ทำความรู้จักกับ M-60 หรือ "เจ้าหมู" หนึ่งในปืนกลที่ดีที่สุดของสหรัฐตั้งแต่ยุคเวียดนามจนถึงปัจจุบัน Valor Tactical


ไม่ใกล้ไม่ไกลจากกำแพงอนุสรณ์สถานสงครามเวียดนามในเมืองวอชิงตัน ดี.ซี.
จะมีรูปปั้นที่มีขนาดเท่ากับคนจริงที่เรียกว่า "สามทหารหาญ"

รูปปั้นนี้แกะสลักขึ้นด้วยทองแดงโดยนักแกะสลัก เฟรเดอริก ฮาร์ท
โดยเขาได้ปั้นรูปปั้นขึ้นที่มีทั้งทหารที่สวมชุดของกองทัพบกสหรัฐ
และและนาวิกโยธินสหรัฐยืนถืออาวุธและหันหน้าไปทางกำแพง
อนุสรณ์สถานสงครามเวียดนาม ทหารที่ยืนอยู่ทางซ้ายมีลำตัว
ที่สะพายสายกระสุน และถือปืนกลอเนกประสงค์ M-60



นอกเหนือไปจากปืนไรเฟิล M-16A1 ก็คงเป็นปืน M-60 ที่เกี่ยวข้อง
และทำให้คนนึกถึงสงครามเวียดนามได้มากที่สุด
ปืนกระบอกนี้ได้อยู่ในมือของทหารที่รบในสงครามเวียดนาม
ไปจนถึงรูปปั้นที่ให้ความรู้สึกการเคารพและการรำลึกของ"สามทหารหาญ"

และหนังที่มีการทำลายล้าง บู้มันส์ ภายในเมืองที่แต่งขึ้นมาอย่าง
เมืองโฮป รัฐวอชิงตัน ด้วยตัวละครที่แสดงโดยซิลเวสเตอร์ สตอลโลน
อย่าง จอห์น แรมโบ้ ในหนังเรื่อง "First Blood"



ปืน M-60 เป็นอาวุธที่รับใช้ทหารอเมริกันด้วยความซื่อสัตย์มาอย่างยาวนาน
ในสมรภูมิที่หลากหลายมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957

โดยปืน M-60 ที่ได้ถูกผลิตออกมาช่วงแรกนั้น
อาจจะยังห่างไกลจากคำว่าสมบูรณ์แบบ
เนื่องมาจากโมเดลรุ่นแรกๆของปืน M-60 นั้นมีปัญหา
ในเรื่องของการออกแบบหลายอย่างที่ทำให้ทหารที่ใช้อาวุธกระบอกนี้
ต้องลองทุกวิถีทางและคิดค้นวิธีแก้ปัญหาจากของใกล้ตัว
ในการทำให้ปืนกระบอกนี้สามารถใช้งานได้ ตั้งแต่โครงเหล็กจากไม้แขวนเสื้อ
ไปจนถึงกระป๋อง ซี-เรชั่น (อาหารกระป๋องสำหรับรับประทานในสนามรบ) ที่ว่างเปล่า

นอกจากนั้น ปืน M-60 ยังมีน้ำหนักมากอีกด้วย
โดยมีน้ำหนักที่มากถึง 10.433 กิโลกรัมเลยทีเดียว
และสายกระสุนของปืนกระบอกนี้ก็ไม่ได้มีน้ำหนักที่เบาเลย



ทุกสิ่งเหล่านี้จึงเป็นสาเหตุที่ปืน M-60 จึงมีชื่อเล่นว่า "เจ้าหมู"

แต่มีสิ่งหนึ่งที่แน่นอน ถึงแม้ปืนกระบอกนี้จะมีปัญหาด้านการออกแบบ
แต่ทหารที่ใช้ปืนกระบอกนี้ก็สามารถมอบห่ากระสุนเพื่อสังหารศัตรูฆ่าศึกได้
ไม่ว่าเขาจะสู้รบในป่าดงดิบที่ชื้นแฉะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรือจะเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งของอัฟกานิสถาน



