ย้อนกลับไปในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพ
ระหว่างอเมริกาและอังกฤษ การพัฒนาเรือดำน้ำ
เรียกได้ว่าแทบจะแลกมาด้วยชีวิตของกะลาสีและลูกเรือมากมาย
แทบนับไม่ถ้วนจากการทดลอง รวมไปถึงการถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้าม
จนกระทั่งในปี 1850 มีเรือดำน้ำที่ได้รับการออกแบบจน
ได้ผ่านการคัดเลือกจนได้สร้างเรือดำน้ำขึ้นมาจริงๆ ซึ่งถือเป็นเรื่อง
ที่มหัศจรรย์มากๆแม้แต่ในยุคปัจจุบัน เพราะอะไรอย่างนั้นหรือ ?
เพราะว่ามันถูกออกแบบโดยทหารม้าที่ไม่เกี่ยวอะไรกับทหารเรือยังไงละ !!
ที่เยอรมนี ... ทหารม้าท่านหนึ่งชื่อว่า Wilhelm Bauer
ได้เข้าร่วมโครงการออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กชนิดพิเศษ
ของเยอรมัน เพราะในยุคนั้นทางเยอรมนีกำลังโดยโจมตีอย่างหนัก
โดยกองทัพเรือเดนมาร์คที่ในตอนนั้นกำลังปิดกั้นเส้นทางเดินเรือของเยอรมัน
แน่นอนว่า Bauer ได้ทำการวาดภาพ ออกแบบ และได้นำไปเสนอให้กับ
กระทรวงทหารเรือ จนกระทั่งผ่านเกณฑ์และได้คัดเลือกให้สร้างโมเดลจำลอง
ขนาด 70x18x29 cm เพื่อทดลองการทำงานที่ท่าเรือในเมือง Kiel
ซึ่งในที่สุดโครงการก็ได้รับการยอมรับและได้อนุญาตให้ต่อเรือลำจริงขึ้นมาในที่สุด
โดยผ่านการร่วมมือกับอู่ต่อเรือ Schweffel & Howaldt ( ในปัจจุบันอู่ต่อเรือนี้
ก็ยังคงอยู่ในชื่อ HDW ) โดยต่อเรือขึ้นที่เมือง Kiel ประเทศเยอรมนีนั่นแหละ
และได้รับการตั้งชื่อว่า Brandtaucher ที่แปลแบบง่ายๆว่าเป็น Fire-Diver
หรือนักดำน้ำใต้เปลวเพลิง ซึ่งมันดูเฟี้ยวฟ้าวมากๆ แต่อีกจุดที่เจ๋งยิ่งกว่า
คือเจ้าเรือดำน้ำตัวนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยงบประมาณการบริจาคทั้งจากคนในกองทัพ
รวมไปถึงประชาชนในพื้นที่นั่นเอง ...
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีนะ ? เพราะปัญหาหลักๆของเจ้าเรือดำน้ำลำนี้เลย
นั่นก็คืองบประมาณนี่แหละ เพราะมันไม่เพียงพอต่อการสร้างตามสเปคที่วางไว้
จนมาสู่การ Downgrade วัสดุต่างๆเพื่อลดค่าใช้จ่าย จนทำให้สเปคที่ออกมา
จากเดิมทีที่ออกแบบไว้ให้ดำน้ำได้ลึกถึง 30 เมตร กลับเหลือเพียง 9.5 เมตร เท่านั้น
แต่ถึงอย่างนั้นมันก็สร้างเสร็จด้วยสเปคความยาวลำเรือที่ 8.07 เมตร
กว้าง 2.02 เมตร และกินน้ำลึก 2.63 เมตร ขับเคลื่อนด้วยแรงคน
ทำความเร็วได้ 3 นอต และใช้มนุษย์ปฏิบัติการทั้งหมด 3 คน
ในวันที่ 1 ก.พ. ปี 1851 การทดลองเรือ Brandtaucher ครั้งแรก
ก็พบกับความบันเทิงทันที นั่นคือ เรือดำน้ำที่ว่าดันจมลงนั่นเอง ....
