JAPAN AIRLINE Flight 123 จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในหายนะทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน แล้วทำไมเราถึงใช้คำว่า ทะนงตน
กับทางการญี่ปุ่น วันนี้ Valor Tactical จะพาท่านผู้ชมไปดูพร้อมๆ กัน แต่ก่อนอื่นเราต้องมาย้อนความเกี่ยวกับไฟลท์นี้กันเสียก่อน
โศกนาฏกรรมของ Japan Airline Flight 123 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ปี 1985 เมื่อเครื่องบิน โบอิ้ง 747 SR-46 ของสายการบิน Japan Airline
บินออกจากสนามบินฮาเนดะ กรุงโตเกียว โดยมีจุดหมายปลายทางคือ สนามบินอิตามิ จังหวัดโอซาก้า ซึ่งหลังจากเครื่องบิน โบอิ้ง 747 บินออกจาก
สนามบินฮาเนดะได้ไม่นาน เครื่อง 747 ก็เกิดการระเบิดของแผงกั้นปรับความดันท้ายเครื่องจนแรงระเบิดทำให้แพนหางดิ่งของเครื่อง 747 ฉีกออกไปทั้งหมด
การสูญเสียแพนหางดิ่งทำให้เครื่องบินเสียการควบคุม แม้นักบินจะพยายามประคองเครื่องบินให้กลับไปที่สนามบินฮาเนดะ เป็นเวลานานกว่า 30 นาที
แต่ท้ายที่สุดเครื่องบินก็ตกลงบริเวณเขา ทากะมากาฮาระ ราวๆ 100 กิโลเมตรจากกรุงโตเกียว
ในระหว่างที่นักบินกำลังประคองเครื่องอยู่นั้น ทหารอากาศสหรัฐประจำศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศประจำฐานทัพอากาศโยโกตะของกองทัพอากาศสหรัฐ
ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากโตเกียว ตรวจจับบทสนทนาระหว่าง JAL 123 และ ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศโตเกียวได้ ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศของสหรัฐ จึงได้พยายาม
ติดต่อเพื่อเสนอความช่วยเหลือต่างๆ แม้ JAL 123 จะไม่ได้ตอบสนองต่อการติดต่อเข้ามาแต่ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศประจำฐานทัพอากาศโยโกตะ
ก็ได้พยายามติดตามตำแหน่งของ JAL 123 อยู่ตลอดเวลา รวมถึงเตรียมพื้นสนามบินและหน่วยกู้ภัยหาก JAL 123 จะต้องทำการลงจอดฉุกเฉิน
ที่ฐานทัพอากาศโยโกตะ
ท้ายที่สุดความพยายามจากทั้งศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศโตเกียวและศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศประจำฐานทัพอากาศโยโกตะก็ไม่เป็นผล
Japan Airline Flight 123 ได้ตกลงบริเวณเขาทากามากาฮาระ จังหวัดกุนมะ ในวันที่ 12 สิงหาคม เวลา 18:56 น. พร้อมกับผู้โดยสารและลูกเรืออีก 524 คน
ทางการญี่ปุ่นประกอบไปด้วยกองกำลังป้องกันตนเอง, หน่วยงานตำรวจและดับเพลิงของญี่ปุ่นใช้เวลามากกว่า 13 ชั่วโมง
ในการเดินทางเข้าไปยังตำแหน่งจุดตกของ JAL 123 ที่นี้ก็ถึงเวลาที่เราจะมาเข้าเรื่องกันว่าทำเหตุการณ์ JAL 123 สะท้อนความทะนงตนของทางการญี่ปุ่น
