จุดเปลี่ยน! เส้นทางวิวัฒนาการจาก กระติกน้ำ สู่ เป้น้ำ Hydration pack Valor Tactical

กำลังทหารในอดีต หากไม่ใช้ บริวารแบกหาม ก็นำพาน้ำดื่มด้วยกระติกน้ำ
หรือที่เรียกว่า Canteen ในวงการทหาร

ช่วงสงครามกลางเมืองในยุคสร้างชาติอเมริกัน
กระติกน้ำ ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่หลากหลาย ซึ่งค้นพบและแปรรูปได้ในสมัยนั้น
ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ถุงหนังสัตว์ กระติกดีบุก ตามลำดับ

ถุงน้ำทำจากหนังสัตว์ ช่วงสงครามกลางเมืองสหรัฐ ปี ค.ศ. 1878

กระติกดีบุกผสมของกองทัพสหรัฐ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ปี ค.ศ. 1917

 

โดยทั่วไปแล้วมักจะพกพาหรือสะพายคาดไหล่เหมือนกระเป๋าทั่วไป
จนช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการพัฒนามาถึงกระติกโลหะ คู่กับแก้วดื่มน้ำ
แขวนร้อยเข้ากับ เข็มขัดเส้นเดียวกับที่ทหารแต่ละนายใช้ร้อยซองใส่ตับกระสุน
จนถึงปัจจุบัน กระติกน้ำได้เปลี่ยนมาใช้วัสดุพลาสติกซึ่งมีราคาถูกกว่าโลหะขั้นรูป
แต่ยังคงรูปทรงขวดแก้มโค้งรับกับเอวและการจับถือ

"Hydrate or Die"

ร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วย น้ำถึง 2 ใน 3 ขององค์ประกอบทั้งหมดของร่างกาย
อวัยวะต่างๆที่มีมีน้ำเป็นองค์ประกอบเช่น
เลือด 92%
สมอง 75%
กล้ามเนื้อ 75%
กระดูก 22%
จะเห็นได้ว่าน้ำเป็นส่วนขับเคลื่อนที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ให้สามารถดำรงอยู่ได้

จากการศึกษาและคำนวนของสมาคมน้ำดื่มบรรจุขวดนานาชาติ
(International Bottled water Association)
ได้ผลสรุปว่า บุคคลน้ำหนักตัวที่ 90 กิโลกรัม
ที่ออกกำลังกาย 60 นาทีต่อวัน (ประมาณเท่ากับ การวิ่ง 10 กิโลเมตร)
จำเป็นต้องได้รับน้ำดื่มชดเชยถึง 4.2 ลิตรเป็นอย่างน้อย

ในการฝึกทหารใหม่ ของกองทัพสหรัฐ ทหารได้รับแจกจ่ายกระติกแบบเดิมๆ
และยังถูกฝึกให้ดื่มน้ำจากกระติกของพวกเขาอยู่
แต่ถึงอย่างนั้นผลสำรวจพบว่า พวกเขาไม่ได้ดื่มน้ำมากพอ
เพราะความพะรุงพะรัง ความยุ่งยากในการดื่มน้ำ
ส่งผลเสียถึงประสิทธิภาพทั้งการฝึกและตัวทหารเอง

 

 

กระติกน้ำพลาสติกที่ได้รับแจกจ่ายจากกองทัพ

 
"ปัญหาที่พบได้จาก กระติกน้ำแบบเดิมๆในปัจจุบัน"

สิ่งที่ทหารทุกนายพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าน้ำจากกระติก
มีกลิ่นและรสชาติที่ผิดเพี้ยนเหมือนพลาสติก
ถึงแม้จะไม่มีใครเคยลองกินพลาสติกมาก่อนก็ตาม

น้ำดื่มที่รสชาติดีและสดชื่นที่สุด
คือน้ำเย็นอุณหภูมิห้องมากกว่าที่จะเป็นน้ำเย็นจัด
นักวิจัยเผยว่าน้ำที่อุณหภูมิ 45-55 องศาเซลเซียส
คือช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุดกับการดูดซึมสารอาหาร
และ ช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายให้เย็นลงได้ดี

กระติกน้ำแบบเดิมๆนั้นพะรุงพะรังเป็นภาระแก่การพกพาและการใช้งาน
ด้วยน้ำหนักของน้ำที่บรรจุเต็มขวด ใส่ในกระเป๋าขวดน้ำ ร้อยเข้ากับเข็มขัด
ที่ทหารทุกนายต้องนำพาเครื่องกระสุนสำรองของตนอยู่ด้วยนั้น
กลายเป็นภาระลดประสิทธิภาพและความเร็วของกำลังพล

