นับว่าเป็นประโยคขึ้นแท่นคลาสสิคที่หลายๆคน
อาจจะเคยได้ยินพอๆกับประโยคที่ว่า
" แค่พกปืนก็พอแล้ว ไม่ต้องฝึกป้องกันตัวหรอก "
แต่สำหรับสถานการณ์จริงมันต่างกันเยอะมากไม่เหมือนกับที่เห็นในหนัง
มีเคสตัวอย่างมากมายในโลกอินเตอร์เนตหรือในข่าวที่เกิดขึ้นจริง
ทำให้เราเห็นว่า แม้แต่คนที่ถือปืนก็อาจจะเพลี่ยงพล้ำให้กับคนที่ถือมีด
อาจจะไปจบที่การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตทั้งคู่ด้วยก็ได้
อะไรคือตัวแปรนั้น .. และเราจะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดนั้นได้อย่างไร ?
ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องนั้น ผมขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ
กฏการปะทะ 21 ก้าว หรือ 21-Feet Rule กันก่อนครับ
" The 21-Feet Rule " ถูกเริ่มนำมาพูดถึงในช่วงปี 1983
โดย Lt. Dennis Tueller ครูฝึกประจำโรงเรียนตำรวจในขณะนั้น
ได้ทำการเขียนบทความลงในนิตยสาร SWAT Magazine
ที่มีชื่อบทความว่า
" ใกล้แค่ไหนถึงจะเรียกว่าใกล้เกินไป | How CLOSE is TOO CLOSE? "
( ผู้อ่านสามารถคลิกเพื่อเข้าไปอ่านบทความต้นฉบับ
ที่ Tueller เขียนไว้ในยุคนั้นได้เลยนะครับ )
โดยในบทความได้กล่าวถึงการรับมือเหตุการณ์เผชิญเหตุระหว่าง
เจ้าหน้าที่ที่พกปืน กับผู้ร้ายที่ใช้มีด นอกเหนือจากขั้นตอนปฏิบัติแล้ว
ทางบทความได้ยกตัวอย่างสั้นๆที่พูดถึงกรณีที่ผู้ร้ายเข้าปะทะกับตำรวจ
และมีการพิสูจน์พร้อมยกตัวอย่างแล้วว่าในระยะประชิดนั้น
ผู้ร้ายสามารถเข้าถึงตัวเจ้าหน้าที่ก่อนที่เขาจะสามารถหยิบจับ
อาวุธปืนได้ทันเวลาเสียอีก
นั่นหมายความว่า .. หากคุณกับผู้ต้องสงสัย
อยู่ห่างในระยะที่ต่ำกว่า 21 ก้าว
คุณมีโอกาสที่จะถูกผู้ต้องสงสัยที่ถือมีดหรือของแข็ง
ทำร้ายจนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ แม้ว่าคุณจะพกปืนก็ตาม !!
ซึ่งเคยมีการทดลองจนได้ข้อสรุปกันคร่าวๆว่า
มนุษย์หนึ่งคนที่ทำการเคลื่อนที่ด้วยการวิ่ง
ภายในระยะทาง 21 ฟุต จะใช้เวลาเฉลี่ย
อยู่ที่ประมาณ 1.5 วินาที
( ในการทดลอง ผู้ที่วิ่งเร็วสุดคือ
ใช้เวลา 1.24 วิ และช้าสุดที่ 1.83 วิ )
หลังจากนั้นทฤษฏีนี้ก็ได้รับการยอมรับมากมาย และก่อกำเนิด
การฝึกที่มีชื่อว่า Tueller Drill รวมไปถึงการก่อกำเนิดของกฏ 21 ก้าว
ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องทำความเข้าใจ และรู้จักกับหลักการตัวนี้
ก่อนปฏิบัติหน้าที่จริง ..
