย Wilbert L. Gore และลูกชายของเขาที่ชื่อว่า Robert W. Gore โดยในปี 1969 Robert ได้ค้นพบวิธี
"ขยายตัว" ของพลาสติกชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า PTFE (Polytetrafluoroethylene) จนกลายเป็นแผ่นฟิล์มพรุนขนาดจิ๋ว ที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ 100% แต่ยังระบายไอน้ำได้ ส่งผลให้เทคโนโลยีนี้ถูกตั้งชื่อทางการค้าว่า Gore-Tex โดยเป็นการนำชื่อผู้ก่อตั้ง "Gore" มานวกกับคำว่า "Textile" (สิ่งทอ) ซึ่งสะท้อนวัตถุประสงค์ของการพัฒนาให้เป็นวัสดุสำหรับผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าทางเทคนิค


ก่อนจะมี Gore-Tex คนสมัยก่อนผลิตรองเท้ากันน้ำกันยังไง?

1. หนังเคลือบน้ำมัน (Oiled Leather / Waxed Leather)
หนังวัวฟอกด้วยไขหรือแว็กซ์ธรรมชาติ เช่น mink oil หรือ beeswax เป็นวิธีที่นิยมในรองเท้าเดินป่าและรองเท้าทหารยุคแรก ช่วยกันน้ำได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องบำรุงบ่อย และไม่ระบายอากาศ ยกตัวอย่างเช่น รองเท้า US Army M43 Combat Boots ที่ทหารสหรัฐใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
วัสดุหลัก
- หนังวัว (Full-grain Cowhide Leather) เป็นวัสดุหลักที่ใช้ผลิต M43 Combat Boots
- ลักษณะคือ หนังฟอกแบบดิบ (rough-out leather) ซึ่งเป็นหนังกลับ (ด้านที่เป็นผิวหยาบ) อยู่ด้านนอก
- การเลือกใช้ หนังแบบ rough-out ช่วยเพิ่มคุณสมบัติการ กันน้ำได้ดีกว่าหนังเรียบ และทำให้รองเท้าทนต่อการขีดข่วนได้มากขึ้น
จุดเด่น
- หนังหนาและทนทาน – ผลิตมาเพื่อใช้งานในสภาพแวดล้อมสมรภูมิที่โหดร้าย
- ใช้งานคู่กับ Leggings – รองเท้ารุ่นนี้ถูกออกแบบให้ใช้ร่วมกับ gaiters หรือ leggings (ปลอกขารัด) เพื่อเสริมการกันน้ำและป้องกันเศษดินโคลน
- ไม่สะท้อนแสง – ช่วยให้ไม่เป็นเป้าในสมรภูมิ
ข้อจำกัด
- หนักและไม่ระบายอากาศ

2. รองเท้ายาง (Rubber Boots)
ทำจากยางทั้งชิ้น เหมาะกับการลุยโคลน น้ำท่วม หรือทำเกษตร แต่ข้อเสียคือร้อน ไม่ยืดหยุ่น และเท้าเปื่อยง่ายถ้าใส่นานๆ ยกตัวอย่างเช่น รองเท้า Type II Rubber Overshoes ที่ทหารสหรัฐใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นรองเท้าครอบกันน้ำ ที่สวมทับรองเท้าหนังปกติ เช่น Service Shoes หรือ Combat Boots เพื่อเพิ่มการกันน้ำในสภาพโคลนหรือหิมะ
วัสดุหลัก
- ยางแท้ทั้งชิ้น พร้อมตัวล็อกแบบหัวเข็มขัดโลหะด้านหน้า
จุดเด่น
- ออกแบบให้สวมง่ายและกันน้ำได้เต็มรูปแบบ
ข้อจำกัด
- หนัก ไม่ระบายอากาศ และไม่เหมาะสำหรับการเดินนาน ๆ โดยตรง โดยรองเท้าจะมีเป็นลักษณะเป็น Overshoe (ไม่ได้มีซับในเหมือนรองเท้าปกติ)

3. ผ้าไนลอนเคลือบพีวีซี (PVC-coated Nylon)
ใช้วัสดุสังเคราะห์กันน้ำเคลือบบนผ้า เป็นไนลอนเคลือบ PVC กันน้ำได้และแห้งเร็ว ยกตัวอย่างเช่น M-1966 Jungle Boots (Third Pattern) เป็นรองเท้าที่ทหารสหรัฐฯ นำวัสดุ ไนลอนเคลือบ PVC (PVC-coated Nylon) มาใช้งานในสงครามเวียดนาม
วัสดุหลัก
- ส่วนบนทำจาก ไนลอนผสมผ้าฝ้าย (Cotton/Nylon Blend)
- เคลือบด้วย PVC กันน้ำบางส่วน เพื่อเพิ่มการทนทานและกันน้ำในสภาพแวดล้อมเปียกชื้น
- ด้านล่างเป็น หนังแท้ (Full-grain Leather)
- พื้นรองเท้าแบบ "Panama Sole" สำหรับการยึดเกาะที่ดีในโคลน
จุดเด่น
- น้ำหนักเบากว่ารองเท้าหนังล้วน
- แห้งไว
- มีรูระบายน้ำด้านข้าง (Drainage Eyelets)
ข้อจำกัด
- แม้วัสดุไนลอน/ผ้าฝ้ายแม้จะเบาและแห้งเร็ว แต่ก็เสื่อมสภาพเร็วเช่นกันถ้าเจอกับสภาพโหด เช่น โคลน, ความร้อนสูง, หรือการเสียดสีจากกิ่งไม้หนาม

