รถถังเบาแบบ 32 - กระเบนธงแห่งกองทัพบก
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 กองทัพบกสหรัฐฯมีความต้องการที่จะจัดหายานเกราะแบบใหม่เพื่อนำมาทดแทนรถถังเบาแบบ M551 เชอร์ริแดน
สืบเนื่องมาจากสมรรถนะที่ไม่ตอบโจทย์ต่อการใช้งานในกองทัพสหรัฐฯ เท่าที่ควร

นั่นทำให้หลายบริษัทได้เริ่มพัฒนายานเกราะแบบใหม่เพื่อนำไปเข้าไปแข่งขันโครงการจัดหายานเกราะทดแทนรถถังเชอร์ริแดน
อย่าง FMC Corporation ที่ได้พัฒนา รถถังในชื่อ Close Combat Vehicle Light,
General Motors ที่ได้นำรถยานเกราะล้อยาง 8 คูณ 8 มาติดปืนใหญ่ 105 มิลลิเมตร,
เทเลไดน์ ที่ได้พัฒนารถถัง เอ็กซ์เพดิชันนารี่ แทงค์ (Expeditionary Tank) ให้มีพลประจำรถเพียง 2 นาย
และบริษัท คาดิลแลค เกจ (Cadillac Gage) ที่พัฒนารถถังเบาที่มีชื่อว่า คอมมานโด สติงเรย์

ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่ารถถังคอมมานโด สติงเรย์ที่กองทัพบกไทยใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นจากความต้องการที่จะหารถถังใหม่ของกองทัพบกสหรัฐฯนั่นเอง

เจ้ารถถังคอมมานโด สติงเรย์ถูกเริ่มพัฒนาขึ้นในปลายยุค 70 โดยมันถูกออกแบบภายใต้เงื่อนไขที่ว่ามันจะต้องมีน้ำหนักเบา,
มีความคล่องตัวและสามารถขนย้ายได้ด้วยเครื่องบินลำเลียงได้ นั่นทำให้ลักษณะของป้อมปืนเจ้ารถถังคอมมานโด สติงเรย์มีรูปร่างที่ไม่สูงมากนัก
ทำให้สะดวกแก่การลำเลียงขึ้นเครื่องบินลำเลียงนั่นเอง และเพื่อทำให้รถถังมีน้ำหนักที่เบา วัสดุที่ถูกนำมาใช้ก็คือ เหล็กกล้าอัลลอยที่มีชื่อว่า เคดาลอย (Cadaloy)
ซึ่งเป็นวัสดุเดียวกันที่นำมาใช้กับเกราะของรถยานเกราะล้อยางแบบอื่นๆ ของ คาดิลแลค เกจ เช่น V-150 คอมมานโด
และ LAV-300

สำหรับอาวุธหลักของน้องคอมมานโด สติงเรย์ก็คือปืนใหญ่รถถังขนาด 105 มิลลิเมตร แบบ L7A3 ซึ่งถูกผลิตขึ้นบริษัท โรแยล ออร์ดแนนซ์
แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่ง L7A3 ที่นำมาใช้นั้นจะเป็นแบบ L7A3 LRF หรือ โลว์ รีคอย ฟอซ (Low Recoil Force) ซึ่งเป็นปืนใหญ่รถถังที่มีแรงสะท้อนถอยหลังต่ำนั่นเอง
และแน่นอนว่าปืนรุ่นนี้รองรับกระสุนขนาด 105 มิลลิเมตร มาตราฐานนาโต้ได้ทุกแบบ

ในส่วนของอาวุธ น้องก็มีปืนกลร่วมแกนแบบ M240T ขนาด 7.62 หนึ่งกระบอกและปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ M2 ขนาด 12.7 อีก 1 กระบอก
นอกจากนี้ก็ยังมีเครื่องยิงลูกระเบิดควันแบบอิเร็กทรอนิกส์ขนาด 66 มิลลิเมตร ติดอยู่ทั้งสองฝั่งของป้อมปืน โดยจะมีฝั่งละ 4 ท่อ

ซึ่งในช่วงเริ่มแรกของการพัฒนา ป้อมของเจ้ารถถังคอมมานโด สติงเรย์ ที่พัฒนาเสร็จก่อนได้ถูกนำมาติดตั้งกับตัวรถของ M551 เชอร์ริแดน ดังภาพที่เห็นนี่แหละ

ในส่วนของตัวรถ ทีมพัฒนาเจ้าคอมมานโด สติงเรย์ก็ได้นำทอร์ชันบาร์แบบเดียวกันกับที่ใช้กับปืนใหญ่อันตราจรแบบ M109 มาใช้ในการพัฒนาตัวรถนั่นเอง
ส่วนในเรื่องของสมรรถนะของน้องเค้า น้องเค้าก็ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ดีทรอยท์ ดีเซล แอลลิสัน 8วี 92ทีเอ (Detroit Diesel Allison 8V-92TA)
ที่ให้กำลังขับเคลื่อนราว 535 แรงม้า ซึ่งช่วยให้เจ้ากระเบนธงของเราสามารถทำความเร็วได้มากถึง 69 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมงบนพื้นผิวทางเรียบแข็งเลยทีเดียว

