KUBELWAGEN รถเคลื่อนที่เร็ว เชื้อสายเยอรมัน ผู้ขับเคลื่อนกำลังพลฝ่ายอักษะ Valor Tactical
รถ คูบบูลวาเกน โดย โฟลคสวาเกน (The Volkswagen Kubelwagen)
ด้วยบทบาทและหน้าตาของมัน จะเรียกได้ว่าเป็น
รถจี๊บ (Jeep) เชื้อสายเยอรมันอย่างนั้นเลยก็ได้

คูบบูลวาเกน ถูกสร้างและพัฒนาภายใต้ ความร่วมมือของ
วิศวกรจาก เมอซิเดส เบนซ์ (Mercedes-Benz)
และ พอร์ช (Porsche)

รถ คูบบูลวาเกน ได้พิสูจน์สมรรถนะทั้งความหนักแน่น ทนทาน
และได้รับความไว้ใจจากกองกำลังอักษะ ผ่านศึกที่แนวหน้ามานับไม่ถ้วน

เริ่มต้นจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะที่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)
ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาได้ป่าวประกาศนโยบายที่จะให้ชาติเยอรมัน
เป็น ชาติแห่งเครื่องจักรกล (Motorized Nation) ในปี ค.ศ. 1933

นั่นถือเป็นจุดกำเนิดของ โฟลคสวาเกน เพื่อประชาชนในเยอรมัน
และออกคำสั่งให้พัฒนารุ่นสำหรับใช้งานการทหารอีกด้วย
ซึ่งนั้นก็เพราะความต้องการรถใช้งานขนาดเล็ก และ เร็ว นอกเหนือจากรถถัง
ในแง่การใช้งาน และ บทบาท เหมือนรถจี๊บ (Jeep) ของฝั่งสหรัฐอเมริกา

โดยฮิตเลอร์ สนใจโครงการ พัฒนาเครื่องยนต์ Ferdinand Porsche’s 25 HP
แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ที่กำลังพัฒนาในขณะนั้น
โดยให้ตัวรถใช้เครื่องยนต์สเปคนี้ บวกกับตัวถัง 4 ที่นั่ง
พร้อมความจุเชื่้อเพลิงในปริมาณที่มาก เพื่อการเดินทางระยะไกล

พอร์ช ใช้เวลากว่า 2 ปี จนกว่าจะมาถึง แบบสุดท้ายของรถ คูลบูลวาเกน
และพร้อมที่จะเปิดสายการผลิต ภายใต้การก่อตั้ง บริษัทใหม่ขึ้น ชื่อว่า
"Gesellschaft zur Vorbereitung des Volkswagens"
หรือ "สมาคมผู้ผลิตและจัดทำรถยนต์ของชนชาวเยอรมัน"
และต่อมาถูกย่อให้สั้นลง เหลือเพียง "Volkswagens"
หรือ "รถยนต์ของชนชาวเยอรมัน"

และหลังจากนั้นอีกไม่นาน มกราคม ปี ค.ศ.1938
ฮิตเลอร์ ก็ได้รับตำแหน่งขึ้นเป็น ท่านผู้นำ (Führer)
ทีม SS ของเขาหลังจากได้ทดสอบ ทดลองต้นแบบ คูลบูลวาแกน
ก็ได้ยื่นเรื่องให้บริษัท จัดทำ รถ "KDF Volkswagen"
ที่ซึ่งเป็นรถหน้าตาภายนอกเหมือน รถเต่า เพื่อการใช้งานสำหรับนายทหาร
และเครื่องยนต์ที่หนักแน่น แข็งแรง เหมือน คูลบูลวาแกน

บริษัท รับเรื่องและตอบสนองอย่างรวดเร็ว
จนได้ตัวต้นแบบแรก ใน พฤศจิกายน ปีเดียวกัน

เมื่อริเริ่มอะไรใหม่ เส้นทางก็มักจะไม่ค่อยราบรื่นนัก
รถทั้ง 2 รุ่น คูบบูลวาเกน และ KDF
ที่ใช้พื้นฐานเครื่องยนต์เดียวกัน เกิดปัญหาขึ้นเมื่อได้ทดลองใช้งานจริง

