รู้จักกับ " The Quiet Eye " ความสามารถพิเศษที่เกิดขึ้นได้เฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น Valor Tactical
Why athletes need a 'quiet eye' - BBC Future

ผู้อ่านทุกท่านเคยสังเกตุไหมครับ เวลาเราได้ดูคลิปวีดีโอต่างๆ
ของอดีตเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ หรือแม้แต่นักกีฬาที่มีชื่อเสียง
ไม่ว่าจะเป็นวงการยิงปืน หรือแม้แต่วงการกีฬาอื่นๆผ่านทีวี
หรือการถ่ายทอดสด เราจะเห็นได้ว่าพวกเขามีความสามารถพิเศษบางอย่าง
ในการกระทำสิ่งนั้นๆได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว

เป็นสิ่งที่เราไม่จำเป็นต้องเก่งในเรื่องนั้นๆเลย แต่ก็รู้สึกได้ทันที
เมื่อดูพวกเขา ทำให้เรารู้สึกว่าพวกเขาเป็นมืออาชีพ
มีความสามารถที่เก่งกว่าและเหนือกว่าคนทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด

เพราะอะไรกัน ? เขาเก่งเพราะว่าเขามีพรสวรรค์ เกิดมาเก่งเลยหรือไม่ ?
หรือเพราะว่าเขาใช้อุปกรณ์ที่เจ๋งกว่า ดีที่สุดและแพงที่สุด ?
คำตอบคือสิ่งที่ท่านกำลังจะได้อ่านต่อจากนี้ต่างหากครับ ...



ศาสตราจารย์  Joan Vickers ประจำมหาวิทยาลัย Calgary University
ได้นิยามความหมายของคำว่า " The Quiet Eye " เอาไว้ว่า

มันคือความสามารถในการจับจ้องวัตถุหรือสิ่งที่ต้องการ
ได้โดยมีระยะความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 3 องศา
ภายในเวลา 100 ไมโครวินาที ! และยิ่งโฟกัสได้นาน
และนิ่งมากเท่าไหร่ นั่นคือศักยภาพและความรวดเร็ว
ในการตัดสินใจหรือประเมินสถานการณ์ได้ดีกว่าคนอื่นมากขึ้นเท่านั้น

โดยในเรื่องนี้ได้รับการทดลองและวิจัยผ่านวงการกีฬามากมาย
เป็นเบื้องหลังความสำเร็จของนักกีฬาระดับโลกในเกือบทุกแขนง

โดยที่หนึ่งในการทดลองที่ชัดเจนที่สุด นั่นคือการนำเทคโนโลยี
Eye-Tracking เข้ามาใช้กับ Cristiano Ronaldo เพื่อนำมาถอดรหัส
ความสามารถของเขาว่า อะไรที่ทำให้เขาเป็นนักฟุตบอลที่เหนือกว่าคนอื่นๆ



สิ่งที่ได้รับจากการทดลอง ทำให้เราเห็นว่านักกีฬา
ที่มีความเชี่ยวชาญนั้น จะมีความสามารถในการจับจ้อง
และโฟกัสวัตถุที่ชัดเจนและนานกว่าคนทั่วไป
 
ซึ่งทำให้เขาได้รับข้อมูลเฉพาะเจาะจงที่มากกว่า
ทำให้ตัดสินใจได้ดีกว่าคนทั่วไปที่มีการโฟกัสหลายจุดมากเกินไป
จนทำให้มีข้อมูลเข้ามาเยอะโดยไม่จำเป็น ทำให้การตัดสินใจช้ากว่า
และทำให้การโต้ตอบทำได้ช้ากว่าผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถนี้นั่นเอง 

ถ้าเปรียบง่ายๆ ลองย้อนกลับไปเวลาเราฝึกกีฬาอะไรซักอย่าง
เช่นฟุตบอล , แบตมินตัน , ปิงปอง , เทนนิส , บาสเก็ตบอล
เคยได้ยินประโยคที่ว่า " ตาจ้องไปที่ลูกบอลตลอดเวลา ! "
อะไรพวกนี้ไหม นั่นแหละครับ หลักการคล้ายๆกัน

