กว่า 300 ปี ของการพัฒนาและบทพิสูจน์ของสายห้ามเลือด หรือที่เรียกว่า " Tourniquet " Valor Tactical
สายรัดห้ามเลือด หรือ Tourniquet เป็นอุปกรณ์ชิ้นนึงที่ถูกเรียกว่า มีทั้งข้อดี และ ข้อพิพาท กันมาอย่างยาวนาน ในหัวข้อที่ว่า “ เป็นอุปกรณ์ที่ดีในการช่วยชีวิต แต่ก็อาจจะทำให้เสียอวัยวะ” ซึ่งเรื่องนี้ก็มีข้อพิสูจน์ในปัจจุบันแล้วว่า หากใช้อย่างถูกต้อง จะเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่ดีมาก #และไม่ทำให้เสียอวัยวะ แต่นั้นไม่ใช่เรื่องที่เราจะพูดถึงวันนี้ ซึ่ง Tourniquet นั้นถูกใช้งานแพร่หลายมากขึ้นจริงๆ ตั้งแต่หลักจากสงครามอัฟกานิสถานและสงครามอิรัก เพราะสามารถชีวิตทหารได้หลายนายจากการซุ่มโจมตี และจากระเบิด IED ได้อย่างมาก
.
ย้อนไปก่อนที่จะเริ่มมีการใช้สายรัดห้ามเลือด ในอดีตเราใช้ผ้าพันแผลและสมุนไพร ในการห้ามเลือด ซึ่งเป็นวิธีที่เราอาจเคยเห็นในภาพยนตร์ #อันนี้ที่จริงแล้วสายรัดห้ามเลือดมีแนวคิดมาอย่างยาวนั้นตั้งแต่ช่วงยุคกลาง แต่ถูกใช้ทางการแพทย์ โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน อย่างในปี ค.ศ. 1517 ศัลยแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า Hans Von Gersdoff แห่ง Strasburg ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการผ่าตัดเล่มหนึ่งชื่อ Feldtbuch der Wundtartzney #โดยในหนังสือเล่มนั้นได้มีการพูดถึงและแนะนำให้ใช้สายห้ามเลือด (ใครมีเล่มจริงหรือ มี Copy ที่ขายมาแชร์รูปให้ดูกันครับ)
.
#แต่หากนับเฉพาะใช้ทางทหาร จะมีประวัติศาสตร์บันทึกไว้ในช่วงปี ค.ศ. 1674 โดย ศัลยแพทย์ของกองทัพฝรั่งเศสนามว่า Etienne J. Morel ในนำผ้าพันแผล และหรือเชือกแล้วนำไม้มาสอด แล้วบิดเพื่อห้ามเลือดผู้บาดเจ็บจนกระทั่งเลือดหยุด และก็ได้ใช้กันมา #แต่ก็ยังใช้แค่เฉพาะในหน่วยแพทย์ของทหารเท่านั้น ยังไม่ได้เป็นอุปกรณ์ที่ทุกคนใช้ได้
.
#จุดปฎิวัติของสายรัดห้ามเลือด นั้นเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1718 โดย Jean Louis Petit ศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศสที่เริ่มนำกลไก
และระบบเกลียวจากน๊อต หรือ สกรู มาประยุกต์ใช้บนสายห้ามเลือดจนมีชื่อว่า Petit Tourniquet ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์ จนกระทั่ง บริษัท S.Mar & Son, จำกัด บริษัทที่ผลิตอุปกรณ์การแพทย์นำไปผลิตต่อในช่วงปี ค.ศ. 1860 – 1979 โดยปรับวัสดุจากหนังเป็นผ้า ซึ่งแน่นอนว่านั้นถูกใช้ทางการแพทย์เป็นหลักในรูปแบบที่ได้มีการผลิต

