เริ่มค้นหาจากความเหมาะสม
ในการใช้งาน
มากกว่าความชื่นชอบ
- ลำดับที่ 1 การป้องกันโกร่งไก -
ควรเริ่มจากการมองหาซองที่จะช่วยป้องกันโกร่งไกไว้ได้ทุกที่ทุกเวลา
ไม่ว่าจะขณะพกพาหรือปลดซองออกก็ตาม
เพราะคุณไม่ต้องการให้สิ่งใดๆก็ตามเข้า
ไปยิ่งเกี่ยวกับไกปืนของคุณโดยไม่รู้ตัว
- ลำดับที่ 2 การกริ๊ปปืน -
ต่อไปคือ แนวความคิดเมื่อเราจำเป็นต้องใช้อาวุธที่พกซ่อนไว้แล้ว
นั้นหมายความถึงสถานการณ์ หรือวินาทีของความเสี่ยงเป็น เสี่ยงตาย
ควรจะพิจารณาถึงความถนัดของคุณเมื่อชักอาวุธออกมา
คุณอยากที่จะกริ๊ปมือพร้อมจากซอง
แล้วค่อยชักปืนออกมา อาจจำเป็นที่ต้องยิงด้วยมือข้างเดียว
หรือประทับมือรอง เข้ามาเสริมหรือไม่?
หรือคุณมั่นใจที่จะเพียงแค่ใช้นิ้วเกี่ยวด้ามออกมา
และมาประทับจัดกริ๊ปเล็ง ตามทีหลัง
อันนี้ไม่มีข้อใดถูกที่สุด
แต่ขึ้นอยู่กับความถนัดของบุคคล
และรูปแบบการฝึกฝนของผู้ใช้งานเสียมากกว่า
- ลำดับที่ 3 ความปลอดภัยต่อร่างกายคุณ -
ซองที่คุณจะสามารถพกพาได้อย่างสะดวก
และไม่เป็นภาระต่อผู้ใช้งาน
มีปัจจัยแนวคิด ในแง่ของความปลอดภัย
หลากหลายข้อรวมในลำดับนี้ให้คิด
เช่น ซองบังโกร่งไกมิดชิดหรือไม่?
ตัวปืนเมื่อพกพาจะเสียดสีร่างกายไหม?
เวลาชักอาวุธตัวปืนเสียดสีร่างกายไหม?
เวลาชักอาวุธนิ้วเหนี่ยวไกอยู่ในตำแหน่งไหน?
ปลอดภัยรึเปล่า?
อย่าลืมข้อที่ว่า คุณกำลังจัดการ ปฎิบัติการร่วมกับอาวุธของคุณ
ซึ่งมีผลร้ายและความเสียหาย ไม่ว่าต่อตัวคุณเอง หรือ ต่อผู้ประสงค์ร้ายต่อคุณก็ตาม
- ลำดับที่ 4 ใช้งานสะดวกภายใต้สภาวะกดดัน -
หากคุณไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่ฝึกฝนอย่างชำนาญ
ซองปืนพกซ่อนที่คุณเลือกเอื้อต่อการใช้งานภายใต้สภาวะกดดันหรือไม่?
ซองปืนจับอาวุธของคุณได้แน่นหนาหรือไม่?
ซึ่งหากคุณ อาจจะตกอยู่ในสถาการณ์ล้มลุก คลุกคลาน
ซองปืนเอื้อเฟื้อให้คุณชักอาวุธปืนจากท่าทางที่ไม่ถนัดได้หรือไม่?
ทั้งหมดนี้เป็น 4 ลำดับ แนวคิดพื้นฐานเพื่อที่จะช่วยให้ เพื่อนๆ พี่น้อง
ได้มีแนวทางในการเลือกซองพกซ่อนอาวุธปืนของตน
อาจจะไม่ใช่สูตรสำเร็จ บางคนอาจมีเพิ่มหัวข้อ
ความต้องการของตนในสภาวะ หรือ ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน
ที่มา : https://www.itstactical.com/warcom/firearms/concealed-carry-using-a-multi-layered-approach-to-find-the-perfect-holster/
บทความ : Concealed Carry: Using a Multi-Layered Approach to Find the Perfect Holster
ผู้แปล เรียบเรียง : ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563