ใช่แล้วละครับ ปืนกลที่เราจะมาเล่าถึงในวันนี้คือ "Browning M2"
หรือ ปก.93 ในชื่อเรียกของ ราชการกองทัพไทย
ปืนกล Browning M2 ถือเป็น 1 ใน ปืนกลที่มีอำนาจการยิงสูง
คุณจะได้รับรู้ถึงพลังทำลายล้างของปืนกลกระบอกนี้
ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นบุคคลที่ทำการยิง หรือ ตกเป็นเป้าหมายของมัน ก็ตาม
บางคนถึงกับเรียกปืนกระบอกนี้ว่า "เจ้าแม่ของบรรดาปืนกล"
ทหารเกณฑ์กองทัพสหัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกมันสั้นๆว่า
"Ma Deuce" (มา-ดิ๊วซ์) หรือ "เจ้าแม่"
Browning M2 นับเป็นปืนขวัญใจมหาชน และ สร้างเกียรติประวัติมายาวนานในประวัติศาสตร์กองทัพสหรัฐ
- อาวุธที่น่าเกรงขาม -
ปืนกล Browning M2 เริ่มเปิดสายการผลิต ตั้งแต่ปี 1933
จากนั้นเป็นต้นมา มันได้สร้างชื่อเสียงเกียรติประวัติร่วมกับมือของชายนักสู้มานับไม่ถ้วน
ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ออดี้ เมอฟี้ (Audie Murphy) ทหารผู้ที่บาดเจ็บท่ามกลางสนามรบ
ทำการยิง ปืน M2 .50 Cal ที่ยังใช้การได้
จากด้านบนของรถถัง ในขณะที่ตัวรถกำลังไฟไหม้โหม
ยิงตรึงกำลังต้านทาน รถถังแพนเซอร์ (Panzer tank) 6 คัน
และกำลังพลของเยอรมัน ถึง 250 นาย เป็นเวลาร่วมชั่วโมง
ใน สมรภูมิทางตะวันออกของฝรั่งเศส และจากการกระทำอันกล้าหาญนี้
ทำให้ ออดี้ ได้รับเหรียญเกียรติยศสูงสุด (Medal of Honor)
จากอำนาจการยิงที่สูง และ ระยะทำการยิงที่ไกล
ผสมผสานกับระบบการยิงแบบที่ละหนึ่งนัด ที่มีติดมากับ เจ้าแม่ M2
พลซุ่มยิงนาวิกโยธินในตำนาน อย่าง คาลอส แฮชค็อค (Carlos Hathcock)
ผู้ที่ทดลองทำอะไรแผลงๆ แต่ได้ประสิทธิภาพ
ในช่วงสงครามเวียดนาม ปี ค.ศ. 1967
แฮชค็อค ได้นำกล้องเล็งระยะขยาย 10x ติดกับปืนกล M2
และกระทำการยิงที่ระยะ 2,500 หลา (2,286 เมตร)
เข้าเหยื่อเป้าหมายของ แฮชค็อค ได้สำเร็จ
ครองสถิติ ระยะสังหารสูงสุด ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปี ค.ศ. 2002
ปี ค.ศ. 2003 พอล เรย์ สมิธ (Paul Ray Smith)
ปีนขึ้นยานเกราะ กระทำการยิง "เจ้าแม่" ต้านกำลังข้าศึกกว่า 100 นาย
ที่ปิดล้อมตรึงกำลัง ระดับหมวด ของเขาไว้
น่าเสียดายที่เขาเสียชีวิตจากการต่อสู้ครั้งนั้น
แต่การกระทำอันกล้าหาญนี้ ได้ช่วยชีวิตพี่น้องร่วมรบของเขาไว้
และทำให้เขาได้รับ เหรียญเกียรติยศสูงสุด (Medal of Honor)
นับว่าเป็นเหรียญกล้าหาญ เหรียญแรกของ ปฎิบัติการในอิรัก (Operation Iraqi Freedom)
- กระสุนที่พลังทำลายล้างสูง -
จากความแพร่หลายในการใช้งาน ยานเกราะ และ เครื่องบิน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1โน้มน้าวแนวความคิดของ ผู้บัญชาการหน่วยสำรวจ (American Expeditionary Force)
