Sleeper Cell (สลีปเปอร์ เซลล์) มีนิยามความหมายคร่าวๆว่า กลุ่มคนหรือปัจเจกบุคคลที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายหรือโครงสร้างขององค์กรก่อการร้ายหรือองค์กรแบ่งแยกดินแดนที่ทำการ “แฝงตัว” อยู่ในสถานที่หรือชุมชมต่างๆ โดยไม่เปิดเผยสถานะของตนแต่จะทำการเปิดเผยตัวตนเมื่อถึงเวลาที่ได้รับคำสั่ง, จังหวะหรือสัญญาณที่มีการวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้าเพื่อกระทำการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เช่น การก่อวินาศกรรม, การลอบสังหาร, การจารกรรมและการก่อการร้าย
"หน่วยรบพิเศษอิรักขณะควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็น Sleeper Cell ให้กับฝ่ายไอซิส"
นิยาม Sleeper Cell นั้นจะต่างจากนิยาม Lone Wolf (โลน วูล์ฟ/หมาป่าเดียวดาย) ที่ซึ่งนิยามดังกล่าวมักใช้กล่าวถึงเฉพาะกับปัจเจกบุคคลที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรหรือโครงสร้างขององค์กรก่อการร้ายหรือองค์กรแบ่งแยกดินแดนใดๆ โดยที่บุคคลที่เป็น Lone Wolf นั้นจะได้รับอิทธิพล, ข้อมูลหรือแนวคิดต่างๆ จากการรับสื่อข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์, โซเชี่ยวมีเดีย ๆลๆ ที่ชักจูงหรือกระตุ้นให้กระทำการใดๆที่มีแนวความคิดไปตามทางขององค์กรก่อการร้ายหรือองค์กรแบ่งแยกดินแดนนั้นๆ
"เหตุการณ์ก่อการร้ายที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส ด้วยการขับรถบรรทุกพุ่งเข้าชนผู้คนจำนวนมาก คือหนึ่งตัวอย่างของการโจมตีแบบ Lone Wolf"
ตัวอย่างที่เด่นชัดของการใช้ Sleeper Cell นั้นก็คือภายหลังที่ “ไอซิส” สูญเสียพื้นที่และกองกำลังส่วนใหญ่ของตนไปในสงครามระหว่างฝ่ายของตนกับรัฐบาลอิรัก ไอซิสได้ปรับเปลี่ยนวิธีการของตนด้วยการใช้สมาชิกที่หลงเหลืออยู่และกระจายกระจายอยู่ทั่วอิรักมาดำเนินกลยุทธ์แบบ Sleeper Cell ซึ่งสิ่งที่เหล่า Sleeper Cell ของไอซิสกระทำนั้น เช่น การใช้มือระเบิดพลีชีพในพื้นที่ประชากรหนาแน่น, การลอบวางระเบิดแสลงเครื่อง, การลักลอบขนส่งอาวุธ, การลักพาตัวและลอบสังหารเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่ปลดประจำการแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นฝ่ายความมั่นคง นำโดยหน่วยรบพิเศษ Iraqi Special Operations Forces (ISOF) ได้ทำการตามไล่ติดตามและจับกุมเหล่า Sleeper Cell เรื่อยมาตั้งแต่ที่ฝ่ายไอซิสอ่อนกำลังลง แต่การติดตามกลุ่ม Sleeper Cell ก็เป็นไปด้วยความยากลำบากสาเหตุหนึ่งมาจากความแยบยลของ Sleeper Cell ที่สามารถแฝงตัวปะปนอยู่ในกลุ่มประชากร ณ พื้นที่นั้นๆ ได้อย่างแนบเนียน
"หากปราศจากการตรวจค้นก็แทบจะไม่รู้เลยว่าผู้ใดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็น Sleeper Cell"