NYCO รู้ลึกถึงเส้นใย เนื้อผ้าที่ได้รับความไว้วางใจให้ปกป้องกำลังพลในแดนยุโรป โดย UF PRO Valor Tactical
ไม่น่าแปลกเลยหากคุณเป็นเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าทหารหรือตำรวจ
ที่การปฎิบัติหน้าที่ จำเป็นต้องสวมเครื่องแบบ และอาจได้พบเจอกับเนื้อผ้า "NYCO"

นั้นก็เพราะเนื้อผ้าชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ในหมู่เจ้าหน้าที่ในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ด้วยคุณสมบัติเด่นๆ ที่ตอบโจทย์การใช้งานของพวกเขา

NYCO คือการนำเส้นใยที่มีข้อโดดเด่น 2 ชนิดมาทอเข้าด้วยกัน ประกอบไปด้วย

NYLON - ให้ความแข็งแรงสูง ทนทานต่อแรงฉีกขาด เสียดสี
COTTON - ให้สัมผัสที่นุ่มสบายขณะสวมใส่

จึงกลายมาเป็นเนื้อผ้าที่คุณสมบัติเด่นทั้ง 2 ด้านมาฉายแววร่วมกันอย่างลงตัว

- ต้นกำเนิดของเนื้อผ้า NYCO -

ในช่วงศตวรรษก่อนหน้า(ช่วงปี ค.ศ. 1900 - 2000) จนถึงปัจจุบัน
เนื้อผ้าไนลอน และ เนื้อผ้าคอตตอน
เป็น 2 เนื้อผ้าเด่นๆ ในวงการอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายและเนื้อผ้า

เนื้อผ้าไนลอน เป็นเส้นใยสังเคราะห์ ได้รับการทดลองใช้
และให้ผลตอบรับที่ดีในวงการการทหารมาตั้งแต่ช่วงก่อนยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
ในช่วงนั้นผู้ที่บุกเบิกและนำผ้าไนลอนขึ้นมาเป็นที่ยอมรับในวงการคือ
บริษัท Dupont Chemical

ซึ่งในช่วงยุคนั้น ผลิตภัณฑ์จากเนื้อผ้าไนลอน เข้ามาแบ่งสัดส่วนตลาด
และหัวใจของผู้ใช้ถึง 15%

และในช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี ค.ศ. 1960
เนื้อผ้าไนลอนกระโดดเข้ามาเป็นทางเลือก ครองตลาดเครื่องแต่งกายทางทหาร
และอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายในภาพรวม มากถึง 50%

ยังไม่มีบันทึกที่แน่ชัดแต่ เชื่อกันว่า การทดลองเนื้อผ้าเส้นใยผสม NYCO
นั้นเกิดขึ้นในช่วงครึ่งศตวรรษหลังสงคราม (ปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นไป)

ขณะที่เนื้อผ้า NYCO กำลังเติบโตในอุตสหกรรมเครื่องแต่งกายในสหรัฐ
และคลืบคลานเข้ามาตลาดยุโรปและเอเซียแปซิฟิก
PolyCO ยังคงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ในยุโรปยังเลือกใช้ด้วยคุณสมบัติเฉพาะ
ที่ PolyCo เท่านั้นจะให้ได้ในช่วง ปีค.ศ. 1950 - 2000

- ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ NYCO -

NYCO เป็นผ้าทนไฟหรือไม่ ?
เพราะถ้าระบุโดยตรงทางภาษาและคุณสมบัติNYCO ไม่ใช่
ผ้าทนไฟ(Fire-Resistant) หรือ ป้องกันไฟ (Fire-Retardant)
แต่ด้วยคุณสมบัติของใยผ้าทั้ง 2 คำจำกัดความของเนื้อผ้านี้จะเรียกได้ว่า"ไม่ลุกลามไฟ หรือ ไม่ไหม้ละลาย (No-Melt, No-Drip)"ความหมายง่ายๆคือ ถึงแม้ผู้ใช้งานจะเกิดอุบัติเหตุไฟคลอกร่างกายขณะสวมใส่ผ้า NYCO เนื้อผ้าจะเผาไหม้และหลุดล่อน จะไม่ละลายติดผิวหนังของผู้ใช้ป้องกันไฟลามเข้าถึงผิวหนังและร่างกายของผู้ใช้(จะมีบทความขยายเนื้อหาในส่วนของ คุณสมบัติ No-Melt, No-Drip ให้ได้อ่านกันครับ)