สายโยงบ่า Load Bearing Equipment กับกระติกน้ำ 2 ใบ 
ตามระเบียบเครื่องแบบสนาม

 

ยังไม่รวมการที่จะต้องหมอบ คลาน หรือ ปีนป่าย ที่ทำได้ยากขึ้นเมื่อ
มีน้ำหนักกระติกกวัดแกว่งหลวมคลอนรอบเอว อีกทั้งตัวกระติกเองยังมี
โอกาสที่จะเข้าไปพันกับเถาวัลย์ กิ่งไม้ หรือลวดหนาม เมื่อต้องเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวาง

การที่จะดื่มน้ำจากกระติก ทหารต้องเสียเวลากับการที่ต้องปลดฝากระเป๋า
ดึงขวดขึ้นมา บิดฝาขวด ดื่ม บิดปิดฝา จับขวดใส่กระเป๋าและปิดฝากระเป๋ากันหล่นหาย

และในเชิงยุทธวิธี เสียงน้ำกระฉอกอยู่ภายในกระติกที่มีน้ำไม่เต็ม
เป็นปัญหาขัดขวางการอำพรางที่ตั้งเป็นอย่างมากอีกด้วย

"ถึงเวลาที่จะต้องค้นหาสิ่งที่ดีกว่า"

กระเป๋า T3 Hans Backpack ที่เป็นได้ทั้งกระเป๋าน้ำ และ อุปกรณ์อื่นๆ จนถึงหมวก Ballistic

สมาคมน้ำดื่มบรรจุขวดนานาชาติ ตีพิมพ์บทความลงหนังสือพิมพ์ในปี ค.ศ. 1999

จำกัดความให้น้ำเป็นเสมือน "อาหารสมอง" "อาหารไดเอท" "ของเหลวที่มีคุณค่า"
และ "บอดี้การ์ดของร่างกาย"

เมื่อเห็นว่า "น้ำ" นั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกาย แนวคิดต่อมาคือการผนวก
อุปกรณ์ที่จะสามารถบรรจุน้ำได้เพียงพอและติดตัวกำลังพลอยู่เสมอ
อะไรที่ไม่ใช่กระติกโบราณคร่ำครึ
ที่ร้อยแขวนอยู่บนเข็มขัด ทอนน้ำหนักด้วยสายโยงบ่า

และที่สำคัญการใช้งานต้องไม่ยุ่งยากเกินไป สร้างนิสัยให้กำลังพลสามารถ
จิบ หรือ ดื่มน้ำอยู่เสมอ โดยไม่ให้ทหารรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยุ่งยากเกินไปที่จะดื่มน้ำ

"ต้นกำเนิดของแนวทางแก้ปัญหานี้"

กว่า 20 ปีก่อนหน้านี้ อดีตเจ้าหน้าที่กู้ภัยคนหนึ่ง ได้สมัครเข้าร่วม
การแข่งขันจักรยาน ซึ่งมีระยะทางที่ไกล และใช้เวลาร่วมวัน
ใน เมืองวิชิต้า ฟอล, รัฐเท็กซัส

เขาคำนึงถึงว่าการแข่งขันระยะทางไกลขนาดนี้จำเป็นต้องมี
น้ำในปริมาณหนึ่งที่มากกว่ากระติกน้ำที่ติดอยู่กับโครงจักรยาน
และการที่จะทำเวลาในการแข่งขัน การจอดพักเติมน้ำในกระติกนั้นเสียเวลาเกินไป
หรือหยิบกระติกขึ้นมาดื่มระหว่างปั่นจักรยานนั้นอาจมีความเสี่ยงอันตราย

จากปัญหาสู่ไอเดียแก้ไข
เขาได้ลองนำ ถุงน้ำเกลือต่อพ่วงสายยาง
นำถุงเท้ามาเย็บติดหลังเสื้อปั่นจักรยานของเขา
และนำถุงน้ำเกลือใส่ในถุงเท้าบนหลังต่อสายยางพาดไหล่มด้านหน้า
แนวคิดจนเกิดเป็นนวัตกรรมนี้เป็นจุดกำเนิดของกระเป๋าน้ำในปัจจุบัน

ลักษณะกระเป๋าน้ำในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายความจุ
ตั้งแต่ 1-3 ลิตร ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ไม่เป็นภาระ
และเพียงพอต่อภารกิจไม่เกิน 12 ชม.