มันคือการสั่งให้สมองของเราโฟกัสไปที่อย่างใดอย่างหนึ่ง
ยิ่งทำได้ดีเท่าไหร่ การตอบสนองเราจะยิ่งเร็วขึ้น แม่นยำขึ้น
นั่นแหละคือตัวอย่างง่ายๆของการมี The Quiet Eye ครับ

Chicago goes into lockdown as bridges raised and freeway exits closed to  restrict access to downtown | Daily Mail Online

เอาละ ... คราวนี้มันเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่
และเรื่องของการฝึกยุทธวิธีอย่างไร ?

มันเกี่ยวข้องโดยตรงเลยครับ มีผลโดยตรง
กับเจ้าหน้าที่ในทุกส่วนของการปฏิบัติงานเลย
ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตุพฤติกรรมผู้ต้องสงสัย
, การประเมินสถานการณ์ รวมไปถึงขั้นตอน
การชักปืนออกจากซอง ไปจนถึงการเล็งก่อนทำการยิง

ความสามารถนี้คือสิ่งที่พัฒนามาจากประสบการณ์
, การฝึกฝนอย่างหนัก ซึ่งทำให้คนเหล่านี้
มีความแตกต่างและเหนือชั้นกว่าคนทั่วไป

เป็นกำแพงที่กั้นระหว่างเจ้าหน้าที่ชำนาญการพิเศษ
กับเจ้าหน้าที่ทั่วไป เป็นเส้นที่แบ่งความสามารถ
ของคนที่เก่งในเรื่องนั้นๆ และเรื่องนี้เคยถูกนำมาทดลอง
และวิจัยในเรื่องของยุทธวิธีโดยเฉพาะมาแล้วครับ

และผู้ทำการทดลองที่ว่า นั่นคือเจ้าหน้าที่
จากหน่วย S.W.A.T ที่สหรัฐอเมริกาครับ

UTM LEVEL-1 Force on Force 4-20-2019

โดยในการทดลองนั้น ได้นำเจ้าหน้าที่
จากหน่วย S.W.A.T ที่อยู่ในชุดตอบโต้
สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีประสบการณ์ทั้งหมด 11 คน

มาจับคู่กับนักเรียนตำรวจจบใหม่จากสถาบัน
ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทั้งหมด 13 คน

เข้ามาทำการทดลองในโจทย์เดียวกัน
เพื่อหาข้อสรุป โดยตั้งโจทย์เดียวกันเอาไว้ว่า

มีผู้ต้องสงสัยเดินเข้ามาผ่านประตูเลื่อนด้านข้าง
เข้ามาหาเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่นั่งอยู่ห่างจาก
เจ้าหน้าที่ ( ตัวผู้ฝึก ) ประมาณ 7 เมตร
ซึ่งทำการปฏิบัติหน้าที่ยืนเฝ้าอยู่ในตัวอาคาร

ชายผู้ต้องสงสัยได้เข้ามาสอบถาม และโวยวาย
ในเรื่องที่ตัวเองถูกจับอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้ตัวเขา
ต้องถูกควบคุมตัวในห้องขังถึง 3 วันโดยที่ไม่ได้ทำอะไรผิด
และเขาต้องการพบกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบให้เร็วที่สุด

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตอบรับแบบ
ไม่ได้ให้ความร่วมมือเท่าไหร่นักกับผู้ต้องสงสัย
ซึ่งนั่นทำให้ผู้ต้องสงสัยเริ่มแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น

ใน 7 วินาทีสุดท้ายของการฝึก ผู้ต้องสงสัยทำการทุบโต๊ะ
และต่อว่าเจ้าหน้าที่อย่างรุนแรง และเอื้อมมือ
เข้าไปหยิบของข้างในเสื้อคลุมออกมา
Assailant