สำหรับระบบอำนวยการรบ อย่าง กล้องหลักเหล็ก ระบบควบคุมการยิง กล้องตรวจการณ์ ระบบค้นหาระยะ ก็ล้วนเป็นระบบดิจจิตอล-อิเร็กทรอนิกส์แทบทั้งหมด
อีกทั้งระบบต่างๆ ภายในรถยังอำนวยให้รถถังสามารถปฏิบัติการได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
ทำให้รถถัง คอมมานโด สติงเรย์ เป็นรถถังเบาที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งในยุค 80 เลยทีเดียว

แต่ท้ายที่สุด ในปี 1992 กองทัพบกสหรัฐก็ได้ทำการเลือกเจ้า Close Combat Vehicle Light ให้เป็นผู้ชนะเหนือยานเกราะแบบอื่นๆ
ทว่าโครงการจัดหายานเกราะแบบใหม่เพื่อทดแทนรถถังเบาเชอร์ริแดนก็ถูกพับไปอันเนื่องมาจากปัญหาด้านงบประมาณ

และแม้ว่า รถถัง คอมมานโด สติงเรย์ จะแพ้ให้กับโครงการดังกล่าว
แต่บริษัท คาดิลแลค เกจ ก็ได้ตั้งเป้าที่จะทำการตลาดกับเจ้ารถถัง คอมมานโด สติงเรย์ อยู่แล้ว
โดยมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าต่างประเทศที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ

ในเวลาห้วงเวลาไร่เรี่ยกันเนี่ย ประเทศไทยก็กำลังมองหารถถังแบบใหม่อยู่เช่นเดียวกัน
ซึ่งบริษัท คาดิลแลค เกจ ก็ได้นำรถถัง คอมมานโด สติงเรย์เข้ามาทดสอบในประเทศไทยร่วมกับรถถังแบบอื่นๆ ด้วย
อาทิ รถถังแบบ SK-109 จากออสเตรีย, รถถัง Vicker Mark 3 จากสหราชอาณาจักร, รถถัง TH-301 และ รถถัง Leopard 1 จากเยอรมนีตะวันตก

ท้ายที่สุด ในปี 1987 บริษัท คาดิลแลค เกจ ก็ได้รับเลือกให้เป็นผู้ชนะในการผลิตรถถังแบบใหม่ให้แก่ประเทศไทยโดยกองทัพบกได้สั่งซื้อรถถังเบาคอมมานโด สติงเรย์จำนวน 106 คัน

รถถังเบาคอมมานโด สติงเรย์ได้เข้าประจำการกองทัพบกไทยในปี พ.ศ.2532 ทำให้ได้รับชื่อราชการว่า รถถังเบา 32 และแม้จะมีปัญหาจากการใช้งานบ้างในบางครั้งแต่เจ้าคอมมานโด สติงเรย์
ก็ได้รับการปรับปรุง แก้ไข และ ซ่อมแซมจากทั้งภาครัฐและเอกชนทำให้สามารถใช้การได้เป็นอย่างดีมาจนถึงทุกวันนี้
ซึ่งปัจจุบันรถถังเบาคอมมานโด สติงเรย์ ได้ประจำอยู่กับ กองพันทหารม้าที่ 26 และ กองพันทหารม้าที่ 9
คำถามไขข้อสงสัย ทำไมรถถัง Stingray ของไทย ..... >>> - Pantip
แล้วรู้หรือไม่ว่า รถถัง Stingray ยังถูกนำไปพัฒนาต่อเป็นรถถังเบา คอมมานโด สติงเรย์ II โดยมันถูกเริ่มพัฒนาในปี พ.ศ.2535 แถมยังได้รับความสนใจจากหน่วยนาวิกโยธินไทยอีกด้วย
เพราะในช่วงยุค 90 เนี่ย หน่วยนาวิกโยธินไทยเรามีความต้องการที่จะจัดหารถถังราว 15 คัน ซึ่ง คอมมานโด สติงเรย์ II ก็ได้ถูกส่งเข้าประกวดด้วยเช่นกัน แต่ก็ต้องพ่ายให้กับรถถังเบา ASCOD (แอสคอต)
จากประเทศออสเตรีย นั่นเอง แต่ถึงอย่างไรนั้น เจ้ารถถัง ASCOD (แอสคอต) ก็ไม่ได้ไปต่ออีกด้วยนะ เพราะหน่วยนาวิกโยธินได้ล้มเลิกโครงการจัดหาลงไปนั่นเอง

ทิ้งข้อความไว้

ความคิดเห็นทั้งหมดจะถูกกลั่นกรองก่อนที่จะเผยแพร่