หลังจากที่ JAL 123 ขาดการติดต่อไป ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศประจำฐานทัพอากาศโยโกตะ ได้สั่งการไปยังเครื่องบินขนส่งแบบ C-130
ของกองทัพอากาศสหรัฐที่กำลังบินอยู่ในบริเวณนั้นให้เข้าตรวจสอบจุดที่เครื่องตกโดยเครื่องบิน C-130 ใช้เวลาราวๆ เพียง 20 นาที
ในการที่เครื่องบิน C-130 จะสามารถระบุตำแหน่งของจุดตกได้ นอกจากนี้เครื่อง C-130 ยังได้ทำการบินเหนือจุดตก
เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ของจุดตกและส่งต่อไปยังฐานทัพอากาศโยโกตะและทางการญี่ปุ่น ซึ่งในเวลานั้นสร้างความตกใจให้กับทางการญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
ที่ข้อมูลของเครื่องบินตกชุดแรกมาจากฝากฝั่งของฝ่ายสหรัฐ
ต่อมาฐานทัพอากาศโยโกตะได้ทำการติดต่อไปยังค่ายซามะ ซึ่งเป็นค่ายของกองทัพบกสหรัฐที่อยู่ในจังหวัดคานากาว่า ไม่ไกลจากโตเกียวและจุดตก
โดยฐานทัพอากาศโยโกตะประสานขอเฮลิคอปเตอร์และกำลังพลจำนวนหนึ่ง ให้ไปยังพื้นที่บริเวณจุดตก
เพื่อทำการตรวจสอบเก็บข้อมูลจุดตกและค้นหาผู้รอดชีวิต
แต่เรื่องที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อ เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกสหรัฐฯที่อยู่บริเวณจุดตกของ JAL 123 ได้รับคำสั่งจากฐานทัพอากาศโยโกตะให้อากาศยานทั้ง
เครื่อง C-130 และ เฮลิคอปเตอร์ UH-1 ที่อยู่บริเวณจุดตกของ JAL 123 ให้กลับฐานทันที ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับนักบินบริเวณนั้นเป็นอย่างมาก
ประหลาดใจถึงขั้นที่ นักบินผู้ช่วยของเครื่องบิน C-130 ที่ไปถึงจุดตกเป็นลำแรก ไมเคิล อันโตนุชชี่ ได้ย้ำกลับไปยังฐานทัพอากาศโยโกตะอีกครั้งว่า
เฮลิคอปเตอร์อยู่ที่จุดตกและพร้อมจะให้ทหารโรยตัวลงไปจุดตกแล้ว แต่คำตอบที่เขาได้กลับมานั้นคือให้อากาศยานทั้งหมดของสหรัฐฯ กลับฐานทันที
เพราะฝ่ายญี่ปุ่นจะเป็นแม่งานเองในการกู้ภัยเอง
ในเวลาไร่เรี่ยกันไม่นานเฮลิคอปเตอร์ V-107 ของ กองกำลังป้อนกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่นก็ได้บินเข้ามาบริเวณจุดตกของ JAL 123 ด้วยเช่นกัน
แต่ด้วย ณ เวลานั้นเป็นเวลากลางคืนแล้ว
และ ฮ.แบบดังกล่าวไม่มีอุปกรณ์สำหรับใช้ในการบินเวลากลางคืนบวกับที่ ฮ. V-107 เป็น ฮ.ขนาดใหญ่จึงยากที่จะส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยลงไปในพื้นที่ของจุดตก
ที่เป็นพื้นที่เขา สิ่งที่นักบินเห็นมีเพียงแสงเปลวไฟจากซากของเครื่องบินเพียงเท่านั้น ทำให้นักบินเชื่อว่าไม่มีผู้ใดสามารถรอดชีวิตมาได้
จากการรายงานของนักบินนี้เอง ทำให้ทีมกู้ภัยที่ประกอบไปด้วยกองกำลังป้องกันตนเอง, หน่วยงานตำรวจและดับเพลิงของญี่ปุ่น
ตัดสินใจไม่เดินเท้าเข้าไปในเวลากลางคืนแต่จะเข้าไปในตอนเช้าของวันที่ 13 แทน ด้วยความเชื่อที่ว่าไม่มีผู้ใดรอดชีวิตจากเครื่องบินตกแล้ว