โดยในช่วงสุดท้าย จะมีสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั้งหมด 2 แบบ
นั่นคือ A : ชายคนนั้นเอื้อมมือเข้าไปเพื่อหยิบอาวุธปืนและก่อเหตุ
กับ B : ชายคนนั้นเอื้อมมือเข้าไปเพื่อหยิบโทรศัพท์มือถือออกมา

โดยการทดลองนี้จะทำทั้งหมด 7 รอบ / คน ซึ่งประกอบไปด้วย
การกระทำแบบ A ทั้งหมด 5 ครั้ง และแบบ B ทั้งหมด 2 ครั้ง

โดยที่ในการปฏิบัติทุกรอบ จะถูกบันทึกแบบละเอียดไม่ว่าจะเป็น
วีดีโอการปฏิบัติ , เซ็นเซอร์ตรวจจับดวงตา เพื่อบันทึกสิ่งที่เจ้าหน้าที่มอง
และโฟกัสในแต่ละวินาทีที่เกิดเหตุการณ์ และการปฏิบัติรวมถึงเวลา
ที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการเผชิญเหตุและแก้ไขปัญหาจนจบการฝึก

โดยที่ทางผู้ฝึกได้เลือกใช้กระสุนสี ร่วมกับการฝึกครั้งนี้ 
เพื่อใช้ในการบันทึกผลการฝึกเพื่อพัฒนาขีดความสามารถต่อไป
หน่วยงานที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อขอรายละเอียดกระสุนสี UTM
ได้ที่ Valor Tactical ทั้งช่องทาง Facebook หรือใน website ครับ



Shoot or No Shoot?

เอาละ ... ผมเชื่อว่าทุกคนคงพอเดาคำตอบได้ .. 
ผลสรุปออกมานั่นคือเจ้าหน้าที่ชุดตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
ที่มีประสบการณ์ ได้ผลคะแนนรวมที่ดีกว่านักเรียนตำรวจจบใหม่

แต่ข้อมูลที่ได้รับก็ถือว่าน่าสนใจมากๆ ซึ่งประกอบไปด้วย

Shoot No Shoot Accuracy
( ตามกราฟ : สีฟ้า = เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ , สีแดง = นักเรียนจบใหม่ )

1.เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ สามารถยิงผู้ต้องสงสัยถือปืน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยับยั้งเหตุได้มากถึง 75%

2.นักเรียนตำรวจจบใหม่ สามารถยิงผู้ต้องสงสัยถือปืน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยับยั้งเหตุได้ที่ 54%

3.เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ พลาดยิงผู้ต้องสงสัย
ที่หยิบโทรศัพท์มือถือออกมา อยู่ที่ 18% 

4.นักเรียนตำรวจจบใหม่ พลาดยิงผู้ต้องสงสัย
ที่หยิบโทรศัพท์มือถือออกมา อยู่ที่ 64% 

นอกจากนี้ก็ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีก นั่นก็คือ
ตำแหน่งที่ยิง และเวลาในการตอบโต้ของเจ้าหน้าที่

Hit Locations
( ตามกราฟ : สีฟ้า = เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ , สีแดง = นักเรียนจบใหม่ )

1.เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ สามารถทำการยิงหยุดยั้ง
ผู้ต้องสงสัยได้ก่อน จนสามารถรอดชีวิตได้ 
คิดเป็นอัตราส่วนที่ 93% เร็วกว่าผู้ต้องสงสัยใน
ระยะเวลา 179.05 ไมโครวินาที

2. นักเรียนตำรวจจบใหม่ สามารถทำการยิงหยุดยั้ง
ผู้ต้องสงสัยได้ก่อน จนสามารถรอดชีวิตได้ 
คิดเป็นอัตราส่วนที่ 42% เร็วกว่าผู้ต้องสงสัยใน
ระยะเวลาเพียง 13.26 ไมโครวินาที

