แนวคิดในการพัฒนาและคัดเลือกของกองทัพสหรัฐต่ออากาศยานนั้น
เคยมุ่งเน้นไปอยู่ในทิศทางเดียวมาตลอด
นั่นก็คือ ขีดจำกัดความสามารถในการทำลายล้าง หรือ อำนาจการยิงที่สูงเข้าว่า
นักออกแบบระดับตำนานอย่าง แคลลี่ จอห์นสัน (Kelly Johnson)
ซึ่งสังกัดอยู่กับบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin)
บริษัทด้านอากาศยาน และ อุตสาหกรรมการป้องกันชั้นนำในสหรัฐ
ผู้เป็นเจ้าของผลงานการออกแบบตั้งแต่ C-130 จนถึง เครื่องบินสอดแนม U-2
ซึ่งผลงาน เครื่องบินสอดแนม U-2 ของเขาผ่านคาบเส้น
ตามความต้องการของแพนตากอนพอดิบพอดี
แต่ทว่าทางแพนตากอนเองยังต้องการอากาศยานที่มีคุณสมบัติใดๆก็ตาม
ที่สามารถรับมือและต่อกรกับเทคโนโลยีของรัสเซียชนิดที่แบบไม่เห็นฝุ่น
ผลลัพธ์ที่ได้นั้นก็คือ อากาศยานเครื่องยนต์ เจ็ต ตระกูล Blackbird
รวมไปถึง SR-71 Blackbird ที่พัฒนามาจนเข้ากรอบเข้าตาแพนตากอน
เป็นเครื่องบินที่ยังถือครองสถิติ อากาศยานทางทหารที่เร็วที่สุดบนน่านฟ้า
เราจะไม่พูดถึงจุดเด่นต่างๆนานาร้อยแปดของอากาศยานรุ่นนี้ ที่อาจจะหาอ่านได้ทั่วไป
แต่เราได้หยิบ ข้อเท็จจริง 3 ข้อเท่านั้นที่เราคิดว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านจะยังไม่รู้เป็นแน่
- คุณสมบัติโดดเด่น ชนิดที่เรียกได้ว่า หาตัวจับไม่ได้ -
SR-71 Blackbirdเป็นเครื่องบินที่มีความสามารถในการบินที่ระดับความสูงที่มาก และ ความเร็วล้นเหลือ
บ่อยครั้งที่มันจะได้รับหน้าที่ตรวจการณ์เหนือชั้นบรรยากาศ
เพื่อเก็บข้อมูลทางภาคพื้นของฝั่งข้าศึก
SR-71 Blackbird ขีดความสามารถในการปฏิบัติการสูงสุดอยู่ที่ความเร็ว 3 มัค
หรือสูงถึง 3675.13 กิโลเมตร/ชั่วโมง และเพดานบินที่สูงถึง 80,000 ฟุต
เมื่อทั้งสองอย่างรวมกันแล้ว
ไม่มีจรวดต่อต้านอากาศยานนำวิถีใดๆ สามารถไล่จับ Blackbird ได้ทันเลย
ถึงแม้จะสามารถตรวจจับรับรู้ถึงการมีอยู่ถึงตัว Blackbird บนน่านฟ้าได้
แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถต่อต้านหรือทำลายมันได้อยู่ดี
จากผลบันทึกของกองทัพอากาศสหรัฐ ตลอด 34 ปี ของ SR-71 Blackbird
ลำที่ประจำการและปฏิบัติงานชั่วโมงบินรวมสูงสุด
เคยถูกล็อคเป้าหมายขณะทำการบินจากจรวดต่อต้านอากาศยานนำวิถี ถึง 4,000 ลูก
แต่ไม่เคยมีจรวดลูกไหนได้ลิ้มรสสัมผัส Blackbird เลยแม้แต่นัดเดียว
- กระจกหน้าห้องนักบินที่แข็งแรง -
การที่เครื่องบิน SR-71 Blackbird บินด้วยความเร็วที่สูง
และ เพดานบินเหนือชั้นบรรยากาศ
อุณหภูมิที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของตัวถังมีความสูงถึง
600 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 315 องศาเซลเซียส
บริษัทล็อกฮีด จำเป็นต้องเค้นไอเดีย
ค้นหาวัสดุที่เหมาะสมมาเพื่อใช้เป็นกระจกหน้าห้องนักบิน
จนมาถึงการตัดสินใจเลือก แร่ควอรตซ์ (Quartz) แร่ดั้งเดิมตามธรรมชาตินั้นมีหลากสี
แต่หากเป็นสีโปร่งใสจะช่วยลดความเพี้ยนของภาพขณะมองผ่าน
ไม่ทำให้เกิดแสงสะท้อนหากทำมุมกระทบกับแสง
ที่สำคัญ สามารถทนความร้อนได้สูงมาก
และ ไม่เกิดการบิดตัวของตัวกระจกหากต้องต้านลมที่แรงในขณะทำความเร็ว
และวิธีการติดตั้งยังต้องแข็งแรงไร้รอยต่อ
ที่ซึ่งอาจมีความเสี่ยงอันตรายต่อนักบินหากมีรอยต่อระหว่างตัวถังกับกระจก
พวกเขาเลยใช้วิธีเชื่อมประสานแบบอัลตร้าโซนิค
เชื่อมกระจกควอรตซ์เข้ากับตัวถังไททาเนียมอัลลอยด์
- SR-71 เป็นถืออากาศยานเครื่องสุดท้ายของยุค -
ไม่ได้แปลว่ามันสุดยอดจนถึงขีดสุดโดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาต่อไปอีกแล้วแต่หมายความว่า อากาศยานยุคหลังๆถูกคำนวนร่วม
กับการออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
คำว่า เครื่องสุดท้ายของยุค หมายถึงการที่ แคลลี่ จอห์นสัน
และทีมวิศวกรของ ล็อกฮีด ได้ใช้ ไม้บรรทัดเลื่อน หรือ (Slide Rule)
ในการคำนวนการออกแบบ
นั่นหมายความว่าผลผลิตอันสุดยอดและยังหาใครเทียบได้ยาก
เกิดขึ้นจากการเขียนแบบด้วยมือและคำนวนเส้นสายด้วยสูตรแบบดั้งเดิม
ผ่านมันสมองของมนุษย์ล้วนๆเท่านั้น
และน่าทึ่งไปกว่านั้นคือเมื่อภายหลังได้มีการนำแบบเข้าตรวจสอบคำนวน
เพื่อการแก้ไขปรับปรุงผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และพวกเขาก็ได้พบว่า
ผลลัพ์ที่โปรแกรมให้ออกมานั้น ตรงกับแนวทางการคำนวนของ แคลลี่ เป๊ะๆ
และไม่ให้ค่าแนะนำในการปรับแต่งใดๆเพิ่มเติมอีกเลย
ที่มา : https://sofrep.com/news/still-the-champ-3-things-you-didnt-know-about-the-sr-71-blackbird/
บทความ : THREE THINGS YOU DIDN’T KNOW ABOUT THE SR-71 BLACKBIRD
ผู้แปล เรียบเรียง : ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564