.
และเมื่อย้อนกลับมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เราก็ได้เห็นสายรัดห้ามเลือด Torniquet มาใช้กันในสนามรบอีกเช่นเคย แต่กลับเป็นในรูปแบบที่ไม่มีกลไกที่ใช้น็อตแล้ว ซึ่งคาดเดาได้ว่ามีปัญหาในเรื่องของการพกพาแน่นอนเพราะจะสั่งเกตุเห็นได้ว่า เป็นลักษณะสายผ้าขนาดประมาณ 1 นิ้ว กว่า ๆ พร้อมทั้ง ใช้ไม้ในการหมุนบิด ซึ่งด้วยความที่ลดส่วนที่ยื่นออกไป นั้นทำให้การพกพาสะดวก ลดวัสดุที่เป็นโลหะช่วยให้น้ำหนักเบาอีกด้วย
1 ในภาพที่เราลงไว้นั้นเป็นบันทึกทึกที่ว่า “ สหภาพโซเวียต เคยมีแคมเปญ ให้บริษัทต่างๆ นั้นออกแบบ สายรัดห้ามเลือดที่สำหรับใช้ทางทหาร และถูกใช้ในช่วงปี ค.ศ.1941 – 1945 และถูกปลดประจำการไปใช้สำหรับงานกู้ภัย และ ทางการแพทย์
.
และก็ยังมาต่อใน ยุคเวียดนาม ก็ได้เห็นสายรัดห้ามเลือดที่เป็น Standard Issue มาในรูปแบบสายผ้า webbing ฯลฯ มากมาย
จนได้มีการพัฒนาเรื่อยๆ
จนมาถึงในยุคนี้ให้มีประสิทธิภาพ การใช้งาน ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น CAT Tourniquet, SOFT T ,XT Tourniquet , TX ฯลฯ มากมาย
.
.
นับได้ว่า Tourniquet หรือสายรัดห้ามเลือด นั้นได้พิสูจน์ตัวเองผ่านยุคต่างๆมากมาย ในเรื่องของการช่วยชีวิตที่ในสนามรบ ในอุบัติเหตุ มีข้อมูล และ การวิจัยการอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญมีการพัฒนามาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้มากขึ้น แต่สิ่งที่ยังคงเหมือนเดิมคือ #รักษาชีวิตและยื้อชีวิต ของคนเหมือนเดิม
.
หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใด ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับและพูดคุยกันแชร์กันครับ ข้อมูลมีเยอะมากมายย่อยออกมาให้อ่านกันได้ง่ายๆยากมาก ขอบคุณที่ติดตามครับ
.
สำหรับทาง Valor Tactical เองเป็นตัวแทนจัดจำหน่าย อุปกรณ์ปฐมพยาบาลทั้งสอง แบรนด์ที่ได้มาตรฐาน และได้รับความนิยมในกองทัพทั่วโลกทั้ง 2 แบรนด์ได้แก่ 

Tacticam Medical Solution  และ และ North American Rescue สามารถดูสินค้าทั้งหมด ด้านล่างใต้ Credit ได้เลย
.
แปลโดย ธีธัช รินชัย
เรียบเรียง ฐากูร อารีย์
ข้อมูลอ้างอิง
.
Tourniquet Use on the Battlefield
Guarantor: MAJ Robert L. Mabry,
MC USA Contributor: MAJ Robert L. Mabry, MC USA
.
A brief history of the tourniquet
David R. Welling, MD,a Patricia L. McKay, MD,a Todd E. Rasmussen, MD,a,b and Norman M. Rich, MD,a Bethesda, Md; and Fort Sam Houston, Tex

.

-------------- ดูสินค้าจาก North American Rescue ทั้งหมดได้ด้านล่าง -------------

---------- ดูสินค้าจาก Tactical Medical Solution ทั้งหมดได้ที่ด้านล่าง -----------

ทิ้งข้อความไว้

ความคิดเห็นทั้งหมดจะถูกกลั่นกรองก่อนที่จะเผยแพร่

Blog posts

View all