80 ปี ไทยรบญี่ปุ่น สายฝน โคลนเลน และ ดินปืน
ต้นเดือนธันวาคม พ.ศ 2484 ทั่วทุกภาคของประเทศไทยในตอนนั้นอบอวลไปด้วยบรรยากาศการเตรียมงานวันฉลองรัฐธรรมนูญ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม ท่ามกลางกระแสของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เริ่มคืบคลานเข้ามาใกล้กับพื้นที่ประเทศไทยทุกขณะ สถานการณ์ทั่วไปในช่วงเย็นวันที่ 7 ธันวาคม 2484 หน่วยงานราชการ เอกชน ยังคงดำเนินไปโดยปกติ มีการซักซ้อม พิธีการ ซ้อมการเดินขบวนและการแสดงต่างๆ ไม่ได้มีใครวิตกกังวลหรือคิดถึงสงครามแต่อย่างได้ ไม่มีใครคิดว่ามหามิตรที่มีข้อตกลงไม่รุกรานกันจะคิดไม่ซื่อ
จริงๆแล้วการยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทยนั้นอยู่ในแผนการของญี่ปุ่นตั้งแต่แรกอยู่แล้วครับ เนื่องจากหากญี่ปุ่นต้องการจะยึด มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า แล้วละก็ การเดินทัพผ่านประเทศไทยทางบกนั้นง่ายกว่าการเข้าตีจากทางทะเลแน่นอน กองทัพญี่ปุ่นวางแผนและจัดกำลังสำหรับรุกออกนอกประเทศในช่วงปี 2484 - 2485 ไว้ดังนี้ครับ
- สี่กองพลของกองทัพที่ 25 จากจีนใต้และอินโดจีน ยกพลขึ้นบกตามแนวชายฝั่งภาคใต้ประเทศไทย ไล่ตั้งแต่ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานีและโกตาบารู กำลังส่วนนี้จะทำหน้าที่เข้าตีมาเลเซียและสิงคโปร์
- สองกองพลจากกองทัพที่ 15 ในอินโดจีน(เข้ามาทางอรัญประเทศ) จะทำหน้าที่เข้ายึดประเทศไทย แล้วเดินทัพผ่านไปตีพม่า
- หนึ่งกองพลจากกองทัพที่ 23 ยึดฮ่องกง
- สองกองพลจากกองทัพที่ 24 จากเกาะฟอร์โมซาและเกาะบาลาอู เข้าตีฟิลิปปินส์
- กำลังส่วนย่อยของจักพรรดินาวี ยึดเกาะกวม เกาะเวค และเกาะมากิ้น
- กองเรือบรรทุกเครื่องบินแห่งจักรพรรดินาวีเข้าตีฐานฐานทัพเรือเพิร์ลฮาเบอร์และเกาะโออาฮูของสหรัฐอเมริกาที่ฮาวาย
- สองกองพลบิน กองทัพบก จัดเตรียมเครื่องบินพร้อมรบราว 700 เครื่องสนับสนุนปฏิบัติการ 1-4
- จักรพรรดินาวีนอกจากจะเข้าปฏิบัติการตรงในข้อ 5 และ 6 แล้วยังจัดกองเรือรบและเครื่องบินเข้าสนับสนุนทางยุทธการในข้อ 1-4 ด้วย (เครื่องบินราว 550 เครื่อง เรือรบแบบต่างๆ 90 ลำ )
จากข้อมูลจะเห็นว่าญี่ปุ่นจัดกำลังเข้าตีประเทศไทยถึง 6 กองพล งานนี้ถือว่าไทยเราแบกน้ำหนักขึ้นชกมากพอตัวเลยเดียว แต่ต้องบอกก่อนครับว่าจริงๆแล้วที่ญี่ปุ่นส่งกำลังเข้ามาขนาดเป้าหมายคือเข้าตี พม่า สิงคโปรค์ และ มาเลเซียครับ ไม่ได้มีประเทศไทศเป็นเป้าหมายหลักซะทีเดียว(แต่ถ้าไทยไม่ยอมให้เดินทัพผ่านดีๆก็อีกเรื่อง) ตอนนี้ญี่ปุ่นพร้อมเต็มที่แล้วที่จะเปิดศีก