ทีมกู้ภัยได้เดินเท้าเข้าไปถึงจุดตกราว 9 โมงเช้า เรื่องที่ไม่คาดฝันได้เกิดขึ้นเมื่อ ทีมกู้ภัยได้พบเจอกับผู้รอดชีวิตเป็นจำนวน 4 ราย ด้วยกัน
จากคำบอกเล่าของยูมิ โอจิไอ หนึ่งใน 4 ผู้รอดชีวิตเครื่องบินตก เธอบอกว่า ความจริงแล้ว หลังจากที่เครื่องบินตก เธอสามารถได้ยินเสียของใบพัดเฮลิคอปเตอร์
รวมถึงเสียงกรีดร้องและเสียงครวญครางของด้วยผู้รอดชีวิตอื่นๆ แต่เสียงเหล่านั้นค่อยๆ จางหายไปในคืนนั้น
จากการชันสูตรร่างผู้เสียชีวิตหลายร่างด้วยกันพบว่าผู้เสียชีวิตหลายคนไม่ได้เสียชีวิตจากเครื่องบินตกโดยทันทีหากแต่พวกเขาเหล่านั้นเสียชีวิตจาก
พิษบาดแผลและอากาศที่หนาวเย็นในเวลากลางคืน หากพวกเขาได้รับการช่วยเหลือในเวลาที่ทันท่วงที ก็อาจมีผู้รอดชีวิตมากกว่า 4 คนก็เป็นได้
หรืออาจพูดเป็นนัยๆได้ว่า หากเฮลิคอปเตอร์ของสหรัฐฯ สามารถส่งทหารลงไปบริเวณจุดตกได้สำเร็จแทนการถูกสั่งให้กลับฐาน
พวกเขาก็อาจที่จะสามรถช่วยชีวิตผู้โดยสารได้มากกว่า 4 คนนั่นเอง
แต่อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้ฐานทำอากาศโยโกตะสั่งการให้เฮลิคอปเตอร์ที่อยู่ห่างไม่กี่อึดใจจากการช่วยเหลือผู้โดยสาร JAL 123 ให้กลับฐานได้
10 ปีต่อหลังจากที่เหตุการณ์ JAL 123 เกิดขึ้น คุณโอกาว่า คาซูฮิสะ ผู้สื่อข่าวประจำสถานีโทรทัศน์ TV อาซาฮี
ได้กล่าวในรายการที่นำเสนอเกี่ยวกับ JAL 123 ที่ออกอากาศในปี 1995 ว่า
หลังจากที่เครื่องบิน Japan Airline Flight 123
เกิดการโต้เถียงกันภายในรัฐบาลระหว่างให้หน่วยงานตำรวจของสำนักนายกรัฐมนตรีกับกองกำลังป้องกันตนเองของกระทรวงกลาโหม
เป็นแม่งานในการดำเนินปฏิบัติการกู้ภัย แต่ในขณะที่กำลังโต้เถียงกันนั้น เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพสหรัฐสามารถไปถึงจุดตกของ
เครื่อง Japan Airline Flight 123 ในเวลาอันรวดเร็ว บวกกับความต้องการที่จะเริ่มการปฏิบัติการกู้ภัย ซึ่งหากทำได้ทั้งตำรวจและกองกำลังป้องกันตนเอง
จะต้องเสียหน้าเป็นอย่างแน่แท้ ทำให้ต้องปฏิเสธความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ไป
นอกจากนี้สถานีโทรทัศน์ TV อาซาฮียังได้ถามไปยังอดีตผู้บังคับบัญชากองทัพสหรัฐประจำญี่ปุ่นในเวลาที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น
อดีตผู้บังคับบัญชากองทัพสหรัฐกล่าวว่า กองกำลังป้องกันตนเองปฎิเสธความช่วยเหลือจากเราภายหลังจากที่เครื่องบินตกในวันนั้น
อาจเรียกได้ว่านี่คือความทะนงตนก็ว่าได้ เพราะหากทางการญี่ปุ่น ณ เวลานั้นเลือกที่จะปล่อยให้ทางสหรัฐฯ ดำเนินปฏิบัติการกู้ภัยแทน
การปฏิเสธความช่วยเหลือเพราะเกรงกลัวที่จะเสียหน้า ชีวิตของผู้โดยสาร Japan Airline Flight 123 ก็อาจมีมากกว่า 4 คนก็เป็นได้นั้นเอง