โดยภาพรวมจากหลายผู้ผลิต กระเป๋าน้ำจะประกอบไปด้วย
4 ส่วน คือ
1. กระเป๋าส่วนนอกหุ้มฉนวนเก็บอุณหภูมิ (Hydratioin pack)
2. กระเพาะน้ำ หรือ ถุงน้ำ (Hydration Bladder)
3. สายยางหุ้มหุ้มฉนวนเก็บอุณหภูมิ
4.ปลายสายสำหรับดื่มน้ำ

กระเป๋าส่วนนอกนั้นก็ยังมีหน้าตาและการใช้งานให้เลือกหลากหลาย
ยิ่งในยุคที่ MOLLE เข้ามาแทนที่ระบบ ALICE กระเป๋าน้ำนั้นอาจจะไม่ใช่
แค่กระเป๋ามีสายสะพายหลังเหมือนเป้
แต่ยังร้อย MOLLE ติดเข้ากับเปลือกเกราะได้อีกด้วย
โดยส่วนมากจะมีการหุ้มฉนวนไว้อีกชั้นเพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำ
ที่ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วตามสภาพอากาศของพื้นที่ปฏิบัติงาน

ถุงน้ำทำจากพลาสติกคุณภาพสูงไม่ฉีก รั่วซึม หรือให้รสชาติพลาสติก
ต่อน้ำที่บรรจุอยู่ข้างใน ลักษณะเป็นถุงแบน ฝาเกลียวสำหรับเติมน้ำ
และขนาดปากฝาที่ใหญ่พอที่จะใส่น้ำแข็งลงไปได้อยู่ด้านบน
แผ่นแบนตามขนาดของกระเป๋าหรือปริมาณบรรจุ
ก้นถุงต่อสายยางออกในลักษณะเดียวกัยถุงน้ำเกลือ
ที่ใช้ความดันและแรงโน้มถ่วงของโลกเพื่อให้น้ำไหลสะดวก

สายยางที่ต่อใต้ก้นถุงม้วนขึ้นโผล่ออกมาในตำแหน่ง
ที่ใกล้เคียงกับสายกระเป๋าหรือหลังคอเมื่อสวมใส่
เพื่อที่จะได้พาดข้ามไหล่หรือสอดแนบมากับสายกระเป๋า
จนมาถึงที่ระยะปากของผู้ใช้ ที่เพียงเอียงคอ
หรือคว้ามาดื่มได้เหมือนจับหลอดดูดน้ำจากแก้ว
นอกจากนี้ยังหุ้มฉนวนรักษาอุณหภูมิเช่นเดียวกับ กระเป๋าส่วนนอก



ปลายสายเป็นข้อพลาสติกหรือยางเล็กๆพอดีคำ
มีปลอกฝาสำหรับกันฝุ่นหรือสิ่งสกปรก
สามารถทำได้ทั้งดื่มและเติมน้ำผ่านปลายสายได้อีกด้วย
โดยที่ยุคปัจจุบันมีการพัฒนามาให้ขนาดใกล้
เคียงกันเพื่อใช้ร่วมกับหลอดกรองน้ำส่วนบุคคล
หากเมื่อสถานการณ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
ที่ซึ่งอาจมีสิ่งสกปรกหรือเป็นพิษต่อร่างกาย

มีบันทึกว่ามีการเริ่มใช้กระเป๋าน้ำตั้งแต่ภารกิจในปานามา
สิบโท แอนดรู ลาสโคสกี้ ให้ความเห็นว่า
"ความเจ๋งของมันอยู่ตรงที่คุณสามารถจิบน้ำในขณะที่ปะทะกับข้าศึกได้"

เส้นทางการเปลี่ยนแปลงของการดื่มน้ำ
ของกำลังพลเป็นช่วงเวลาที่ยาวไกล จนมาถึงจุดที่ระบบกระเป๋าน้ำ
ที่เอื้อให้ทหารสามารถพกพาน้ำดื่มโดยไม่พะรุงพะรัง รักษาอุณหภูมิที่เหมาะสม
เคลื่อนที่ได้คล่องแคล่ว และสามารถดื่มน้ำได้เป็นกิจวัตร
โดยที่ไม่ต้องละมือจากอาวุธประจำกายเสียอีก
เพื่อรักษาศักยภาพของร่างกายให้พร้อมอยู่เสมอ




ที่มา : https://alu.army.mil/alog/issues/JulAug00/MS498.htm

บทความ : Alternatives to the Soldier Canteen

ผู้แปล เรียบเรียง : ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564

ทิ้งข้อความไว้

ความคิดเห็นทั้งหมดจะถูกกลั่นกรองก่อนที่จะเผยแพร่

Blog posts

View all