เนื้อผ้า 50/50 CORDURA NYCO คืออะไร ?
ความหมายของป้ายกำกับนี้ก็คือ
เนื้อผ้า NYCO (50-ไนลอน/50-คอตตอน) นั้นเอง
แต่ถูกผลิตโดยผู้ผลิตที่ชำนาญเนื้อผ้าทนทานสูง อย่าง CORDURA

เนื้อผ้า 50/50 NYCO คืออะไร ?
คำตอบคือเหมือนกันกับผ้า 50/50 CORDURA NYCO
แต่อาจถูกผลิตขึ้นโดยผู้ผลิตเจ้าอื่นๆ

เนื้อผ้าทอแบบ NYCO TWILL คืออะไร ?
คือเทคนิคการทอผ้าให้ได้คุณสมบัติการระบายอากาศที่ดี
และตาผ้าที่ทนต่อแรงฉีกขาด หรือที่เราเคยพบเจอและติดปากว่า Rip-Stop
ต้นกำเนิดในเนื้อผ้าช่วงยุคสงครามเวียดนาม

- คุณสมบัติเด่นของเนื้อผ้า NYCO -

เหมือนอย่างที่ข้างต้นได้กล่าวไว้ เนื้อผ้า NYCO
ในความแข็งแรงทนทานสูง และยังคงความนุ่มสบายเมื่อสวมใส่ และระบายอากาศได้ดี


- คุณสมบัติที่เส้นใยไนลอน ฉายแววใน NYCO -

-ความสามารถในการคงสภาพสีของเส้นใย
-ทนต่อแรงเสียดสีสูง
-ทนต่อแรงดึง ฉีก สูง
-ไม่ลุกลามไฟ หรือ ไม่ไหม้ละลาย (No-Melt, No-Drip)

- ข้อด้อยหากเป็น 100% ไนลอน -

-ไม่ซึมน้ำ เมื่อเนื้อผ้าเปียกน้ำ ผู้สวมใส่จะรู้สึกเหนียวตัวเพราะเนื้อผ้าติดผิว

ยุคก่อน ปี ค.ศ. 2000 หลายๆคนเชื่อว่า
เนื้อผ้าคอตตอน 100% ใช้ได้ดีในภูมิประเทศป่าดิบชื้น
แต่ความเป็นจริงคือ เนื้อผ้าไนลอน 100% แสดงศักยภาพได้ดีกว่า

เพราะคอตตอนนั้นเป็นเส้นใยธรรมชาติจึงดูดซึมน้ำและความชื้นไว้ในเนื้อผ้า

แต่กับไนลอนนั้นเป็นเส้นใยสังเคราะห์ น้ำและความชื้นจะเกาะบนผิวเนื้อผ้าเท่านั้น
และแห้งได้เร็วกว่าเนื้อผ้าคอตตอนเป็นเท่าตัว

แต่ยังมีข้อโต้แย้งอีกนิดหน่อยคือ เมื่อทั้ง 2 เส้นใยผ้านี้เปียกชื้น
คอตตอนยังคงให้ความรู้สึกนุ่มสบายเพราะเนื้อผ้าซับน้ำไว้
กลับกันกับ ไนลอนที่จะหนักและแนบผิวหนัง เพราะเนื้อผ้าไม่อุ้มน้ำ
ทำให้ความเปียกชื้นนั้นติดอยู่บนผิวหนังของผู้ใช้แถมเนื้อผ้ายังแนบผิวหนังอีกด้วย

ถึงอย่างนั้นในภูมิประเทศป่าดิบชื้น ผ้าไนลอนยังครองแชมป์
เพราะคุณสมบัติการระบายที่ดีกว่า

