19 หลักการของเจ้าพ่อ IO Valor Tactical

โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ (Joseph Goebbels)สมาชิกพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมันและรัฐมนตรีกระทรวงโฆษณาชวนเชื่อ ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นมันสมองในการทำสงครามข่าวสารของฝ่ายเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ - Joseph Goebbels

 

โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ได้ประสบความสำเร็จในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและภาพลักษณ์ที่ดีของฮิตเลอร์, กองทัพและพรรคของเขา ไม่ว่าจะเป็นบทพูดและแนวทางการปราศรัยต่างๆไปจนถึงการผลิตสื่อต่างๆสำหรับการใช้โฆษณาชวนเชื่อ แต่รู้หรือไม่ โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์มีหลักการในการสร้างโฆษณาชวนเชื่อตามแบบของเขาถึง 19 หลักการด้วยกัน

เกิบเบิลส์ขณะกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าฝูงชน

 

โดยหลักการเหล่านี้ยังสามารถนำมาปรับใช้ในสงครามจิตวิทยาในยุคปัจจุบันได้อีกด้วย เรามาดูกันว่าใน 19 หลักการของเขามีอะไรบ้าง

  1. นักการโฆษณาชวนเชื่อต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆและความคิดเห็นของสาธารณะ
  2. โฆษณาชวนเชื่อจะต้องถูกกำกับดูแลวางแผนและออกคำสั่งโดยเพียงคนเดียวเท่านั้น
  3. ในการวางแผนกระทำการใดๆก็ตามแต่ ต้องคำนึงถึงผลพวงจากการทำโฆษณาชวนเชื่อนั้นด้วย
  4. โฆษณาชวนเชื่อจะต้องส่งผลต่อข้าศึกในเรื่องของทั้งนโยบายและการปฏิบัติงาน
  5. ข้อมูลที่ไม่อยู่ในชั้นความลับและข้อมูลการปฏิบัติการต่างๆต้องสามารถเข้าถึงได้เพื่อนำมาใช้ในการรณรงค์การทำโฆษณาชวนเชื่อ
  6. เพื่อให้(โฆษณาชวนเชื่อ)เป็นที่รับรู้, โฆษณาชวนเชื่อจะต้องก่อให้เกิดความสนใจแก่ผู้รับสารและจะต้องถ่ายทอดผ่านสื่อที่ผู้รับสารเลือกรับ (สิ่งพิมพ์, วิทยุ เป็นต้น ตามยุคสมัยนั้นๆ)
  7. “ความน่าเชื่อถือ” จะเป็นตัวชี้วัดเดียวว่าผลลัพธ์ของโฆษณาชวนเชื่อที่ออกมานั้นควรจะเป็น “จริง” หรือ “เท็จ” (ในมุมมองของผู้รับสาร)
  8. จุดมุ่งหมาย, เนื้อหาและประสิทธิภาพในโฆษณาชวนเชื่อของข้าศึก; ประสิทธิภาพและการแพร่กระจายรวมไปถึงลักษณะของการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อที่กระทำอยู่นั้นจะเป็นตัวชี้วัดว่าโฆษณาชวนเชื่อของข้าศึกควรจะถูก “เพิกเฉย” หรือ “ตอบโต้”
  9. ความน่าเชื่อถือ, ข้อมูลและผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของการสื่อสารจะเป็นตัวชี้วัดว่า “เนื้อหา” ที่นำมาใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อควรถูกเซนเซอร์ด้วยหรือไม่
  10. “เนื้อหา” โฆษณาชวนเชื่อของข้าศึกสามารถนำมาใช้เพื่อลดทอนศักดิ์ศรีของข้าศึกเองได้หรือใช้สนับสนุนการโฆษณาชวนเชื่อฝ่ายตัวเองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้
  11. “ดำ ดีกว่า ขาว” การโฆษณาชวนเชื่อดำจะต้องถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อ สารของโฆษณาชวนเชื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือลงหรือให้ผลลัพธ์ที่ไม่ได้คาดหวังไว้ภายหลักที่ถูกนำเสนอออกไป
  12. ผู้นำที่มีลักษณะมีศักดิ์ศรี (ความน่าเชื่อถือ/เลื่อมใส) อาจสามารถนำมาใช้เป็นเนื้อหาในการโฆษณาชวนเชื่อได้
  13. โฆษณาชวนเชื่อจะต้องมีการกำหนดเวลาอย่างระมัดระวัง
  14. โฆษณาชวนเชื่อจะต้องระบุเหตุการณ์และบุคคลพร้อมกับสโลแกนหรือคำคมที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์
  15. โฆษณาชวนเชื่อที่ถ่ายทอดไปถึงผู้รับสารทางบ้านจะต้องไม่สร้างความหวังผิดๆที่อาจถูกทำลายลงด้วยเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  16. โฆษณาชวนเชื่อจะต้องก่อให้เกิดความวิตกกังวลในปริมาณที่เหมาะสม
  17. โฆษณาชวนเชื่อที่ถ่ายทอดไปถึงผู้รับสารทางบ้านจะต้องสามารถลดผลกระทบจากความหงุดหงิดได้
  18. โฆษณาชวนเชื่อจะต้องก่อให้เกิดความก้าวร้าวต่อเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเกลียดชัง
  19. โฆษณาชวนเชื่อไม่สามารถส่งผลตอบโต้ได้ในทันที หากแต่จะสามารถส่งผลในรูปแบบอื่นหรือก่อให้เกิดเบี่ยงเบนความสนใจหรือทั้งสองอย่าง

ทิ้งข้อความไว้

ความคิดเห็นทั้งหมดจะถูกกลั่นกรองก่อนที่จะเผยแพร่

Blog posts

View all
Review - Salomon XA Forces Mid GTX EN

Review - Salomon XA Forces Mid GTX EN

Review รีวิวadmin admin
REVIEW: Magpul - MBUS Pro Sight

REVIEW: Magpul - MBUS Pro Sight

admin admin