ปืน M-60 เป็นปืนที่มีระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
ป้อนกระสุนด้วยสายพานกระสุน เป็นปืนกลอเนกประสงค์ที่ปฏิบัติการด้วยแก็ซ
มันจะยิงกระสุนขนาด 7.62 มม. ด้วยอัตราการยิงที่ 550 นัดต่อนาที
ซึ่งเป็นอัตราการยิงที่ผู้ใช้งานจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนลำกล้องของปืนทุกๆนาที
นอกจากนั้น ปืน M-60 ยังมีขาทรายแบบ 2 ขา ติดมาด้วย ซึ่งสามารถพับเก็บได้
และยังสามารถตั้งกับขาทราย 3 ขาแบบพับได้ ได้อีกด้วย



M-60 นั้นทั้งเคยบรรจุและยังคงมีบางส่วนของกองทัพสหรัฐที่ยัง
ใช้ " เจ้าหมู " กระบอกนี้ประจำการอยู่

โดยมันประจำการในฐานะอาวุธสนับสนุนหมู่ปืนเล็ก,
อาวุธติดยานพาหนะ, และอาวุธติดอากาศยาน
ที่ติดอยู่ตามประตูของเฮลิคอปเตอร์อย่าง UH-1 Huey และ CH-47 Chinook



การพัฒนาปืน M-60 เริ่มขึ้นภายหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2
เหล่านายพลของกองทัพสหรัฐอเมริกามีความชื่นชนที่ปนไปด้วยความแค้น
ต่อปืนกลของฝ่ายเยอรมันอย่างปืน MG-42

ซึ่งเป็นปืนกลที่มีประสิทธิภาพสูงจนได้รับสมญานามว่า

" เลื่อยสังหารของฮิตเลอร์ "

โดยเหล่าทหารแวร์มัคท์ที่ได้ใช้งานปืนกล MG-42 มีอัตราการยิงที่น่าทึ่ง
และใช้สายพานกระสุนในการป้อนกระสุนเข้าสู่รังเพลิง
ซึ่งสองคุณสมบัตินี้เป็นคุณสมบัติที่เหล่านักออกแบบของปืน M-60
เห็นว่าเป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจ

ปืนไรเฟิล Fallschirmjägergewehr 42
หรือที่เรียกสั้นๆว่า FG 42 ก็เป็นปืนของพลร่มเยอรมัน
ที่มีคุณสมบัติที่น่าสนใจ เช่นเป็นปืนที่มีระบบปฏิบัติการด้วยแก็ซ
ซึ่งเป็นระบบที่อเมริกาได้นำมาต่อยอดในเวลาต่อมา

ปืน MG42 (ภาพบน) และปืน FG42 (ภาพล่าง) ที่เป็นแรงบันดาลใจของปืน M-60

ผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายสรรพาวุธของกองทัพสหรัฐได้นำสิ่งที่ดีที่สุด
จากอาวุธปืนของฝ่ายเยอรมันมาพัฒนาให้กลายเป็นปืนกลต้นแบบ

มีหลายส่วนที่กล่าวอ้างว่ามันยังไม่ใช่ปืนกลในอุดมคติ
แบบปืนรุ่นอื่นของต่างชาติ เช่น ปืน FN MAG
แต่อย่างน้อยปืน M-60 ก็เป็นปืนที่สามารถผลิตขึ้นได้ในประเทศ
ซึ่งทำให้ผู้แทนในสภาคองเกรสของสหรัฐที่มีอุตสาหกรรมทางทหาร
อยู่ในเขตของตนมีความสุขเป็นอย่างมาก