แต่ในภูมิประเทศที่ร้อน และแห้งแล้ง เช่นทะเลทราย
เนื้อผ้าคอตตอนกลับให้ความรู้สึกที่ดีกว่า
เพราะผ้าคอตตอนดูดซับความชื้นได้ดีกว่า จึงให้ความรู้สึกเย็นสบาย
และความรุนแรงของแดดและสภาพอากาศกลายมาเป็น
ปัจจัยช่วยให้เนื้อผ้าคอตตอนแห้งได้เร็วยิ่งขึ้น

- คุณสมบัติที่เส้นใยคอตตอน ฉายแววใน NYCO -

-สัมผัสที่นุ่มสบาย
-ความสามารถในการดูดซับความชื้น
-ความสามารถในการระบายอากาศ

- ข้อด้อยหากเป็น 100% คอตตอน -

-สีอาจตกได้ง่ายกว่า
-คอตตอนมีความแข็งแรงในตัวส่วนหนึ่งแต่จะด้อยลงตามระยะเวลา
(เหมือนผ้ายีนส์ที่ขาดตามเวลาและการใช้งาน)
-ซึมซับน้ำ จึงแห้งได้ช้ากว่า (เว้นแต่มีปัจจัยเสริมอย่างแดด ที่ช่วยให้ผ้าแห้งเร็วขึ้น)
-เป็นเส้นในที่มีน้ำหนักมาก

จเห็นได้จากข้อมูลข้างต้นที่ NYCO นำจุดเด่นของเนื้อผ้าทั้ง 2 ชนิดเข้ามาทอร่วมกัน
จนคงไว้แต่คุณสมบัติเด่นที่เอามาอุดข้อด้อยซึ่งกันและกัน
จึงทำให้ NYCO เข้ามาติดตลาดเป็นเนื้อผ้าที่ใช้ในงานการทหาร
และเจ้าหน้าที่ตำรวจมากขึ้น

นอกจากนี้ข้างต้นที่กล่าวถึงทิ้งไว้กับ เส้นใยผ้า PolyCo
ซึ่งจะให้ข้อมูลแถมท้ายไว้ให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงทางเลือกมากขึ้น

- เนื้อผ้า PolyCO -

ในยุคที่ NYCO กำลังเข้าครองตลาดในครึ่งศตวรรษหลังของ ศตวรรษที่ 20
หลายกองทัพในโซนยุโรปยังคงโปรดปรานเครื่องแบบจากเส้นใย
PolyCo - Polyester/Cotton

ความจริงนั้นก็คือ ค่าใช้จ่ายในการผลิต PolyCO นั้นยังถูกกว่า NYCO
แต่ยังให้คุณสมบัติที่คล้ายกัน แต่จะด้อยกว่าในเรื่องของความทนทาน
และไม่สามารถปรับปรุงให้มีคุณสมบัติไม่ลุกลามไฟ หรือ ไม่ไหม้ละลาย
(No-Melt, No-Drip) ได้ แต่วัสดุสังเคราะห์ประเภทนี้ยังมีข้อดีคือ
ติดไฟได้ยากเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว

และจุดสำคัญที่ทำให้ PolyCo ครองหัวใจเจ้าหน้าที่ในยุโรปคือ
เนื้อผ้าที่ป้องกันอุณหภูมิที่ต่ำได้ดีมาก(สภาพอากาศหนาว)

ทำให้ PolyCo ยังคงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ผลิตจากทางยุโรป UF Pro
ได้ให้ตัวเลือกไว้ในสายการผลิตเครื่องแบบสีล้วน
แก่เจ้าหน้าที่ เพื่อปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และภารกิจ


ที่มา : https://ufpro.com/blog/article/materials-breakdown-nyco?utm_medium=social&utm_source=facebook.com&utm_campaign=post&utm_term=20+2+2021

บทความ : MATERIALS BREAKDOWN | NYCO (NYLON-COTTON)

ผู้แปล เรียบเรียง : ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพัน พ.ศ. 2564

ทิ้งข้อความไว้

ความคิดเห็นทั้งหมดจะถูกกลั่นกรองก่อนที่จะเผยแพร่