4. การซีลตะเข็บด้วยกาวกันน้ำ
ในยุคก่อนรองเท้าที่เย็บด้วยด้าย จะใช้การเคลือบหรือซีลตะเข็บด้วยกาวยางกันน้ำ ซึ่งกันน้ำได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดนี้ มีข้อจำกัดร่วมกันคือ "ไม่ระบายอากาศ" และ "ต้องดูแลรักษา" อย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น รองเท้า U.S. Army Service Shoes Type II ที่ทหารสหรัฐใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
วัสดุหลัก
- หนังแท้ (Full-grain leather) หนังวัวคุณภาพสูง
จุดเด่น
- ดูแลรักษาได้ง่าย เช่น หากทาไขหรือแว็กซ์ จะสามารถเพิ่มคุณสมบัติการกันน้ำได้
- ใช้ โครงสร้างการเย็บแบบ Goodyear Welt ที่แข็งแรงและทนทาน
ข้อจำกัด
- เมื่อเจอสภาพอากาศเปียกหรือเดินลุยโคลนนาน ๆ น้ำยังซึมผ่านรอยเย็บหรือรูเชือกรองเท้าได้
- หากถูกทำให้เปียกซ้ำ ๆ จะ แข็งและแตกได้ง่าย
- การที่ทหาร ต้องคอยต้องทาไขหรือแว็กซ์อยู่เป็นประจำให้สามารถกันน้ำได้ ก็เป็นเรื่องจุกจิกอยู่เหมือนกัน
Gore-Tex ปฏิวัติรองเท้ากันน้ำแบบเก่า ให้สามารถระบายอากาศได้ด้วย
เมื่อ Gore-Tex เปิดตัวในปี 1969 (และผลิตเชิงพาณิชย์ในช่วงปี 1976) มันคือการ ปฏิวัติแนวคิด “กันน้ำ”เลยก็ว่าได้ เพราะ Gore-Tex เป็นวัสดุแรกๆ ที่สามารถ กันน้ำได้โดยที่ยังระบายอากาศได้ ซึ่งไม่เคยมีนวัตกรรมไหนทำได้ในระดับนี้มาก่อน และเมื่อ Gore-Tex ถูกนำมาใช้ในรองเท้า outdoor และ tactical มันจึงพลิกแนวคิดเดิมทั้งหมด เพราะคุณสมบัติของ Gore-Tex มีเยอะมาก ๆ โดยมีทั้ง
1. กันน้ำได้ 100%
Gore-Tex มีโครงสร้างรูพรุนที่ เล็กกว่าหยดน้ำหลายหมื่นเท่า ทำให้น้ำจากภายนอกไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปได้ แม้ในสภาพฝนตกหนักหรือพื้นที่โคลน
2. ระบายอากาศได้ดี
จุดเด่นสำคัญคือ สามารถระบายไอน้ำจากเหงื่อออกได้ แม้จะกันน้ำ ทำให้เท้าแห้งสบาย ไม่อบชื้น ลดโอกาสการเกิดกลิ่นอับหรือโรคผิวหนัง
3. น้ำหนักเบา + เคลื่อนไหวคล่องตัว
รองเท้าที่ใช้ Gore-Tex มักจะมีน้ำหนักเบากว่ารองเท้ากันน้ำแบบเก่า เช่น รองเท้ายางหรือหนังฟอกน้ำมัน ช่วยให้เดินหรือทำกิจกรรมได้อย่างคล่องตัว
4. ลดการดูแลรักษายุ่งยาก
ต่างจากรองเท้าหนังที่ต้องทาไขหรือซีลกันน้ำอยู่เสมอ Gore-Tex กันน้ำในตัว และคงประสิทธิภาพได้ยาวนาน โดยไม่ต้องดูแลพิเศษบ่อยครั้ง
5. รองรับทุกสภาพอากาศ
ใช้ได้ทั้งในฤดูฝน หิมะ หรือลุยน้ำ เพราะ Gore-Tex ปรับสมดุลความชื้นได้ดี เหมาะสำหรับทั้งภารกิจทหาร งานภาคสนาม หรือกิจกรรม Outdoor ส่งผลให้ Gore-Tex กลายเป็นวัสดุมาตรฐานในรองเท้าเดินป่า ปีนเขา และเป็นรองเท้าที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเลือกใช้อีกด้วย
เมื่อ Salomon เริ่มใช้ Gore-Tex
