ฟันเฟืองของการสร้างชาติ และ ผู้ให้กำเนิดธงรบ Don't Tread On Me Valor Tactical

บทความก่อนหน้า ทาง Valor Tactical
ได้นำเสนอเรื่องราวเบื้องหลังของภาพ JOIN, or DIE กันไปแล้ว

และเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะมองข้าม ธงรูปงูหางกระดิ่งยอดนิยม "Don't Tread On Me"
ที่ได้ถือกำเนิดเมื่อ 245 ปี ที่แล้ว และยังคงได้รับความนิยมจวบจนถึงปัจจุบัน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ
คริสโตเฟอ แกดสเดน (Christopher Gadsden) ผู้ให้กำเนิดธงยอดนิยมผืนนี้กัน

แกดสเดน เป็นบุคคลผู้รักชาติ ฟันเฟืองสำคัญในประวิติศาสตร์ชาติอเมริกัน
เขาเป็นผู้นำขององค์กรลับ "Sons of Liberty"
(องค์กรเพื่อสิทธิเสรีภาพ จากการกดขี่ภาษีโดยจักรวรรดิบริติช)
ในเขตอาณานิคม South Carolina ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1765

ในเวลาต่อมาไม่นานได้รับความเห็นชอบจาก
รัฐสภาภาคพื้นทวีป (Continental Congress)
จากความไว้เนื้อเชื่อใจของชาว South Carolina
ให้มีอำนาจเป็น ผู้บังคับการ กรมทหารที่ 1
เขต South Carolina แห่ง กองทัพบกภาคพื้นทวีป
(1st South Carolina Regiment of Continental Army)

และได้รับการแต่งตั้งเป็น นายทหารชั้นพันเอกของกองทัพบกภาคพื้นทวีป
แห่ง 13 อาณานิคมอังกฤษ ในทวีปอเมริกา (Continental Army)

ซึ่งไม่ใช่ความลับอะไรที่จะบอกว่า ในสมัยนั้นก่อนหน้าที่จะมีบทบาททางการเมือง
แกดสเดนไต่เต้าเลี้ยงชีพและครอบครัว ด้วยการเป็น พ่อค้าทาส
ในเขตอาณานิคม South Carolina

จนเวลาล่วงเลยมาถึง
ฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1775
ศึกที่เนินเขาบังเกอร์ (Battle of Bunker hill)
หนึ่งในศึกของสงครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War)

The Battle of Bunker Hill
, วาดโดย Howard Pyle, ค.ศ.1897

จักรกรรดิบริติช เข้ายึดครอง บอสตัน(Boston)
เมืองหลวงของเขตอาณานิคม Massachusetts
กำลังต่อกรกับ กองทัพบกภาคพื้นทวีปผู้ด้อยประสบการณ์
ซึ่งตรึงกำลังอยู่ที่เมือง Cambridge, Massachusetts

กับเสบียงที่ร่อยหรอและไม่อาจเลี้ยงกำลังทหาร
ของกองทัพบกภาคพื้นทวีปให้พ้นฤดูนี้ไปได้
รวมทั้งดินปืนที่ไม่เพียงพอต่อการล้มกองทหารของจักรกรรดิบริติช

ทหารของกองทัพบกภาคพื้นทวีป
ถูกสั่งให้ทำการยิงได้ก็ต่อเมื่อเห็นทหารบริติชวิ่งตัวเป็นๆเท่านั้น

ในขณะเดียวกัน อีกทางด้านหนึ่ง (ค.ศ. 1775)
แกดสเดนได้รับบทบาทในรัฐสภาภาคพื้นทวีป (Continental Congress)
ในสถานะผู้แทนเขตอาณานิคม Philadelphia เข้าร่วมประชุมรัฐสภาภาคพื้นทวีปครั้งที่ 2 (Second Continental Congress)

ต่อมา เรือสินค้าลำหนึ่งได้กลับเข้าเทียบท่าที่ Philadelphia
จากการเดินทางไปเกาะอังกฤษ
ได้นำสาสน์ลับส่งถึงมือ ผู้แทนเข้าร่วมประชุมรัฐสภาภาคพื้นทวีปครั้งที่ 2

มีใจความว่า
จักรวรดิบริติชวางแผนที่จะส่งเรือขนส่ง ออกเดินทางมาทวีปอเมริกา 
พร้อมด้วยอาวุธ และ ดินปืน เป็นจำนวนมหาศาล
ซึ่งถือเป็นโอกาศที่ กองทัพอาณานิคมภาคพื้นทวีป
ที่จะได้วางแผนปล้นสะดมและใช้ประโยชน์
จากของที่เรือจักรวรดิบริติชขนส่งมาเสริมกำลัง

จะดำเนินแผนการปล้นสะดมนี้ได้ 13 อาณานิคมจำเป็นต้องใช้ กองทัพเรือ

รัฐสภาภาคพื้นทวีป จึงเซ็นลงความเห็นชอบอย่างเร่งด่วนเพื่อก่อตั้ง
กองทัพเรือภาคพื้นทวีป (Continental Navy)
ขึ้นมาเพื่อรับภารกิจนี้ ด้วยการรวบรวม เรือใหญ่ทั้งหมด 4 ลำ
รวมทั้ง เรือสินค้าที่นำสาสน์มาแจ้งด้วย