ปืน FN MAG ที่เคยเป็นคู่แข่งกับ M-60

ในปี ค.ศ.1957 กระทรวงกลาโหมก็ได้รับปืนกล M-60 เข้าประจำการ
และได้เรียกมันว่า ปืนกลของสหรัฐอเมริกา, กระสุนขนาด 7.62 มม., M60
และมันก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของคลังอาวุธของกองทัพสหรัฐนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา



แต่เจ้าปืนกล M-60 ที่ต้องมีทหารเกี่ยวข้องในการใช้งานมัน
อย่างน้อย 3 นายก็มีจุดอ่อนที่เป็นปัญหาใหญ่

อย่างแรก ไม่มีใครที่ออกแบบปืนกล M-60
ได้นึกถึงการใส่ด้ามจับสายสะพายบนลำกล้องปืน
ซึ่งนี่เป็นปัญหาที่ทำให้การเปลี่ยนลำกล้องปืนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก
ในการหยิบจับลำกล้องเหล็กที่ร้อนระอุ

ผู้ช่วยพลปืนกลจำเป็นต้องสวมใส่ถุงมือกันความร้อน
ที่มีรูปลักษณ์คล้ายถุงมือเตาอบท่ามกลางการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนลำกล้อง
อีกทั้งบางครั้งสายพานกระสุนก็ติดขัดในรังเพลิง

แต่ต่อมา ก็ได้มีทหารจีไออเมริกันหัวใสนายหนึ่งคิดค้นวิธีแก้ปัญหา
ได้อย่างชาญฉลาด แค่เพียงติดกระป๋อง ซี-เรชั่น
(อาหารกระป๋องสำหรับรับประทานในสนามรบ)
ไว้ที่ด้านซ้ายของรังเพลิงที่เป็นฝั่งป้อนกระสุน
เท่านี้สายพานกระสุนก็สามารถไหลเข้าสู่รังเพลิง
ได้อย่างราบรื่นด้วยพื้นผิวที่มีความโค้งของกระป๋อง

การใช้สิ่งของรอบตัว (กระป๋องเปล่า) เพื่อแก้ปัญหาของปืน M-60

พอมาถึงช่วงยุค 1980 กองทัพสหรัฐก็ได้รับ M-60E3 เข้าประจำการ
ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงและได้ขจัดปัญหาของรุ่นเก่าออกไป

ปืน M-60E3

ถึงแม้กระทรวงกลาโหมจะได้เริ่มมีการสั่งให้ปลดระวาง M-60
ออกจากการประจำการ แต่ก็ยังมีทหารอเมริกันหลายนาย
ที่ยังไว้วางใจและยังเลือกที่จะใช้ปืนกลกระบอกนี้อยู่

สมาชิกทีม SEALs ยังมีการใช้งาน กองทัพเรือและกองทัพยามฝั่งสหรัฐ
ก็ยังคงมีปืนกลกระบอกนี้ติดอยู่บนเรือลำต่างๆ และกำลังสำรองของกองทัพบก
ยังคงมีปืนกลกระบอกนี้อยู่ในคลังอาวุธจนถึงปัจจุบัน

ภาพประกอบ : การใช้ M-60 ของสมาชิกทีม SEALs

และในปัจจุบันก็ยังมีอีก 45 ชาติ ทั้งสมาชิกของนาโต้และพันธมิตร
ด้านเอเชียตะวันออกที่ยังคงใช้งาน M-60 ในฐานะปืนกลอเนกประสงค์อยู่

เขียนโดย Paul Haurd เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2020
แปลโดย เทอดพงษ์ ฉายะรถี เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 2020
เรียบเรียงโดย รณกฤต ศรีพุมมา เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2020

Leave a comment

All comments are moderated before being published

Blog posts

View all
Review - ไฟฉายจาก Nextorch

Review - ไฟฉายจาก Nextorch

Review รีวิวadmin admin
Review - Salomon XA Forces Mid GTX EN

Review - Salomon XA Forces Mid GTX EN

Review รีวิวadmin admin