- เส้นทางสู่สงครามของ จักรวรรดิญี่ปุ่น -
สหรัฐอเมริกา และ จักรวรรดิญี่ปุ่นมีชนวนไม่กินเส้นกันมานานเกือบทศวรรษ
ในยุคต้นสงครามโลกครั้งที่ 2
ทางสหรัฐไม่พอใจกับการกระทำและความกระหายสงคราม
ของจักรวรรดิญี่ปุ่น ที่เคลื่อนพลเข้ายึดครอง ประเทศจีน
จักรวรรดิญี่ปุ่น มีความเชื่อว่า ถ้าจะแก้ไขความทุกข์ยากทางเศรษกิจ
ในยุคสงครามได้นั้น ต้องมีการแผ่กระจายอำนาจเข้าชิงทรัพยากร
และชิงตลาดส่งออกสินค้า ในสมัยนั้น
แนวความคิดนี้เป็นผลให้ จักรวรรดิญี่ปุ่นประกาศสงคราม
ต่อประเทศจีนในปี ค.ศ.1937
เกิดเป็นเหตุการณ์อันน่าสยดสยองของ สมรภูมิที่นานกิง ประเทศจีน
แรกเริ่มสหรัฐเห็นถึงจุดมุ่งหมายของจักรวรรดิญี่ปุ่น
จึงสานสัมพันธมิตรคว่าบาตรทางการค้าขาย ปิดช่องทาง
การแลกเปลี่ยนทรัพยากรในยุคสงคราม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันดิบ และ เชื้อเพลิงเครื่องยนต์
แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม การคว่ำบาตรของสหรัฐ ยิ่งทำให้ไฟร้อนอย่างจักรวรรดิญี่ปุ่น
ยิ่งลุกโชน และยิ่งทวีความรุนแรง บทบาท ของกำลังพลจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงคราม
เป็นเวลานานกว่าเดือนในการเจรจาต่อรอง ระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่น กับ วอชิงตัน
และไม่มีท่าทีว่าฝั่งใดจะละมือยอมล่าถอยออกจากกระดานสงครามนี้เลย

- ตำแหน่งที่ตั้งของ ฐานทัพเรือ เพิร์ล ฮาร์เบอร์ -
อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์, หมู่เกาะฮาวาย ตำแหน่งอยู่เกือบระหว่างกลางน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก
ระยะโดยประมาณ 2000 ไมล์ (3,218 กิโลเมตร)
จากแผ่นดินชายฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกา
และห่างจาก ชายฝั่งประเทศญี่ปุ่นถึง 4000 ไมล์ (6,437 กิโลเมตร)
ด้วยเหตุนี้ ไม่มีเคยนึกสงสัยเลยว่าญี่ปุ่น
จะกล้าบินข้ามน้ำข้ามทะเล เข้าโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ล ฮาร์เบอร์
และการข่าวของสหรัฐยังมั่นใจว่า หากจักรวรรดิญี่ปุ่น
จะเคลื่อนกำลังพลเข้าโจมตีฝ่ายพันธมิตร
จะต้องเป็นพื้นที่ละแวกใกล้เคียงกับ ดัช อีสต์ อินดิ้ ทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก
สิงค์โปร์ หรือ คาบสมุทรอินโดจีน เป็นแน่
เพราะการประเมิน และไม่คาดคิดถึงว่าสหรัฐเอง จะถูกโจมตีได้ใกล้บ้านตัวเองถึงเพียงนี้
ฐานทัพเรือ และ อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ที่ไร้การเตรียมตัวและการป้องกันโดยสิ้นเชิง
ทำให้ที่นี่เป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่เข้าถึงได้ง่ายเสียจน จักรวรรดิญี่ปุ่นอดใจไม่ไหว

- USS Arizona -
แผนการปฎิบัติการของจักรวรรดิญี่ปุ่นนั้น เรียบง่ายเอามากๆโจมตีกองเรือ ในพื้นที่คาบสมุทรแปซิฟิกซะ
ด้วยรูปการนี้ จะทำให้กำลังของสหรัฐไม่สามารถที่จะต่อกรกับ
กองทัพเรือของจักรวรรดิญี่ปุ่นในแถบทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกได้เลย
จักรวรรดิญี่ปุ่นซักซ้อม เตรียมการโจมตีครั้งนี้นับเดือน
จนในที่สุด รุ่งเช้าวันที่ 7 ธันวาคม
จักรวรรดิญี่ปุ่นตัดสินใจบุกโจมตีเป้าทางยุทธศาสตร์แห่งนี้


ในเวลาประมาณ 0800 เครื่องบินของจักรวรรดิญี่ปุ่น
ถมเติม บดบังน่านฟ้าของอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์
เทห่าฝนกระสุน และ ระเบิด โปรยลงมาเบื้องล่าง
โดยมีกองทัพเรือของสหรัฐเป็นเป้าหมาย
เวลา 0810 หัวระเบิดน้ำหนักกว่า 1,800 ปอนด์ เจาะทะลุจากดาดฟ้าเรือ
USS Arizona ตรงเข้าที่คลังเก็บกระสุนเรือ หลังจากเกิดการระเบิด
โครงสร้างเรือ USS Arizona ฉีกขาดและจมลง
ลากชีวิตลูกเรือกว่า 1,000 ชีวิต จมลงไปพร้อมกัน
ลูกต่อไปคือ ตอปิโด แฝงมากับคลื่นใต้น้ำ
เจาะเข้าท้องเรือทางด้านข้าง USS Oklahoma
ด้วยแรงระเบิด USS Oklahoma เสียความสมดุล พลิกคว่ำ
จมลงไปพร้อมกับ ลูกเรืออีกกว่า 400 ชีวิต
ทุกๆอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก จนถึงการโจมตีครั้งนั้นจบลง
เป็นเวลาร่วมทั้งหมดน้อยกว่า 2 ชั่วโมง
เรือทุกลำในอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ 9 ลำ
USS Arizona, USS Oklahoma, USS California,
USS West Virginia, USS Utah, USS Maryland,
USS Pennsylvania, USS Tennessee and USS Nevada
ได้รับความเสียหายอย่างหนักเกินเยียวยา
มีเพียงแค่ USS Arizona และ USS Utah
ที่เหลือซากมากพอ และถูกงมเก็บกู้ชิ้นส่วนและสามารถซ่อมแซมบูรณะกลับมาได้สำเร็จ