( ซึ่งถ้าเป็นเหตุการณ์จริง อาจจะจบลงที่
การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตทั้งคู่ ว่ากันตรงๆ
ก็คือวันนั้นคือวันซวยของเด็กจบใหม่จริงๆ ) 

Ops United - Tactical Solutions from Professional Warriors

โดยตำแหน่งที่เจ้าหน้าที่
ทำการยิงไปที่ผู้ต้องสงสัย ประกอบไปด้วย

บริเวณศรีษะ 
- เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ = 0%
- นักเรียนตำรวจจบใหม่ = 9%

บริเวณแขน
- เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ = 31%
- นักเรียนตำรวจจบใหม่ = 35%

บริเวณลำตัว
- เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ = 62%
- นักเรียนตำรวจจบใหม่ = 48%

บริเวณขา
- เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ = 7%
- นักเรียนตำรวจจบใหม่ = 6%

QSI Training » Force on Force Scenario Based Training

เราจะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ได้รับจากการฝึกครั้งนี้
มีความละเอียดสูงมาก ทำให้เห็นความแตกต่าง
ระหว่างเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์
กับเด็กจบใหม่ได้เป็นอย่างดี

โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้สายตา
ในการ " โฟกัส " ที่เป้าหมาย
ของเจ้าหน้าที่ 2 กลุ่ม พวกเขามีความแตกต่างกัน
อย่างเห็นได้ชัดมากๆในการปฏิบัติจริงครับ

และเมื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ ทำให้เห็นว่า
ตัวเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์จะทำการมองโฟกัส
ไปยังตำแหน่งที่ผู้ต้องสงสัยมีแนวโน้มจะพกพาอาวุธ
อยู่ตลอดเวลา ซึ่งสายตาของเขาจับจ้องอยู่ที่ตำแหน่งนั้น
ได้ชัดเจนและยาวนานมากๆ เมื่อเขารู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น

ผลการทดลองสามารถดูได้คร่าวๆในคลิปวีดีโอด้านล่างครับ
หรือสามารถอ่านบทวิจัยทั้งเล่มได้ที่ Link ที่มาข้อมูล
ด้านล่างสุดของบทความได้เลยครับ

( ในวีดีโอบันทึกผล วงกลมสีแดงคือบันทึกของ
จุดที่กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ทำการมองโฟกัส
ในขณะที่วงกลมสีม่วง คือบันทึกของกลุ่มนักเรียนจบใหม่ครับ ) 

( วีดีโอบันทึกผลการฝึกอยู่ในช่วง 1:35 เป็นต้นไปครับ )



ซึ่งผลการปฏิบัติช่างแตกต่างกับกลุ่มนักเรียนจบใหม่
( ในคลิปคือวงกลมสีม่วง )

ที่มักจะมองไปยังตัวสถานที่โดยรอบ
หรือสิ่งต่างๆรอบตัวมากกว่าตัวผู้ต้องสงสัย
และในบางครั้งเรียกได้ว่าไม่ได้หันไปโฟกัส
ที่ตัวผู้ต้องสงสัยเลยด้วยซ้ำแม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่
พวกเขารู้สึกถึงความผิดปกติ

ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็นข้อแตกต่างที่ชัดเจนมากๆ
และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์
จะสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วกว่ามากๆ
เพราะมีการโฟกัสและเก็บข้อมูล รวมถึงการตัดสินใจล่วงหน้า
ที่ทำได้ดีกว่าและรวดเร็วกว่ากลุ่มนักเรียนจบใหม่แล้วนั่นเอง




สิ่งที่ตามมา นั่นคือความเร็วในการโต้ตอบเหตุการณ์
ในกลุ่มของนักเรียนจบใหม่ จะทำการชักปืนออกมาได้ช้ากว่า
เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์อย่างชัดเจน ซึ่งมีผลต่อเนื่อง
ไปจนถึงการตัดสินใจก่อนและหลังทำการยิงเลยด้วยซ้ำ

