เคล็ดลับ 7 ข้อ ที่ช่วยให้คุณไม่สติแตกในสภาวะปลีกวิเวก โดยพลแม่นปืนกองทัพบกสหรัฐ Valor Tactical


1) ระลึกถึงภารกิจของตนอยู่เสมอ

เมื่อคุณได้รับหน้าที่เป็น พลแม่นปืน หรือ พลซุ่มยิง

"คุณคือหู และ ตาของทั้งกองร้อย และผู้บังคับบัญชาของคุณ"
จ่าสิบเอก เควิน ไซป์ อดีตพลแม่นปืนกองทัพบกสหรัฐกล่าว

และบอกต่ออีกว่า
"มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นให้คุณดูและสำรวจอยู่เสมอ"

ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถละสายตาออกจากกล้องเล็งได้บ้าง
แต่คุณก็ยังควรที่จะใส่ใจ สำรวจ ถนนหนทาง ยานพาหนะ
อาคารบ้านช่อง และผู้คน

มีอะไรให้สำรวจและคิดตามอยู่เสมอ
อย่างเช่่นการจดจำ รูปล่างลักษณะของผู้คนให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้
หรือ ตั้งคำถามกับตัวเอง เช่น

"คุ้นๆว่าเคยเห็นคนนี้มาก่อนไหม"

"เราสามารถยิงทะลุผนังนั้นได้ไหมนะ"

"ต้องใช้ระเบิดปริมาณเท่าไหร่ ประเภทไหนกัน ที่จะพังที่กำบัง หรือ อาคารนั้นได้"

เวลาออกปฏิบัติภารกิจ เชื่อสิ ว่ามีเรื่องให้ต้อง วางแผนจัดการอยู่เสมอ

2) แยกย่อยปัญหา/สิ่งที่ต้องทำ

ลองเขียนสรุปภาพรวมภารกิจออกมา
และแบ่งย่อยเนื้อหามาจัดการที่ละส่วน

ตั้งเป้าหมายห้วงสั้นเอาไว้ตั้งแต่มื้อเช้าถึงมื้อเที่ยง
ว่าจะสำรวจอะไร ตรวจการณ์ หรือบันทึกอะไร

ตั้งสมาธิกับห้วงชั่วโมงต่อชั่วโมง
แทนที่จะกังวลว่าวันนี้ทั้งวันควรทำอะไร

ทำแบบนี้จะช่วยการสับสนกระวนกระวายใจได้ในระดับหนึ่ง
และสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดยิ่งขึ้นเมื่อไม่ต้องพะวงกับห้วงภารกิจอื่นๆ

3) มองหาตำแหน่งใหม่ๆอยู่เสมอ

"คุณควรที่จะมองหาตำแหน่งใหม่ๆอยู่เสมอ"
ไซป์ กล่าว "และนั้นหมายถึงในทุกๆเรื่อง

เช่น มองหาวิธีสร้าง พราง หรือย้ายที่กำบัง
มองหาวิธีที่จะทำให้ตัวเองอยู่นิ่งๆได้สบายขึ้นสักนิดก็ยังดี
หรือ แม้แต่ตรวจสอบความพร้อมของอาวุธอยู่เสมอ"

4) จดบันทึกสิ่งแปลกปลอมในสถานการณ์และพื้นที่

"มีอะไรเกิดขึ้นที่คุณพลาดไปบ้าง"

"ของชิ้นนั้นมันดูไม่ควรจะอยู่ตรงนี้เลย"

"มีอะไรแปลกใหม่เกิดขึ้นที่ผิดไปจากการสำรวจครั้งก่อน หรือ ชั่วโมงก่อนหรือไม่"

ไม่ว่าอะไรก็ตามในจุดที่คุณสังเกตการณ์พื้นที่ข้าศึก
ให้คุณลองคิดเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ

ทำแบบนี้จะช่วยให้คุณ อ่านใจข้าศึก รับรู้ถึงกิจวัตร
หรือแม้แต่สามารถวางแผนดักซุ่มโจมตีได้เลยทีเดียว

5) ค้นหาวิธีการใหม่ๆ ในการสื่อสาร

ในสนามรบ พลแม่นปืน ไม่ได้ออกพื้นที่ปฏิบัติภารกิจเพียงคนเดียว
จะมี พลชี้เป้า คอยคุ้มกัน และตรวจการณ์เป็นคู่หูอยู่เสมอ

ในบางสถานการณ์คุณอาจไม่สามารถที่จะสื่อสารด้วยเสียงได้
และนั่นก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องริเริ่มสร้างสรรค์เสียหน่อย

ไซป์ บอก "บ่อยครั้งที่ผม เขียน หรือ วาดรูป เพื่อใช้ในการสื่อสาร หรือแบ่งปันข้อมูล"

"เราใช้เวลาบ่อยครั้งในการ สเกตภาพพื้นที่ที่เราสังเกตการณ์

ไม่ว่าจะมุมมองจากสายตาเรา หรือ
ภาพจินตนาการจากด้านบนเหมือนแปลนบ้าน หรือผังเมือง

แถมเรายังวาดการ์ตูน หรือภาพล้อตลกๆซ่อนในภาพให้คู่หูมองหาเล่นๆ อีกด้วย"

ไซป์ ยังเสริมอีกว่า "เราไม่เคยลืมที่จะจดโน๊ตไว้ถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาต่างๆ
อะไรที่เรามองหา เป้าหมายของเรา หรือแม้แต่มุขตลก"

6) คิดถึงสิ่งที่คุณอยากทำเมื่อภารกิจจบลง

ไซป์ บอกว่า "ผมมักจะจินตนาการถึงอาหารที่ผมอยากทาน และคิดลึกไปถึง
ว่าอาหารจานนั้นจะใส่อะไรลงไปบ้าง หน้าตา สี รสชาติจะออกมาเป็นยังไง"

"หรืออีกอย่างคือ ผมชอบที่จะจดชื่อของคนที่ผมคิดถึง
คนที่ผมอยากคุยด้วยหรือกลับไปหา"

7) ระลึกอยู่เสมอว่า มันไม่ใช่เรื่องของคุณ
    เพียงคนเดียว

ภารกิจของทหารโดยส่วนใหญ่แล้ว
จะเกิดขึ้นโดยการปฏิบัติงานของทั้ง กองร้อย หรือ กองพัน
พร้อมๆกัน ในเวลา และสถานที่ที่ต่างกันออกไป

คุณควรทำในสิ่งที่คุณควรทำโดยไม่ละเลยหรือมองข้าม
เพราะสิ่งที่คุณทำอย่างมีผลทำให้รูปการณ์เปลี่ยนได้เสมอ

"9 ใน 10 ของคนที่ทำอะไรผิดผลาด มักจะไม่ใช่ตัวเขาเองที่ต้องรับเคราะห์นั้น แต่มักจะเป็นผู้อื่นเสียต่างหาก"



ที่มา : https://www.military.com/off-duty/2020/04/09/7-battlefield-tested-tips-us-army-sniper-how-not-lose-your-mind-isolation.html

บทความ : 7 Battlefield-Tested Tips from a US Army Sniper on How Not to Lose Your Mind in Isolation

ผู้แปล เรียบเรียง : ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ทิ้งข้อความไว้

ความคิดเห็นทั้งหมดจะถูกกลั่นกรองก่อนที่จะเผยแพร่

Blog posts

View all
Review - Salomon XA Forces Mid GTX EN

Review - Salomon XA Forces Mid GTX EN

Review รีวิวadmin admin
REVIEW: Magpul - MBUS Pro Sight

REVIEW: Magpul - MBUS Pro Sight

admin admin