- ผลกระทบจากการถูกโจมตีที่เพิร์ล ฮาเบอร์ -
การเข้าโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐของจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถทำลาย และสร้างความเสียหายแก่เรือของสหรัฐ
ไปเป็นจำนวนร่วมกว่า 20 ลำ ในจำนวนนี้รวมไปถึง เรือประจันบานถึง 9 ลำ
และ เครื่องบินรบกว่า 300 ลำ
เหตุการณ์ครั้งนั้นคร่าชีวิตชาวอเมริกันทั้ง พลเรือน และ กำลังพล ร่วม 2,403 ชีวิต
บาดเจ็บสาหัสถึง 1,100 คน
แต่ถว่า การโจมตีครั้งนั้นไม่ได้สำเร็จ สมบูรณ์ 100 %
เพราะ เรือยุทธศาสตร์สำคัญของสหรัฐไม่ได้จอดอยู่ที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ในวันที่ 7 ธันวาคม
เรือนั้นก็คือ เรือบรรทุกเครื่องบิน นั้นเอง
เรือบรรทุกเครื่องบินบางลำถูกส่งไปเทียบท่าแผ่นดิน ประเทศสหรัฐอเมริกา
บางลำ รับภารกิจขนส่ง เครื่องบิน และ กำลังพล ณ ฐานที่มั่น มิดเวย์ และ หมู่เกาะเวค (Midway, Wake Islands)
และยิ่งไปกว่านั้นฝูงบินของจักรวรรดิญี่ปุ่น มองข้ามเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ไปอีกจุดหนึ่ง
นั้นคือ ฐานทัพบนชายฝั่ง ของหมู่เกาะฮาวาย ทั้งคลังน้ำมันเชื้อเพลิง โรงซ่อมบำรุง
โรงประกอบเรือ และ ท่าเทียบเรือ ถือเป็นโชคดี และทำให้กองทัพเรือสหรัฐ
ฟื้นฟูกำลัง กลับเข้าสมรภูมิได้ภายในเวลาไม่นานนัก

- "A Date Which Will Live in Infamy" -
หลังจากนั้นเพียงข้ามคืน ประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงคลิน ดี. รูสเวลได้ออกคำร้องขอความเห็นร่วมต่อสมาชิกสภา ในวันที่ 8 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1941
เพื่อเปิดศึกประกาศสงครามต่อจักรวรรดิญี่ปุ่น
รูสเวล กล่าวเปิดหัวเรื่องขึ้นว่า
"เมื่อวานนี้ วันที่ 7 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1941
- A Date Which Will Live in Infamy - วันที่เรารู้ซึ้งถึงความอัปยศ
วันที่สหรัฐ ถูกโจมตีจากกองทัพเรือและกองทัพอากาศของจักรวรรดิญี่ปุ่นโดยไม่ได้ตั้งตัว"
และพูดต่อไปว่า
"ไม่ว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานสักเพียงไหน
เราชนชาวอเมริกันจะก้าวข้ามและเอาชนะการรุกรานครั้งนี้
ผมเชื่อมั่นและขอออกปากแทนสมาชิกสภาทุกท่าน ว่าสหรัฐจะไม่นิ่งนอนใจ
มุ่งเพียงป้องกันประเทศอีกแล้ว เราจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ศัตรูของเรา
ได้รู้ซึ้ง และไม่กล้าที่จะเงื้อมมือแตะต้องเราอีกต่อไป"

- สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 -
ประเด็นถกเถียงภายในที่ดำเนินมานานร่วมปีว่าสหรัฐจะยื่นมือเข้าร่วมสงครามหรือไม่
และหลังจากการโจมตีที่ฐานทัพเรือเพิร์ล ฮาร์เบอร์
ทำให้ประเด็นถกเถียงนั้นเป็นอันสมานฉันท์
รวมใจชาวอเมริกันลุกขึ้นต่อกรกับพันธมิตรฝ่ายอักษะ
ในวันที่ 8 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1941
สมาชิกสภาลงนามยอมรับคำร้องประกาศสงครามต่อจักรวรรดิญี่ปุ่น
3 วันถัดมา พันธมิตรฝ่ายอักษะประกอบด้วย จักรวรรดิญี่ปุ่น นาซีเยอรมัน และอิตาลี
ประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน
เป็นเวลามากกว่า 2 ปี ที่สหรัฐอเมริกาตัดสินใจเข้าร่วมสงคราม
ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้น
ที่มา : https://www.history.com/topics/world-war-ii/pearl-harbor
บทความ : History channel - Pearl Harbor
ผู้แปล เรียบเรียง : ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563