6 ธันวาคม 2484
เครื่องบินตรวจการณ์พิสัยไกลของกองทัพอากาศออสเตรเลีย ตรวจพบกองเรือรบขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นนอกปหลมญวน ประกอบด้วยเรือลำเลียง เรือประจัญบาน เรือลาดตระเวนและเรือพิฆาต กองเรือนี้ออกจาก ท่าเรือไฮฟองและท่าเรือคัมราห์ม ถือเข้มลงใต้
7 ธันวาคม 2484
เรือดำน้ำและเรือ ตอร์ตอปิโด ของราชนาวีไทย ตรวจพบกองเรือญี่ปุ่นจากระยะไกล แต่ไม่มีการเข้าปะทะ เนื่องจากมีคำสั่งจากหน่วยเหนือให้หลีกเลี่ยงการปะทะ
เช้ามืดวันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพบกและกองทัพเรือญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีอย่างรุนแรงพร้อมกันกันทั่วทุกจุด ทั่วภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกและเอเซียอาคเนย์ ไล่ตั้งแต่ เพิร์ลฮาเบอร์ ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ชวา บอร์เนียว และประเทศไทย
7 ธ.ค 2484 เวลา 22.30 น. กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ไม่กี่ชั่วโมงก่อนการยกพลขึ้นบก
เทจิ ทสุโบกามิ อัครราชฑูตญี่ปุ่นขอเข้าพบนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งเรื่องกองทัพญี่ปุ่นขอเดินทัพผ่านประเทศไทย แต่ในเวลานั้นทางรัฐบาลไทยไม่สามารถให้คำตอบในเรื่องนี้ได้เนื่องจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไม่ได้อยู่ในกรุงเทพ และไม่สามารถติดต่อได้ด้วย แต่ทางญี่ปุ่นไม่ต้องการรอ ทสุโบกามิ อัครราชฑูตญี่ปุ่นจึงยื่นคำขาดกับรัฐบาลไทยว่าถ้าไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนภายใน 10.00 น. ของวันที่ 8 ธันวาคม กองทัพญี่ปุ่นจะเข้าตีทันที ในตอนที่กำลังเจรจากันนี้ กองทัพญี่ปุ่นก็เข้าประชิดชายแดนไทยแล้ว และเริ่มปฏิบัติการยกพลขึ้นบกตามแผนที่วางไว้พร้อมกันตั้งแต่เวลา 0200 น.
สมรภูมิท่าแพ นครศรีธรรมราช
พายุฝนกระหน่ำหนักตั้งแต่ตีสาม พลตรี หลวงเสนาณรงค์ ผบ.มทบ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับโทรเลขด่วนจากจังหวัดสงขลามีใจความว่า ตรวจพบกองเรือขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น เข้ามาในอ่าวสงขลา บริเวณเกาะหนู เกาะแมว และทำการยกพลขึ้นบกยึดสถานที่ราชการและพื้นที่หาดสมิหราไว้ได้ หลังจากนั้นไม่กี่นาที แตรเดี่ยวซึ่งประจำอยู่นะที่ตั้งกองรักษาการ มทบ.6 ก็แผดเสียงแจ้งเหตุสำคัญ บรรดานายทหาร นายสิบ ต่างวิ่งกันพล่านเพื่อแต่งตัว เตรียมอาวุธ แล้วไปรวมกันที่จุดรวมพล
