JOIN, OR DIE  ความหมายที่ซ่อนอยู่ และ บทบาทในชาติอเมริกัน Valor Tactical

คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ภาพติดตาของ ธงปลุกระดม ธงรบ หรือแม้แต่ ป้าย Patch
ในสหรัฐอเมริกา หนึ่งในนั้นมักจะมีภาพงู เป็นภาพเชิงสัญลักษณ์เห็นได้อยู่บ่อยๆ
ในบทความนี้เราจะมาเล่าถึงภาพหนึ่งซึ่งมีงูเป็นองค์ประกอบสำคัญ "JOIN, or DIE"



"JOIN, or DIE" (ร่วมกันหรือตาย)

เป็นภาพการ์ตูนเชิงโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับ " ผลักดันสิทธิเสรีภาพ "
โดย แบนจามิน แฟรงคลิน ที่ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์
The Pennsylvania Gazette ณ วันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1754 

ซึ่งถือเป็นภาพแรกของการ์ตูนล้อเลียนการเมือง                                                          ของประวัติศาสตร์อาณานิคมอังกฤษ ในทวีปอเมริกา และ การสร้างชาติอเมริกัน

ภาพงูแปดท่อน ถูกตัดขาดจากกัน แต่ละท่อนถูกกำกับด้วยตัวย่อของ ชื่อเขตอาณานิคม 
ซึ่งมีถึง 13 เขต ในสมัยนั้น ประกอบไปด้วย

Massachusetts, New Hampshire, Rhode Island, Connecticut
ทั้ง 4 นับรวมเป็น New England 
New York, Pennsylvania รวมกับ Delaware, New Jersey , Maryland, Virginia, North Carolina, South Carolina และ Georgia(ไม่ได้ถูกนับรวม)

ทั้ง 13 เขต เรียงลำดับตามแนวชายฝั่ง ถูกรวบยอด เป็น 8 หัวเรือหลัก
ของเชื้อสายอเมริกันที่ก้าวมาเป็น 1 ใน รัฐปัจจุบันทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา



จุดมุ่งหมาย และ บทบาทของภาพ

แบนจามิน แฟรงคลิน ตระหนักได้ว่า
หาก อาณานิคมอังกฤษไม่รวมเป็นหนึ่ง จะไม่มีทางต่อกรกับศัตรูรอบด้านได้เลย
จึงเกิดเป็นแนวคิดในการส่งสาสน์เพื่อรวมใจให้แก่ ผู้คนในเขตอาณานิคมอังกฤษ

แรงบันดาลใจของภาพ แฟลงคลิน ดัดแปลงมาจากนิทานพื้นบ้าน
ที่ว่าหากงูที่ขาดครึ่งเป็น 2 ท่อน หากสามารถต่อร่างกลับคืนได้
ก่อนเวลาพระอาทิตย์ตกดิน งูตัวนั้นจะคืนชีพกลับมา
สาสน์นี้ส่งไปถึงผู้ใจคนอย่างรวดเร็ว เมื่อพวกเขาได้เห็นภาพนี้

นั้นเป็นเพราะ ภาพงูที่ขาดจากกันสะท้อนให้คิดย้อนกลับได้ว่า 
ความสามัคคีเป็นเอกภาพ หรือ งูเต็มตัวนั้นมีพิษสงถึงเพียงไหน

เนื่องจากในศตวรรษนั้น มีการต่อกร, ค้าขาย กับอาณานิคมอื่นๆ เช่น 
อาณานิคมชาติฝรั่งเศส, อาณานิคมชาติสเปนนิช, ชาวอินเดียนแดง 
ในช่วงสงคราม 7 ปี (The French and Indian War)

สงครามปฏิวัติอเมริกา

ถึงแม้ว่าต้นกำเนิดของภาพจะห่างออกไป เป็นเวลาเกือบ 20 ปี แต่ความนิยม
และ ความหมายของภาพไม่เคยจางหายไปจากหัวใจชาวอาณานิคมอังกฤษ
ผู้เป็นต้นเชื้อสายชาวอเมริกัน ช่วงก่อนที่เหตุการณ์ประกาศอิสรภาพ
ของอาณานิคมอังกฤษ ก่อนที่จะกลายมาเป็นประเทศ สหรัฐอเมริกา

ภาพนี้ได้ถูกนำกลับมาตีพิมพ์อีกครั้ง จากหลายสำนักพิมพ์
เพื่อปลุกรวมใจพลักดัน ความเป็นเอกเทศจาก จักรวรรดิบริติช

ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1774 หนึ่งสำนักพิมพ์ ที่ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ 
The Massachusetts Spy ได้จัดเรียง ย่อภาพ นำมาตีพิมพ์เป็นหัวกระดาษ
สำหรับหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับ เพื่อเน้นย้ำถึงการลุกขึ้นยืนต่อต้าน
การข่มขู่ กดขี่ เอารัดเอาเปรียบ 



ภาพดัดแปลงที่ตีพิมพ์ กลายเป็น งูเต็มตัวแทนที่จะขาดเหมือนเช่นเคย
พร้อมด้วยตัวอักษรย่อกำกับ ซึ่งครั้งนี้มี Georgia เข้าร่วมด้วยแสดงถึงความเป็นปึกแผ่น
ประจันหน้าสู้กับมังกร ที่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทน จักรวรรดิบริติช
สาสน์นี้ถูกตีความเป็นไปตามมุมมองของทั้งสองด้าน

ฝั่งอาณานิคม เชื่อมั่นด้วย
ความเป็นหนึ่งเดียว และ อิสรภาพซึ่งตนเป็นผู้เลือก

อีกด้านที่ฝั่งผู้ภักดีต่อจักรวรรดิบริติช มองเห็นเป็นการกระทำที่ดูหมิ่น
ไร้ซึ่งความเคารพประเทศแม่ของตน 

สุดท้ายนี้ หากจะกล่าวได้ว่า ภาพ "JOIN, or DIE" มีความหมายเสมือน
กับวลีของไทยที่ส่งเสริมความสามัคคี กล่าวไว้ว่า "รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย"
ที่ท่านผู้อ่านทุกท่านคงจะเคยพูดกล่าว กับ คนในครอบครัว พี่น้อง เพื่อนสนิท 
เพื่อรวมใจหมู่คณะให้มุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน 

 

ที่มา

https://www.patriotwood.com/blogs/news/join-or-die-a-symbolic-banner-in-americas-history

บทความ
"JOIN, OR DIE" - A SYMBOLIC BANNER IN AMERICA'S HISTORY

แปลโดย ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 09/10/2020

Leave a comment

All comments are moderated before being published

Blog posts

View all
Review - Salomon XA Forces Mid GTX EN

Review - Salomon XA Forces Mid GTX EN

Review รีวิวadmin admin
REVIEW: Magpul - MBUS Pro Sight

REVIEW: Magpul - MBUS Pro Sight

admin admin