ช่วงยุค 1990 ตอนนั้น Salomon มองเห็นแล้วว่า เทคโนโลยี Gore-Tex สามารถยกระดับประสิทธิภาพสินค้าของได้ Salomon เริ่มหันมาพัฒนา รองเท้าเดินป่า (Hiking Boots) และ รองเท้า outdoor เพื่อตอบโจทย์ตลาดการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยที่กำลังเติบโต และเมื่อแบรนด์ประสบความสำเร็จในตลาด outdoor Salomon ก็เริ่มนำ Gore-Tex ไปใช้ในรองเท้าอีกหลายกลุ่ม เช่น Trail Running Shoes (รองเท้าวิ่งเทรล) และ Winter Boots แต่กลุ่มที่ทำให้ salomon เฉิดฉายสุด ๆ ยังไงก็ต้องเป็นกลุ่ม Tactical Boots (อย่าง Salomon Forces) นั่นเอง แล้ว…Salomon Forces รุ่นไหน ที่ได้รับความนิยมในไทยบ้างล่ะ?
10 รุ่น Salomon Forces ที่มี Gore-Tex แถมยังคุ้มค่าและได้รับความนิยมในร้าน Valor tactical
1. Salomon XA Forces GTX [Black] – ฿6,900
- คุ้มค่า: 9/10 | ความนิยม: ★★★★☆
- ข้อดีเพิ่มเติม: ระบบ Quicklace ทำให้รัดเชือกง่ายในเวลาเร่งด่วน
- เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรองเท้าน้ำหนักเบาและคล่องตัวสูง
2. Salomon XA Forces 8 GTX EN [Black] – ฿8,300
- คุ้มค่า: 8.5/10 | ความนิยม: ★★★★★
- ข้อดีเพิ่มเติม: แผ่นกันกระแทกเสริมข้อเท้า ช่วยป้องกันข้อเท้าบิดได้ดีเยี่ยม
- รองรับการใช้งานในพื้นที่โคลนหรือสมรภูมิที่ต้องการการปกป้องสูง
3. Salomon Quest Prime Forces GTX EN [Black] – ฿8,400
- คุ้มค่า: 9/10 | ความนิยม: ★★★★☆
- ข้อดีเพิ่มเติม: น้ำหนักเบากว่ารุ่น Quest 4D ทำให้เดินป่าระยะไกลได้สะดวก
- ผสานการใช้งาน tactical + outdoor อย่างลงตัว
4. Salomon Quest Prime Forces GTX EN [Coyote] – ฿8,400
- คุ้มค่า: 9/10 | ความนิยม: ★★★★☆
- ข้อดีเพิ่มเติม: สี Coyote เหมาะกับการพรางตัวในพื้นที่ทะเลทรายหรือแห้งแล้ง
- เหมือนรุ่น Black แต่ตอบโจทย์สายภารกิจกลางแจ้งในภูมิประเทศพิเศษ
5. Salomon XA PRO FORCES GTX [Black] – ฿6,500
- คุ้มค่า: 9.5/10 | ความนิยม: ★★★★☆
- ข้อดีเพิ่มเติม: ดีไซน์พัฒนาเพิ่มจากรองเท้าวิ่งเทรลที่ทนทานพิเศษ
- เหมาะกับงานที่ต้องการความเร็วและคล่องตัวสูง
6. Salomon XA Forces Mid Wide GTX EN [Black] – ฿7,200
- คุ้มค่า: 9/10 | ความนิยม: ★★★★☆
- ข้อดีเพิ่มเติม: ความกว้างพิเศษช่วยลดการเสียดสีระหว่างเดินระยะไกล
- สำหรับผู้ที่หน้าเท้ากว้างหรือใส่ถุงเท้าหนา
7. Salomon Quest 4D GTX Forces 2 EN [Black] – ฿8,900
- คุ้มค่า: 8.5/10 | ความนิยม: ★★★★★
- ข้อดีเพิ่มเติม: พื้น Energy Cell ช่วยซึมซับแรงกระแทกได้อย่างยอดเยี่ยม
- เหมาะสำหรับภูมิประเทศภูเขาหรือเดินทางระยะไกล
8. Salomon X Ultra Forces Mid GTX [Black] – ฿6,800
- คุ้มค่า: 9/10 | ความนิยม: ★★★★☆
- ข้อดีเพิ่มเติม: ดีไซน์ดัดแปลงจากรองเท้าเทรลรุ่นท็อป ทำให้ยึดเกาะได้ดีแม้บนพื้นเปียก
- เหมาะกับ tactical + hiking ในทุกภูมิประเทศ
9. Salomon XA Forces Mid GTX EN [Black] – ฿7,200
- คุ้มค่า: 9/10 | ความนิยม: ★★★★☆
- ข้อดีเพิ่มเติม: แผ่นกันโคลน (Mud Guard) เสริมรอบรองเท้าช่วยกันโคลนเลอะ
- เหมาะสำหรับภารกิจที่ต้องเผชิญพื้นที่เปียกและโคลน
10 Salomon Speed Assault 2 GTX [Black] – ฿5,800
- คุ้มค่า: 9.5/10 | ความนิยม: ★★★★☆
- ข้อดีเพิ่มเติม: น้ำหนักเบามาก (เพียง 300g ต่อข้าง) เหมาะสำหรับเคลื่อนที่เร็ว
- สำหรับผู้ที่ต้องการความเร็วสูงและระบายอากาศดี