ซึ่งใน Drill การฝึกก็มีหลากหลายมากมาย จำลองการตัดสินใจ
ในการเผชิญเหตุมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฝึกการชักปืนจากซองปืน
การถอยเพื่อสร้างระยะ หรือการเบี่ยงหลบเพื่อลดโอกาสการปะทะ
คราวนี้ปัญหาคืออะไร ? ปัญหาก็คือแม้ว่าจะมีกฏ 21 ก้าวก็ตาม
การสูญเสียและข้อผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ก็ยังมีอยู่เช่นเคย
และไม่ใช่เพราะเจ้าหน้าที่ขาดความพร้อมหรือความเข้าใจด้วยซ้ำ
แต่สุดท้ายหลังจากการสืบสวน และเก็บข้อมูล ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ได้ค้นพบความจริงอีกข้อหนึ่งที่พูดๆกันในกลุ่ม Community เลยว่า
นั่นก็เพราะระยะห่าง 21 ก้าวมันไม่เพียงพอหนะสิ !
ใช่ครับ ... ย้อนกลับไปที่การทดลอง เราจะเห็นว่า
ในคำว่าระยะ 21 ฟุตกับ 1.5 วินาทีนั้น มันเป็นเพียงแค่ค่าเฉลี่ย
และมีหลายคนที่วิ่งได้เร็วกว่านั้น ! และการทดลองนั่นก็จำลอง
จากการที่ผู้ฝึกรู้ตัวอยู่แล้วว่าจะถูกวิ่งเข้ามาทำร้าย และนั่นคือสถิติ
ที่บันทึกไว้ตั้งแต่สมัยปี 1980 นะครับ !
ซึ่งในชีวิตจริงมันไม่ใช่แบบนั้น ทุกอย่างอาจจะเกิดขึ้นเร็วกว่านั้น
และยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถตัดสินใจได้
จนนำพาไปสู่ความผิดพลาดดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด
, ภาพรวมของสถานการณ์ในตอนนั้น ฯลฯ
พอมาถึงจุดนี้ จึงมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนจากกฏ 21 ก้าว
มาเป็นกฏ 31 ก้าว เพื่อเพิ่มระยะห่างเข้าไปอีก เป็นการคำนวณ
ผ่านความน่าจะเป็นของปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มเข้ามา
และกำลังจะกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ที่จะมาแทนที่กฏ 21 ก้าว
โดยจุดนี้หลายๆท่านอาจจะเริ่มรู้จักภายใต้ชื่อ 31-Feet Rule นั่นเองครับ
เมื่อผู้อ่าน อ่านมาถึงจุดนี้อาจจะคิดว่านี่คือความลับของกฏ 21 ก้าว
ที่ผมเขียนไว้ในหัวเรื่องหรือเปล่า ? ถามว่าปัญหานั้นจบลงหรือยัง
หลังจากเปลี่ยนเป็นกฏ 31 ก้าว ? คำตอบคือ ... " ไม่ !!! "
ความบันเทิงที่แท้จริงกำลังจะเริ่มต้นต่อจากนี้ต่างหาก
เพราะผมกำลังจะบอกกับทุกท่านว่า ความลับที่แท้จริง
ของ 21-Feet Rule นั่นก็คือ ...
" กฏระยะ 21 ก้าว มันไม่เคยถูกนับว่าอะไรนะ ! นั่นหมายความว่าที่ผมพิมพ์มาทั้งหมดก่อนหน้านี้
เป็นกฏข้อปฏิบัติใดๆมาก่อน และไม่ควร
ถูกนำมาเรียกว่าเป็นกฏด้วยซ้ำ ! "
ทุกอย่างมันเป็นเรื่องโกหกงั้นหรือ ?
ไม่ใช่แบบนั้นซะทีเดียวครับ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆก็คือ
เราไม่สามารถกำหนดระยะปลอดภัยเป็นตัวเลขเปะๆ
ให้กับทุกคนหรือทุกสถานการณ์บนโลกนี้ได้
คนที่จะรู้ว่าระยะไหนคือระยะที่ปลอดภัยจริงๆ
นั่นก็คือตัวคุณเอง มีเพียงตัวคุณเองเท่านั้นที่รู้ดีที่สุด !