พอนำมาเจาะลึกมากยิ่งขึ้น ช่วงเสี้ยววินาทีก่อนทำการยิง
ฝั่งของเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ สายตาพวกเขาจะโฟกัสอยู่ที่
อาวุธปืนและตัวของผู้ต้องสงสัยมากกว่า และจนเมื่อทำการยิง
โฟกัสของตัวเจ้าหน้าที่ก็ยังคงอยู่ที่ปืนและตัวของผู้ต้องสงสัย
จนกระทั่งเข้าไปทำการปลดอาวุธและเคลียร์สถานการณ์จนจบ

ในขณะที่่ฝั่งของนักเรียนจบใหม่ จะพบว่าช่วงเวลานั้น
สายตาของพวกเขาจะส่ายไปมา ไม่ชัดเจน มีการจับโฟกัส
กลับมาที่ปืนของผู้ฝึกเองขณะเผชิญเหตุ มากถึง 84% 
และเมื่อทำการยิงไปแล้ว พบว่ามากกว่า 50% ผู้ฝึก
เลือกที่จะละสายตาออกจากเป้าหมายทันทีหลังทำการยิง
โดยไม่ทำการตรวจสอบเป้าหมายหลังทำการยิง

Why Use of Force is Important in Police SWAT Training - VirTra VirTra

ดูเหมือนจะไม่ใช่วันที่ดีของเด็กนักเรียนจบใหม่เลยใช่ไหม ?

อาจจะดูเป็นอย่างนั้นก็ว่าได้ เพราะตามสถิติได้แจ้งเอาไว้ว่า
กลุ่มของนักเรียนจบใหม่นั้น ได้เผลอทำการยิงผู้ต้องสงสัยผิด
มากถึง 64% ซึ่งถ้าเป็นเหตุการณ์จริง พวกเขาจะจบลง
ที่การถูกฟ้องร้องและถูกดำเนินคดีอย่างหนักแทน 

นอกจากนี้พวกเขายังมีสถิติในการถูกผู้ต้องสงสัยยิงก่อน
มากถึง 58% นั่นหมายความว่าในชีวิตจริง มากกว่าครึ่งของคนกลุ่มนี้
เมื่อเจอเหตุการณ์นี้จะจบลงที่การสูญเสียในทันที 

แต่เชื่อหรือไม่ว่า นี่ยังไม่ใช่จุดที่ฟังแล้วดูน่าขนลุกที่สุดนะครับ !

Take Your Firearms Training Seriously - Training & Careers - POLICE Magazine

หลายๆคนพอมาถึงจุดนี้อาจจะยังมีความคิดแว้ปๆในหัวว่า
" แหม่ๆ ก็คนกลุ่มนี้เพิ่งจบมาใหม่ๆเลย ความสามารถในการ
ใช้อาวุธน่าจะไม่ได้ใกล้เคียงกับเจ้าหน้าที่อีกกลุ่มเลยด้วยซ้ำ "

แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้นครับ ... ในกลุ่มของนักเรียนจบใหม่ที่ว่า
คือกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการฝึกฝนในเรื่องของการใช้อาวุธ
และการฝึกยุทธวิธีในหัวข้อพิเศษ เหนือกว่ามาตรฐานของ
ทหารประจำการในหน่วยปกติภายในกองทัพสหรัฐซะอีก !!

" มันจะเป็นไปได้อย่างไรที่ตำรวจกลุ่มนี้จะฝึกหนักกว่าทหาร ! "

เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงครับ เพราะตามมาตรฐานของตำรวจสหรัฐ
เจ้าหน้าที่ทุกคนจะได้รับการฝึกในหัวข้อการเผชิญเหตุที่แตกต่าง
จากทหารประจำการอย่างชัดเจน อันเนื่องมาจากภารกิจ
และลักษณะการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