ในขณะที่กำลังจัดเตรียมกำลังคนและอาวุธอยู่นั้นเอง พลตรี หลวงเสนาณรงค์ก็ได้รับรายงานว่ากองทัพญี่ปุ่นลำเลียงกำลังลงเรือท้องแบนแล้วล่องมาตามคลองท่าแพ โดยมีเป้าหมายเพื่อยึดตลาดท่าแพ ถ้าเป็นยุคนี้ก็ต้องบอกว่างานเข้าแบบเต็มๆเพราะ ตลาดท่าแพตั้งอยุ่ห่างจากหน้าค่ายแค่ไม่กีร้อยเมตรเองครับ
ด้วยสถานการณ์เข้าขั้นวิกฤติผบ.มทบ.6 จึงมีคำสั่งให้ ผบ.กองรักษาการณ์นำทหารในกองรักษาการทั้งหมดเข้าสนับสนุนหน่วยที่อยู่หน้าสุดคือ กองร้อยที่ 2 กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 15 ซึ่งในขณะนั้นเริ่มมีการปะทะกันด้วยปืนเล็กและปืนกลแล้ว พร้อมกับสั่งให้รวบรวมกำลังทหารภายในหน่วยทั้งหมด ขึ้นสมทบทหารจากกองรักษาการณ์ที่ล่วงหน้าไปแล้ว
ญี่ปุ่นเคลื่อนเข้าแนวยิงห่างจากรั้วลวดหนามของ ป.พัน 15 ไม่ถึง 400 เมตร โรงเก็บปืนใหญ่ของร้อย 2 ถูกระดมยิงอย่างหนักจนไม่สามารถลากปืนออกมาตั้งยิงได้ ต้องใช้ปืนใหญ่ 2 กระบอกที่ไปนำกลับมาจากร้านงานฉลองรัฐธรรนูญ มาตั้งยิงกระบอกแรกตั้งยิงที่หน้าร้อย 1 ส่วนอีกกระบอกตั้งยิงข้างคลังกระสุนของร้อย 2 จังหวะนั้นญี่ปุ่นส่งกำลังบางส่วนเข้าตีโอบ พ.ท หลวงอนันต์สุรกาจ ผบ.พันจึงสั่งให้ ผบ.ร้อย 1 นำเอา ป.63 มาตั้งยิง 2 กระบอก นอกเหนือจากกำลังพลประจำปืนใหญ่แล้ว ทุกนายที่เหลือใช้อาวุธปืนเล็กยาวเข้าปะทะกับข้าศึกทั้งหมด ปืนใหญ่ฝ่ายไทยเปิดฉากยิงลงพื้นที่ท่าแพและตามแนวลำคลองท่าแพกับคลองบางพูน ฝั่งญี่ปุ่นเองก็ตอบโต้กลับด้วยปืนค.และปืนใหญ่ทหารราบเช่นกัน แต่ไม่สามารถเจาะแนวป้องกันของ ป.พัน 15 เข้ามาได้
ในส่วนของทหารราบซึ่งประกอบไปด้วย ทหารจากกองรักษาการณ์ มทบ.6, ร.พัน 39 ,ป.พัน 15,ส.พัน 6 และ พ. มณฑล 1 สบทบด้วย ยุวชนทหารจากหน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 44 ประมาณ 1 กองร้อย ได้เข้าปะทะข้าศึกตั้งแต่ช่วงแรกและพยายามผลักดันข้าศึกให้ถอยร่นอยู่เช่นกันการรบเป็นไปอย่างรุนแรงดุเดือดจนถึงขั้นติดดาบปลายปืนเข้าปะทะกันเลยทีเดียวครับ รบกันอยู่ตรงนี้ตั้งแต่ เช้ามืดจนมีคำสั่งจากผู้บัญชาการทหารบกให้ทหารไทยทุกหน่วยยุติการรบ และยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านประเทศไทยได้ ในการรบที่นครศรีธรรมราชนี้มีทหารไทยพลีชีพ 38 นาย บาดเจ็บร่วม 100 นาย
ติดตามตอนต่อไป
ที่มา
-หนังสือ ไทยรบจนสุดใจขาดดิ้น
-สงครามมืดวันญี่ปุ่นบุกไทย