ไม่ใช่ยึดตามกฏว่าคุณอยู่ห่าง 31 ก้าว
แล้วมันจะอันตรายและถ้าผู้ร้ายอยู่ห่างคุณ
ซัก 32 ก้าวแล้วคุณจะรอดแน่ๆ มันไม่ใช่เลยครับ !
และถ้าเราเอาแต่โฟกัสกันที่ตัวเลขระยะห่างของก้าว
สุดท้ายในการปะทะเราอาจจะไปจบที่ภาพแบบนี้ครับ .....
ทุกท่านมองเห็นอะไรในภาพไหมครับ ? เห็นการ Grip ปืนไหม
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อถึงวินาทีนั้น .. คุณจะชักปืนได้ถูกต้อง
หรือทันเวลาไหม ? ปืนอาจจะกระเด็นออกจากซอง
หากหยิบแบบลุกลี้ลุกลน คุณอาจจะล้ม หรือคุณอาจจะหยิบปืน
แต่อยู่ในท่าที่ไม่ปลอดภัยเลย และนั่นผมหมายถึง
ไม่ปลอดภัยที่คุณจะเอาตัวรอดจากสถานการณ์นั้นด้วยซ้ำ
ใช่ครับ .. คุณชักปืนทัน .. ใช่ครับ .. คุณได้ยิงนัดแรก ..
แต่ยิงโดนไหมนั่นอีกเรื่อง ? ยิงแล้วผู้ร้ายจะล้มเลยไหม ?
นั่นก็อีกเรื่องนึง ... เราจะรอดชีวิตไหม .. นั่นก็อีกเรื่องนึง
หรืออาจจะแย่กว่านั้น .. คือยิงโดน .. แต่ไปโดนผู้บริสุทธิแทน
ถึงจุดนั้นคุณจะทำอย่างไรต่อไปครับ ...
จุดนี้แม้แต่ Dennis Tueller ผู้ที่เริ่มต้นทฤษฏี
และเขียนบทความยังเคยกล่าวไว้เองในปี 2018 เลยครับ
ว่าความเป็นจริงแล้ว เรืองของกฏ 21 ก้าว
มันเป็นเรื่องของความเข้าใจผิดที่ว่าจะต้องมายึดติด
กับตัวเลขระยะห่างเปะๆระหว่างตัวเรากับผู้ต้องสงสัย
ซึ่งสามารถดูได้จากคลิปนี้ได้เลยครับ
" 21-Foot Principle Clarified
by Dennis Tueller and Ken Wallentine [ 2008 ] "
" มันไม่ได้หมายความว่าถ้าผู้ร้ายอยู่ระยะต่ำกว่า 21 ฟุต
เราต้องทำการยิงทันทีเลยเพราะอยู่ในระยะไม่ปลอดภัย
มันไม่ใช่แบบนั้นเลย การหยิบยกเรื่องระยะห่าง 21 ฟุต
คือความพยายามในการให้ผู้อ่านได้เห็นภาพมากขึ้น
ว่าระยะห่างมีผลต่อการรับมือด้วยอาวุธและแทคติก
ที่แตกต่างกันต่างหาก "
สิ่งที่สำคัญคือ Mindset ที่ถูกต้องในการเผชิญเหตุ ..
ไม่ใช่ตัวเลขระยะห่างระหว่างตัวเรากับผู้ต้องสงสัย
และนั่นคือสิ่งที่ Tueller พยายามจะบอกผ่านบทความ
ไปจนถึงในวีดีโอที่ช่วยขยายความทฤษฏีนั้นครับ
สิ่งที่ควรทำจริงๆ นั่นคือการที่คุณจะต้องลดความสำคัญ
ของคำว่า " 21 ก้าว , 31 ก้าว " นั่นลงไป แต่ไปโฟกัสกันที่
" ระยะปลอดภัยที่แท้จริง " ของตัวคุณเองครับ
สิ่งที่ผมอยากให้ทุกท่านทำความรู้จักกับข้อมูลพวกนี้
และต้องหาคำตอบที่เป็นเวอร์ชั่นของคุณเอง ซึ่งมีดังนี้ครับ
1.Reaction Gap : คือระยะเวลาที่คุณตอบสนอง
กับอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นจริง ยกตัวอย่างเช่น ...