Home on the Range

ถ้ากับเจ้าหน้าที่ทหารประจำการ เขาจะฝึกในการใช้อาวุธ
เพื่อรบตามแบบ ในภารกิจที่พวกเขาได้รับ ขั้นตอนการใช้อาวุธ
และยุทธวิธีถูกออกแบบมากับการรบเต็มรูปแบบ 

ในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะถูกฝึกในสถานการณ์จำลอง
และการรับมือที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์แบบ " ยิง หรือไม่ยิง ? " 
มากกว่าเจ้าหน้าที่ทหารครับ พวกเขาอยู่ในเมืองที่เขาอาศัยอยู่

การตัดสินใจยิงหรือไม่ยิง ฝั่งของตำรวจจะมีความตึงเครียด
และผลที่ตามมามากกว่าฝั่งของทหารประจำการอยู่มากมายทีเดียว

ซึ่งนั่นช่วยยืนยันได้อย่างหนึ่งว่า .. ไม่ได้มีเพียงความสามารถ
ในการยิงปืนให้แม่นเท่านั้นถึงจะแก้ไขได้ทุกปัญหา

และผลการทดลองของกลุ่มเด็กนักเรียนจบใหม่ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า
ความสามารถในการจับจ้องและโฟกัสที่เป้าหมายอย่างแม่นยำ
รวมไปถึงความสามารถในการประเมินสถานการณ์ คือสิ่งที่จะทำให้
พวกเขาสามารถเอาตัวรอดจากการปะทะได้อย่างปลอดภัยในชีวิตจริง

Force on Force Training – Total Training Solutions Group

เพราะในการเผชิญเหตุ มีปัจจัยมากมายที่เหนือกว่านั้น
และเรื่องของ " The Quiet Eye " ก็คือหนึ่งในปัจจัยหลัก
ที่เจ้าหน้าที่ควรให้ความสำคัญและฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ
เพื่อสร้างความได้เปรียบในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปครับ

และสิ่งที่ช่วยพัฒนาได้ดีที่สุด คือการฝึกฝน
แบบ Force on Force Training ที่จะทำให้การฝึก
มีความหลากหลายและสมจริงที่สุด ช่วยให้เจ้าหน้าที่
สามารถพัฒนาในเรื่องของการประเมินสถานการณ์
และการตัดสินใจขณะเผชิญเหตุ 

และอุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจรวมไปถึง
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษทั้งหมดเลือกใช้
นั่นคือกระสุนสี UTM ครับ



UTM เป็นอุปกรณ์ที่สามารถปรับเปลี่ยน
ให้อาวุธปืนหลักของท่าน กลายมาเป็น
อุปกรณ์ฝึกยิงกระสุนสี ช่วยสร้างความสมจริง
และความหลากหลายในการฝึกทางยุทธวิธี

สามารถใช้ในการบันทึกผล และสรุปผลการฝึก
เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรต่อไป
ซึ่งจากบทวิจัยที่ทุกท่านได้เห็นในบทความนี้
จะเห็นได้ว่ามีประโยชน์ในการเก็บข้อมูล
และสรุปผลการฝึกได้ดีแค่ไหน

หน่วยงานที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามรายละเอียด
ได้ที่ช่องทางเพจ Valor Tactical หรือติดต่อมาได้ที่
เบอร์ 062-556-2226 ( คุณไวกิ้ง ) ครับ


ที่มา : Neuroscience, Expert Gunfighters, and the Quiet Eye 
ที่มา : Quiet Eye – What is it and where does it come from?? 
ที่มา ( วิจัย )  : (PDF) Performing under pressure: Gaze control, decision making and shooting performance of elite and rookie police officers (researchgate.net)
ที่มา : Using Quiet Eye Training in Law Enforcement to Improve Performance (lexipol.com)

ผู้เขียน / เรียบเรียง : Ronnakrit " Viking " Sripumma 
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

 

Leave a comment

All comments are moderated before being published

Blog posts

View all
Review - EOTech HWS XPS2

Review - EOTech HWS XPS2

admin admin