พลเอก จอห์น เพอร์ชิ่ง (Gen. John Pershing) นำเสนอว่า
กองทัพบกควรมีปืนกลหนักที่อำนาจการยิงสูงไว้ประจำการ
เพื่อที่จะก้าวให้ทัน กองทัพทั่วโลกในสมัยนั้น
ทั้ง อังกฤษ และ ฝรั่งเศส มีปืนกลหนักที่ใช้กระสุนขนาดใหญ่ อย่างปืน Hotchkiss
แต่กลับกัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพสหรัฐ
มีเพียงแค่ปืนกล ที่ใช้กระสุนขนาดเดียวกับปืนเล็กยาว
ปืนกล Hotchkiss ใช้งานโดย กองทัพอังกฤษ และ ฝรั่งเศส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
และในที่สุด จอห์น บราวนิ่ง (John Browning) ได้ศึกษาทดลอง พัฒนาปืนกล
จากปืนต้นแบบผลงานก่อนหน้าของเขา M1917 ที่ใช้กระสุนขนาด .30 Cal
ปรับเปลี่ยนให้เป็น ปืนกลรุ่นใหม่ ที่ยิงกระสุนขนาด .50 Cal
จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1921 กองทัพบกรับปืนกลขนาด .50 Cal ของ บราวนิ่ง เข้าทดสอบ
เป็นปืนกลระบบแปลกใหม่ ระบายความร้อนด้วยน้ำ
ถือได้ว่าเป็นต้นแบบหรือ พ่อ ของปืน .50 Cal M2 "เจ้าแม่" อีกที
หลังจากที่บราวนิ่งเสียชีวิต นักพัฒนาอาวุธคนอื่นๆ
ได้จับต้นแบบของ บราวนิ่ง มาต่อยอดแก้ไขจุดบกพร่องของ M1921
จนถึงช่วง ปี ค.ศ. 1930 บริษัท Colt ซื้อสิทธิบัตร เพื่อเป็นเจ้าของ
และเปิดสายการผลิต แต่ยังคงตามแบบที่ บราวนิ่ง เคยออกแบบไว้
- ใหญ่ ยาว และ ระยะหวังผลที่ไกล -
พื้นฐานของ Browning M2 ป้อนกระสุนด้วยสายกระสุนระบายความร้อนด้วยอากาศ ยิงต่อเนื่องด้วยระบบแรงสะท้อนถอยหลัง
ขนาดและรูปร่างของมันก็ฉายแววน่าเกรงขามแล้ว
ด้วยความยาวเกือบ 6 ฟุต (182.8 เซนติเมตร) น้ำหนักกว่า 84 ปอนด์ (38 กิโลกรัม)
หากไม่นับรวมกับขาทราย แบบสามขา ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว
มีน้ำหนักมากถึง 128 ปอนด์ (58 กิโลกรัม)
M2 ยิงกระสุนต่อเนื่องได้ 550 นัด ต่อ นาที
และยังสามารถใช้ระบบการยิงทีละนัดได้
อีกทั้งตามลักษณะการออกแบบ ยังสามารถ
ปรับการป้อนสายกระสุนจากทางซ้าย หรือ ทางขวา ของตัวปืนได้อีกด้วย
ความสามารถของ Browning M2 ยังไม่หมดเพียงเท่านี้
ระยะหวังผลที่มีประสิทธิภาพของมันคือ 6,000 ฟุต หรือ 1,828 เมตร
แต่ระยะจริงที่ M2 สามารถส่งกระสุนไปได้ถึง คือ 4 ไมล์ หรือ 6.4 กิโลเมตร
- ความแพร่หลาย ของ เจ้าแม่ Browning M2 -
กองทัพบก และ กองทัพเรือ ชื่นชอบ M2 เป็นอย่างมากและมันได้ถูกใช้งานแพร่หลายไปทั่วสมรภูมิใน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ถูกติดตั้งให้เป็น ปืนรองร่วมศูนย์ กับ ปืนใหญ่รถถัง
