คุณค่า และ ทักษะ  จากการเล่นซ่อนแอบในวัยเด็ก Valor Tactical

ณ บ้านที่เงียบสงบของเมืองที่ห่างไกล
เสียงเดียวที่ได้ยิน คงจะมีแค่เพียงเสียงของสายลม

นอกจากนั้นยังมีเสียงฝีเท้า เหยียบย่างเข้าค้นหาตามห้อง
ห้องแล้วห้องเล่า และในห้องนอนอีกฟากของตัวบ้าน

เด็กน้อยอีกหนึ่งคน พยายามซ่อนลมหายใจ
ให้เบาที่สุด ระหว่างที่นอนซ่อนตัวอยู่ใต้โครงเตียง

หลังจากที่เด็กคนแรกใช้เวลาค้นพาสักพัก
ก็เหลือบสังเกตเห็น เท้าที่โผล่เลยออกมาจากใต้เตียง
แลตะโกนออกมาเสียงดังว่า "เจอแล้ว"

การเล่นซ่อนแอบ คงจะเป็นกิจกรรมที่ทุกๆคนคุ้นเคยกันดี
เราใช้เวลาไปเป็นชั่วโมงๆในวัยเด็ก ปิดตาหันหน้าเข้ากำแพง
เริ่มนับเลขให้ครบตามกำหนด เพื่อที่จะได้ออกค้นหาเพื่อนๆ
ที่เล่นบทเป็นผู้ซ่อน

จากมุมมองที่เราได้เห็น นี่ก็คงจะเป็นเกมส์เล่นสนุกๆ
ฆ่าเวลาของเด็กๆก็เพียงเท่านั้น

เซอร์โรเบิร์ต บาเดน พาเวล (Sir Robert Baden Powell)
ได้ผูกเรื่องจงใจเขียนถึงคุณค่าทางยุทธวิธี
และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเกมส์เด็กๆนี้ ในหนังสือของเขา

"My Adventures as a Spy - การผจญภัยของเขาในฐานะ สายลับ"
เซอร์โรเบิร์ต บาเดน พาเวล ผู้เขียนหนังสือ "My adventure as a spy" และบิดาลูกเสือโลก
หนังสือของเซอร์โรเบิร์ต เขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ
รวมถึงกลยุทธ์ และ เทคนิค ที่สายลับในสมัยนั้นนิยมใช้
เช่น การส่งสาร์นลับ และ การซ่อนตัวหรือสิ่งของในที่ๆเห็นได้จะๆ

และวันนี้เราจะมาเล่าถึง กลยุทธ์บางอย่างในการเล่นซ่อนแอบ
ที่เซอร์โรเบิร์ตนำมาปรับใช้เป็นความสามารถในโลกจริง
ทั้งในภาคการทหาร และ ภาคพลเรือน

กฏกติกาการเล่นซ่อนแอบนั้นทุกคนก็คงจะรู้ดีอยู่
มีผู้ค้นหา ผู้ซ่อน ผู้ค้นหาปิดตาและหันหน้าเข้ากำแพงนับเลข
ในขณะเดียวกัน ผู้ซ่อนก็จรลีหาที่แอบซ่อนในขอบเขตที่กำหนด
เมื่อนับถึงตัวเลขที่ตกลงกัน ก็ถึงคราวออกค้นหา

สิ่งแรกที่ได้เรียนรู้เลยคือ วิธีการประเมินและมองหาที่ซ่อน
ที่ไม่สะดุดตาและมักจะถูกละเลยได้ง่าย

สิ่งต่อมาที่เซอร์โรเบิร์ต เขียนเสริมคือการซ่อนตัว
ที่สูงกว่าแนวระดับสายตา นั้นก็เพราะคนโดยทั่วไปแล้ว
มักจะมองหาในระดับสายตา หรือต่ำกว่า โดยละเลย
การค้นหาในแนวสูงกว่าระดับสายตาไป ทำให้พลาดที่จะระวังตัว
จากอันตรายจากด้านบน หรือข้างหลัง

หลายต่อหลายครั้งในการเล่นซ่อนแอบ
ไม่ใช่แค่การซ่อนตัวที่ทำให้ผู้ซ่อนเหนือกว่า
แต่คือการลดการเคลื่อนไหวให้ได้มากที่สุด

เมื่อซ่อนตัว ณ ตำแหน่งสูงกว่าระดับสายตา
หายใจให้ช้าลง และขยับตัวให้น้อยที่สุด
คุณจะสามารถยื้อเวลาให้คุณได้ซ่อนตัวได้นานยิ่งขึ้น
ตัวอย่างที่ดีเลยคือ การซ่อนตัวอยู่บนต้นไม้

และกลับกัน สำหรับผู้ค้นหา ที่ซึ่งมีข้อเสียเปรียบ
ที่ต้องปิดตาเพื่อรอเวลา

แต่สิ่งที่คุณทำได้คือ
การจับสมาธิไปที่การฟังหรือสัมผัสความรู้สึก
เพื่อหาข้อมูลคร่าวๆจากสภาพแวดล้อม
เปิดโอกาศให้คาดเดาที่ซ่อนของผู้ซ่อนได้
ตัวอย่างเช่น เสียงของการวิ่งหรือเดินขึ้นบันได

สำหรับใครที่ใช้เวลาในวัยเด็ก เล่นซ่อนแอบเป็นประจำ
อาจได้พบกับเทคนิคที่ลึกเข้าไปมากกว่านั้น
คือการสร้าง จุดเบียงเบนความสนใจ
การสร้างเสียง หรือ จุดสังเกตลวงใดๆก็ตาม
ยิ่งเสริมสร้างความแยบยลให้กับการซ่อนตัวมากยิ่งขึ้น

ในโลกการทหาร เด็กๆที่โตมากับการละเล่นอย่างซ่อนแอบ
มักจะเรียนรู้พื้นฐาน เช่น การลาดตระเวนหาข่าว การวางแผน
หรือเส้นทางลวงข้าศึก การละเล่นแบบนี้เสริมสร้าง
ให้คนมีแนวคิดการคาดการณ์และอ่านใจข้าศึก

สุดท้ายนี้ เหตุผลที่เรา Valor Tactical
อยากหยิบยกเรื่องทักษะมาเล่า เพราะเราเชื่อว่าผู้อ่านทุกท่าน
จะได้รับประโยชน์ เป็นแนวคิด วิธีการ กลยุทธ เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
หรือสถานการณ์ใกล้เคียง หากมีเหตุให้ต้องรับมือ หรือเอาตัวรอดจากสถานการณ์นั้นๆ

 
ที่มา : https://www.itstactical.com/intellicom/tradecraft/hiding-real-world-value-hide-seek-kid-adult/

บทความ : Hiding Out: The Real World Value of Hide and Seek as a Kid or an Adult

แปลและเรียบเรียง โดย : ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2563

 

Leave a comment

All comments are moderated before being published