ถ้าคุณหันไปเจอผู้ต้องสงสัย ..และเริ่มมองเห็นความผิดปกติ
ก่อนคุณจะตัดสินใจทำอะไรซักอย่าง ช่วงเวลานั้นคุณใช้เวลาจริงๆ
ประมาณกี่วินาทีครับ ?
( บางท่านอาจจะเคยได้ยินกับคอนเซปของ OODA Loop
ซึ่งผมจะยกมาพูดในบทความต่อๆไปในอนาคตครับ )
2.Draw and Fire Time : คือระยะเวลาในการชักปืน
ออกจากซองและทำการยิง อันนี้หลายๆท่านน่าจะคุ้นเคยกัน
แต่สิ่งที่อยากให้คำนวณเพิ่มขึ้นมา นั่นคือการใช้งานจริง
คุณใช้ซองปืนรูปแบบไหนกันบ้าง ?
สำหรับเจ้าหน้าที่อาจจะใช้ซองปืน Level 2 Retention
ที่มีระบบป้องกันการถูกแย่งอาวุธ ซึ่งจะมีขั้นตอน
ในการหยิบปืนจากซองที่เพิ่มมากกว่าเดิมเล็กน้อย
ไปจนถึงลักษณะการบรรจุกระสุนในอาวุธปืน
ก่อนออกปฏิบัติภารกิจ ว่าเราบรรจุอยู่ใน Condition อะไร
เพราะการหยิบใช้งาน ย่อมใช้เวลาแตกต่างกันอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเป็น
Condition 1 คือมีลูกกระสุนในลำเพลิงพร้อมทำการยิง
Condition 3 บรรจุซองกระสุนแต่ไม่มีการขึ้นลำ
และไม่มีลูกกระสุนในลำเพลิง
3.Danger zone : คือระยะและตำแหน่งที่อันตรายสำหรับเรา
ถ้าถูกจู่โจมจากระยะหรือตำแหน่งนี้ นั่นคือเราไม่สามารถ
ที่จะป้องกันตัวได้เลย หรือได้แต่แลกมากับการบาดเจ็บแน่ๆ
เป็นระยะที่รู้ว่าไม่ปลอดภัยสำหรับเราโดยแท้จริง
ถ้าแปลเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆก็คือ ..
เป็นระยะหรือตำแหน่งที่ถ้าเราถูกโจรปล้นเข้าประชิดตัวได้
สิ่งที่เราทำได้มีแค่ " ยอมและให้กระเป๋าตังค์ไปซะ " เป็นต้น
คำถามคือ .. ระยะ Danger Zone ของเรานั้นอยู่ที่กี่เมตร
และอยู่ในตำแหน่งไหนบ้างของเรา ? จุดบอดสายตา
เราอยู่ตรงไหนบ้าง ? จุดไหนที่เราควรระแวง
หรือควรหันไปให้ความสนใจเป็นพิเศษ
นั่นคือคำถามที่คุณเท่านั้นสามารถตอบตัวเองได้ครับ
ทุกอย่างที่กล่าวมาจะถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง
เพื่อให้ท่านค้นหาความจริงของท่านเองให้ได้ว่า
" ระยะเวลาตั้งแต่เราสังเกตุเห็นอันตรายซึ่งจุดนั้นก็จะนำพาเราไปสู่อีกเรื่องนึงที่สำคัญไม่แพ้กันเลย
ไปจนถึงการตัดสินใจหยิบอาวุธปืนขึ้นมาต่อสู้นั้น
จริงๆแล้วเราใช้เวลากี่วินาทีกันแน่ ? "
นั่นคือ Situation Awareness : ซึ่งนั่นคือการสังเกตุการณ์ ,
ประเมินสถานการณ์ และความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นโดยรอบ
ยกตัวอย่างเช่น .. การคิดถึงเรื่องที่กำบัง , ทางหนี ,
การรับมือในเคสที่แย่ที่สุด เป็นต้น
สิ่งที่ดียิ่งขึ้น คือการเรียนรู้ว่าเราจะต้องรู้จักกับการ " Get off the X "
ในตอนเผชิญเหตุ ทำยังไงก็ได้ให้เราไม่กลายเป็นเป้านิ่ง