ติดตั้งเข้ากับ เครื่องบินขับไล่ เพื่อใช้ไล่กวดเครื่องบินข้าศึก
ใช้ร่วมกับขาทรายแบบสามขา สำหรับทหารราบ ได้ใช้งาน
เป็นป้อมปืนสำหรับวางแนวป้องกันฐานที่มั่น
และติดตั้งบนเรือเพื่อใช้งานเป็น ปืนต่อต้านอากาศยาน
ผ่านไปช่วงเวลาหนึ่งใน ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ทหารสหรัฐได้ริเริ่ม และค้นพบว่า "เจ้าแม่" เป็นปืนที่มีประสิทธิภาพมาก
เมื่อใช้งาน ต่อต้านทหารเดินเท้า
จากผลลัพธ์ที่มันได้สำแดงออกมา ถึงกับได้ชื่อเล่นอันโหดร้าย
อีกชื่อหนึ่งว่า "เครื่องตัดชาวเยอรมัน"
ปืนที่พูดถึงนี้คือ M45 Quadmount
แนวคิดดั้งเดิมของมันถูกออกแบบมาให้เป็นปืนต่อสู้อากาศยาน
ด้วยการนำ เจ้าแม่ M2 จำนวน 4 กระบอก ติดตั้งเข้ากับฐานโครงสร้างเหล็ก
มีฉากกำบัง และตัวฐานตั้งอยู่บนรถลาก หรือ รถขับเคลื่อน 4 ล้อ
ในสมรภูมิถ้ารังปืนกล หรือ พลซุ่มยิง ของเยอรมันยิงกดดันกำลังของสหรัฐ
และหากบังเอิญมี M45 อยู่ในละแวกใกล้เคียง เพียงแค่ระบุตำบลเป้าหมายได้
M45 ก็สามารถตัดถางตั้งแต่ ต้นไม้ ซากอาคาร และกำลังพลของเยอรมัน
ในพื้นที่ตำบลเป้าหมายนั้นออกไปจากกระดานได้เลย
ตามชื่อเสียงเรียงนามของมัน เครื่องตัดชาวเยอรมัน
- บทสรุป -
แต่ถ้าหากว่า Browning M2 ก็ยังมีจุดด้อยถ้ากระทำการยิงจนลำกล้องปากกระบอกเกิดการสะสมความร้อน
เมื่อนั้น M2 จำเป็นที่จะต้องทำการเปลี่ยนลำกล้องทดแทน
ตัวปืนจะมีอาการติดขัดทันที ถ้าหากไม่ได้รับการเปลี่ยนลำกล้องอย่างถูกวิธี
และมันยังเป็นงานที่กินเวลามากพอสมควร
การติดขัดของปืน M2 ที่เกิดจากการเปลี่ยนลำกล้องที่ไม่ถูกต้อง
ก่อให้เกิดความเสียหายสาหัญแก่ทหารสหรัฐเป็นจำนวนมาก
ในสมรภูมิที่อิรัก และ อัฟกานิสถาน
ก่อนที่ทาง แพนตากอน จะจรลีเพราะเห็นถึงปัญหาให้ไฟเขียว
เร่งพัฒนาชุดเปลี่ยนลำกล้องแบบ "เปลี่ยนเร็ว" ในปี ค.ศ. 2012
ซึ่งช่วยในการเปลี่ยนลำกล้องได้โดยที่ไม่ต้องย้อนกลับมาแก้ไขระบบการยิงภายในตัวปืนซ้ำ
ในขณะที่ น้ำหนัก และ แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมากขณะทำการยิง
ทำให้พลปืนรู้สึกสั่นไปทั้งร่างและเมื่อยล้า แต่ด้วยอำนาจการทำลายล้าง
ปืน Browning M2 ยังคงครองอันดับปืนกลแถวหน้าในสมรภูมิได้อย่างไร้ข้อกังขา
และไม่มีทีท่าว่าจะมีอะไรมาทดแทน เจ้าแม่ Browning M2 กระบอกนี้ได้
ผู้เขียน : Paul R. Huard
ที่มา : https://www.itstactical.com/warcom/firearms/maternal-instinct-ma-deuce-50-caliber-machine-gun/
บทความ : Maternal Instinct: Why the Ma Deuce .50 Caliber Machine Gun Still Dominates
แปลและเรียบเรียง โดย : ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2563