เครื่องยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนตัวที่ความเร็วต่ำได้เนื่องจากชุดเกียร์
ระยะห่างตัวถึงรถจากพื้นที่ต่ำ และ โช๊ครับแรงกระแทก ที่ไม่ค่อยตอบโจทย์เท่าไหร่นัก
ปัญหาทั้งหมดถูกแก้ไขโดยบริษัท ในเวลาไม่นาน
เกิดเป็น คูลบูลวาแกน รุ่น Type 82
ผ่านการประเมินและเข้าสู่สายการผลิตในปี ค.ศ 1940
 
รถ คูลบูลวาแกน ได้ฉายแสงในสมรภูมิ
ด้วยอัตราประหยัดเชื้อเพลิงที่เป็นเลิศ
เดินทางได้ระยะไกล บรรทุกทหารได้ถึง 4 นายพร้อมอุปกรณ์ครบมือ

เพียงแต่ว่าเพื่อรักษาน้ำหนัก และอัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิงเมื่อบรรทุก
เป็นผลให้ คูบบูลวาเกน และ KDF ไม่ได้มีการเสริมเกราะไว้
และทำให้ รถทั้ง 2 รุ่น ถูกใช้งานในการส่งกำลังบำรุง และ การสนับสนุน
หรือใช้ในงาน สอดแนมระยะไกล ด้วยความเร็วของมัน

เมื่อเปรียบเทียบแล้ว
คูบบูลวาเกน มีกำลังขับอยู่ที่ 25 แรงม้า
ในขณะเดียวกัน รถจี๊บ มีกำลังขับที่ 60 แรงม้า
แต่ด้วย เครื่องยนต์แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
จึงทำให้รถ คูบบูลวาเกน ทนทานกว่า มีอัตรการเสียหาย
และความถี่ในการซ่อมบำรุง น้อยกว่ามากๆ
และด้วยช่วงล้อด้านกว้างที่กว้างกว่า
คูบูลวาเกน จึงบรรทุกได้มากกว่ารถจี๊บอีกด้วย

นอกจาก คูบูลวาเกน แล้วยังมีรุ่นพัฒนาต่อยอด
เป็นรุ่นหลักทางการทหาร อีก 2 รุ่น คือ
Type 87 "KDF" Kommandeurwagen เป็นรุ่นสำหรับนายทหาร
และ Type 166 Schwimmwagen เป็นรุ่นสะเทินน้ำสะเทินบก

พื้นฐานจากรถ คูบบูลวาเกนเพียงคันเดียว
ได้รับการพัฒนาและปรับแต่งตามการใช้งาน ออกมาเป็นรุ่นย่อยๆ
อีกถึง 36 รุ่น รวมยอดผลิตทั้งหมดประมาณ 50,500 คัน
บรรจุเข้าร่วมสมรภูมิทั่วโลก ในฝ่ายอักษะ

เป็นรถที่ใช้งานได้ดีถึงขนาด เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรจับกุม
หรือควบคุมรถ คูบบูลวาเกน นี้ได้ และเป็นจำนวนมากพอสมควร
ก็ได้มีการจัดทำคู่มือซ่อมบำรุงเป็นภาษาอังกฤษขึ้นมาเลยทีเดียว
ทหารอังกฤษขณะที่กำลังตรวจสอบรถ Type 87 ใน ซิซีลี, อิตาลี
รถที่เหลือรอดจากยุคสงครามเกือบ 1,000 คัน
ถูกกระจายไปอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ และมือของนักสะสม
และโชคยังดีที่ตัวรถ คูบบูลวาเกน ใช้อะไหล่ร่วมกับ รถเต่า
ทำให้ผู้ถือครองสามารถดูแล ซ่อมบำรุงรักษา ไปได้อีกกว่าชั่วอายุคน

ในขณะที่ผู้แปล กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่นี้ ก็อยากจะหยิบมาบอกว่า
หากผู้ติดตาม Valor Tactical อยากจะเป็นเจ้าของ คูบบูลวาเกน
ก็ยังสามารถเป็นได้ มีซื้อขายกันในกลุ่มรถคลาสิคในยุโรป
แต่ราคาค่าเสียหายจะเท่าไหร่นั้น คงต้องไปค้นหาดูกันเองแล้วละครับ

ทิ้งข้อความไว้

ความคิดเห็นทั้งหมดจะถูกกลั่นกรองก่อนที่จะเผยแพร่