การมองหาที่กำบัง หรือการอ่านภาษากาย ( Body Language )
ของคนที่เรากำลังรับมืออยู่ด้วย เพื่อวางแผนในการรับมือต่อไป
และสุดท้ายเลยก็คือการรู้จักตัวเองให้มากขึ้น
รู้ว่าช่วงเวลาที่เราตัดสินใจไปจนถึงทำการยิงอยู่ที่กี่วินาที
และระยะห่างขนาดไหนที่เรียกได้ว่า " ปลอดภัยจริงๆ "
และระยะไหนที่เราเรียกได้ว่า " ไม่ปลอดภัยแบบสุดๆ "
หลังจากนั้นคุณก็จะมีคำตอบของตัวคุณเองเรียบร้อยครับ
และนั่นแหละ คือระยะปลอดภัยที่แท้จริงของคุณ
มันอาจจะไม่ใช่ 21 ก้าว หรือ 31 ก้าว
แต่มันคือระยะที่แท้จริงที่คุณรู้ว่าจะทำอะไรต่อไป
พวกกฏ 21 ก้าว มันเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น
แต่คนที่จะให้คำตอบนี้ได้ คือตัวคุณเองนี่แหละ
ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขด้วยการเพิ่มระยะห่าง , หาที่กำบัง
หรือว่าใช้การวิ่งหนีขณะถูกไล่ตาม เพื่อสร้างจังหวะ
ก่อนทำการยิง หรือใช้เทคนิคการเบี่ยงหลบ , ใช้ที่กำบัง
และมันจะทำให้การฝึก Tueller Drill มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะนั่นคือการฝึกที่จะทดสอบความรู้ความเข้าใจ
ไปจนถึงการค้นหาตัวเอง ว่าถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้นั้น
เราจะรับมือมันได้อย่างไรบ้าง ?
และเมื่อทุกอย่างจะกลายมาเป็นคำตอบที่สมเหตุสมผลมากขึ้น
เมื่อคุณรู้จักกับตัวเอง ประกอบกับข้อมูลที่ผมกล่าวไว้ด้านบน
และคุณถือคำตอบนั้นอยู่ในมือแล้ว ถึงจุดนั้นคุณจะรู้ได้เอง
ว่าคุณควรใช้เทคนิคไหนในการเอาชีวิตรอดจากเหตุการณ์ครับ
และนั่นคือจุดประสงค์ที่แท้จริงของ Tueller Drill
สิ่งที่ Dennis Tueller พยายามจะบอก
และนั่นคือความลับของ 21-Feet Rule
ซึ่งคุณเองจะเป็นคนตอบคำถามนี้ของ Tueller ได้
How Close is too close ?
ใกล้แค่ไหนถึงจะเรียกว่าใกล้เกินไปสำหรับคุณ ?
ผมเชื่อว่าคุณหาคำตอบนี้ได้ครับ ขอให้สนุกกับการฝึกครับ
ผู้เขียน / เรียบเรียง : Ronnakrit " Viking " Sripumma
เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2564
ข้อมูลเพิ่มเติม :
- The Science Behind the Tueller Drill: Why Knives May Be More Dangerous Than You Think - Tier Three Tactical
- The Dangers of the '21-Foot Rule' - U.S. LawShield
- The 21-foot “Rule” is Back in the News! | Force Science Institute
- Is The 21 Foot Rule Really A Thing? | Gun Belts Blog
- The myth of the ‘21-foot’ rule - Blue Line
- Recent court cases focus on the 21-foot rule in policing (police1.com)