อันเนื่องมาจากการปรับระดับความลึกที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมไปถึง
การเลือกใช้ระบบอื่นในการดำน้ำแทนที่ใช้ระบบ Hydroplane
ที่ใช้ในเรือดำน้ำทั่วไปในยุคนั้น
ในวินาทีที่เรือจมลงสู่ใต้ท้องทะเลความลึก 60 ฟุตนั่นเอง
ลูกเรือที่วินาทีนั้นเรียกได้ว่าตายไปแล้ว 100% เต็มในยุคนั้น
ก็ได้ตัดสินใจทำในสิ่งที่สร้างตำนานและกลายเป็นบริบทใหม่
ในศาสตร์ของการเอาตัวรอดบนเรือดำน้ำไปตลอดกาล
นั่นคือการเปิดวาร์วเพื่อปล่อยให้น้ำเข้ามาในเรือครับ
ซึ่งเมื่อทำแบบนั้นแล้ว ทำให้ความกดอากาศระหว่างภายใน
กับรอบๆตัวเรือเท่ากัน ทำให้ลูกเรือสามารถเปิดฝา Hatch
และว่ายน้ำขึ้นสู่ผิวน้ำได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการทำ Submarine Escape
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มีทั้งการบันทึก
และพยานยืนยันเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน
โดยปัจจุบันเทคนิคนี้ถูกเรียกว่า Compartment Escape ( Rush Rscape )
ซึ่งยังคงถูกเรียนรู้มาจนถึงยุคปัจจุบัน และยังคงถูกนำมาดัดแปลง
เพื่อใช้ในการฝึกเอาตัวรอดจากยานพาหนะในกรณีที่จมลงสู่แม่น้ำอีกด้วย
โดยในปี 1887 ซากเรือลำนี้ถูกค้นพบอีกครั้ง และได้ถูกกู้ขึ้นมาบนบก
เพื่อนำมาจัดแสดงที่โรงเรียนนายเรือ ณ เมือง Kiel
และในปัจจุบันเราสามารถชมเจ้าเรือ Brandtaucher ได้ที่
German Armed Forces Museum of Military History
ณ เมือง Dresden ประเทศเยอรมันครับ
สำหรับชะตาชีวิตของ Wilhelm Bauer ถึงแม้จะพบกับความซวยมากมาย
จากการต่อเรือลำแรกก็ตาม แต่ Wilhelm Bauer ก็ไม่ละทิ้งความพยายาม
ในการออกแบบเรือดำน้ำเวอร์ชั่น 2 ออกมา ซึ่งแน่นอนว่า
ไม่ได้รับการยอมรับจากเยอรมันเจ้าเดิมที่กำลังช็อคอยู่
กับอุบัติเหตุจากเรือลำแรกของเขา
แต่สุดท้ายเขาก็ได้โอกาสครั้งที่ 2 ในการออกแบบเรือดำน้ำของเขาที่รัสเซีย
ที่ St.Petersburg และได้ออกแบบเรือดำน้ำลำที่ 2 ของเขาในชื่อเรียกว่า Sea Devil
แน่นอนว่าเขาเรียนรู้อย่างเยอะมากกับข้อผิดพลาดของเขา
เรือดำน้ำลำที่สองของเขา ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่เรียกว่า " Airlock systems "
ที่ช่วยให้ลูกเรือสามารถเข้า/ออก เรือดำน้ำได้ในทุกสถานการณ์
ซึ่งยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
และนวัตกรรมการออกแบบเรือดำน้ำของเขาก็ถูกนำมาพัฒนาต่อยอด
จนทำให้ทางเยอรมันสามารถออกแบบเรือดำน้ำ U-Boat ที่เรียกได้ว่า
เป็นเสมือนฝันร้ายของเหล่าสัมพันธมิตรในยุคสงครามโลกกันเลยทีเดียว
ที่มา :
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11625286/
https://en.wikipedia.org/wiki/Brandtaucher
https://en.wikipedia.org/wiki/Wilhelm_Bauer
เขียน / แปลและเรียบเรียงโดย : Ronnakrit " VikinGz " Sripumma