และเพื่อให้ภารกิจลุล่วง รัฐสภายังได้ก่อตั้ง กองร้อยนาวิกโยธิน
ขึ้นมา 5 กองร้อย เพื่อใช้ในการศึก

แกดสเดน ก็ได้นำเสนอแนวความคิดออกแบบ ธงขึ้นมา ต่อหน้ารัฐสภาภาคพื้นทวีป ใจความว่า

"ผมอยากจะสร้างมาตรฐานที่มี ความสง่างามน่าเกรงขาม
ให้แก่ผู้บังคับการเรือ ของกองทัพเรือภาคพื้นทวีป
ภาพในหัวของผมคือ ผืนผ้าสีเหลืองโดดเด่น งูหางกระดิ่งตรงกลาง
ในลักษณะท่าทางที่ขดพร้อมจะเข้าโจมตีทุกเมื่อ
และ คำภาษิตที่ปลุกระดมทหารของเราว่า "Don't Tread On Me"

และจะพลาดไม่ได้เลยที่จะบอกว่า แกดสเดนเป็นเพื่อนคนสนิท กับ แบนจามิน แฟลงคลิน (Benjamin Franklin) สหายผู้รักชาติอีกด้วย
เจ้าของผลงาน JOIN, or DIE และทั้งสองได้ร่วมกันออกแบบ
ธงที่สำหรับใช้บนเรือของ กองทัพเรือภาคพื้นทวีป โดยมี แกดสเดน เป็นผู้ริเริ่ม

ณ บัดนั้นเอง แกดสเดน ได้รับการแต่งตั้งเป็น
1 ใน 3 คณะกรรมการของ นาวิกโยธิน เมื่อมีการก่อตั้ง กองทัพเรือภาคพื้นทวีป

ทุกคราวที่จะต้องออกรบ เรือรบจะมีการประดับด้วยธงนี้
นาวิกโยธินจะมีการนำกลองรบทาสีเหลือง
ประดับด้วยภาพเขียน งูหางกระดิ่งในท่าขดพร้อมต่อสู้
และเหล่านาวิกโยธินที่ตะโกนกู่ก้อง "Don't Tread on Me."

จริงอยู่ที่ เนื้อความบนธงนั้น เขียนไว้ว่า "Don't Tread On Me"
แปลตรงตัวได้ว่า "อย่าได้เหยียบย่ำเรา"

แต่นัยยะของธงทั้งผืนนี้ได้ถูกบันทึก โดยเพื่อนสนิทของ แกดสเดน
แบนจามิน แฟลงคลิน นั้นเอง

1) ในยุคสมัยที่เราเคยเดินเรือมา เราไม่เคยพบเจองูหางกระดิ่ง ที่อื่นเลย
     ยกเว้นในทวีปอเมริกา จึงยกให้ งูหางกระดิ่ง เป็นสัตว์ร้าย ประจำภาคพื้นทวีปนี้

2) งูหางกระดิ่งมีสายตาที่เฉียบแหลม สื่อถึง ความตื่นตัว ไม่เคยวางใจ
     และ ไม่เคยละสายตาออกจากศัตรู

3) งูหางกระดิ่ง ไม่เคยโจมตีใครก่อน แต่เมื่อจำเป็นต้องสู้ มันไม่เคยเลิกรา
     สื่อถึง หัวใจที่ยิ่งใหญ่เกินตัว และ ความกล้าหาญ

4) จำนวนข้อกระดิ่งที่ปลายหาง สื่อถึง 13 อาณานิคม ในทวีปอเมริกา

และนั้นคือจุดกำเนิดของธงรบสีเหลืองสง่า มีชื่อเรียกว่า "The Gadsden Flag"
ตามชื่อสกุลของผู้ออกแบบ คริสโตเฟอ แกดสเดน
เคียงคู่จุดกำเนิดของ นาวิกโยธิน และ กองทัพเรือภาคพื้นทวีป
ที่ซึ่งกลายมาเป็น กองทัพเรือสหรัฐ และ นาวิกโยธินสหรัฐ ในปัจจุบัน

ในความเห็นของผู้แปลและเรียบเรียง  
"Don't Tread On Me" หรือแปลตรงตัวได้ว่า "อย่าได้เหยียบย่ำเรา"  
นัยยะสั้นๆจริงๆ ที่แกดสเดนอยากจะสื่อต่อศัตรูของเขาหรือผู้พบเห็น 
ก็คงจะเป็น "เราไม่เคยมุ่งร้ายใครก่อน หากคุณกล้าเหยียบ หยามเรา เราจะได้เห็นดีกัน"



ที่มา :
https://www.patriotwood.com/blogs/news/the-true-history-behind-the-gadsden-flag
https://en.wikipedia.org/wiki/Gadsden_flag

บทความ : THE TRUE HISTORY BEHIND THE GADSDEN FLAG

เขียนและแปลโดย : ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2563

เรียบเรียงโดย : Ronnakrit " VikinGz " Sripumma เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2563

ทิ้งข้อความไว้

ความคิดเห็นทั้งหมดจะถูกกลั่นกรองก่อนที่จะเผยแพร่