10  ข้อควรรู้ในการใช้งาน สายรัดห้ามเลือด (TOURNIQUET) Valor Tactical

10  ข้อควรรู้ในการใช้งาน สายรัดห้ามเลือด (TOURNIQUET)

 

ที่จะช่วยให้การใช้สายรัดห้ามเลือดมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนครับ
1. เมื่อใช้งาน ให้จัดตำแหน่งของการใช้สายรัดห้ามเลือด
ให้สูง และ รัดให้แน่นเข้าไว้ พวกเราเรียกวิธีการนี้ว่า
" การห้ามเลือดเร่งด่วน หรือ Hasty TQs "
ซึ่งในปัจจุบันก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่อยู่ในหัวข้อ
การฝึก Care under fire ของหลักสูตร TCCC อีกที
2. หากบาดแผลเกิดขึ้นที่บริเวณต้นขา ห้ามใช้สายรัดห้ามเลือด
รัดคาดจนถึงกระดูกเชิงกราน "iliac crest" โดยตำแหน่งที่สูงที่สุด
ที่จะใช้สายรัดห้ามเลือดได้ คือ ตำแหน่งใกล้ๆบริเวณต้นขา
( บริเวณขาหนีบ ) เพียงเท่านั้น และควรใช้ในเฉพาะเคส
ที่ไม่สามารถตรวจหาปากแผลได้แน่นอน
3. เป็นเรื่องที่ฟังดูน่าขัน แต่อันตรายอย่างมากเช่นกัน
นั่นคือควรระวังไม่ให้สายรัดห้ามเลือดนั้นรัดอวัยวะเพศชายเข้าไปด้วย
ซึ่งนอกเหนือจากการที่ไม่สามารถห้ามเลือดได้เต็มประสิทธิภาพแล้ว
อาจจะสร้างความบาดเจ็บขั้นรุนแรงต่อผู้บาดเจ็บ และอาจนำไปสู่
การสูญเสียอวัยวะสำคัญของผู้บาดเจ็บได้โดยไม่จำเป็น
.
4. หากจำเป็นต้องใช้สายรัดห้ามเลือดมากกว่า 1 เส้น
ให้รัดที่ตำแหน่งที่สูงกว่าเส้นแรกเท่านั้น อย่าคลายเส้นเก่าออก
หรือถอดสายรัดเพื่อทำการรัดใหม่ ให้รัดเส้นใหม่เสริมเข้าไปเท่านั้น
( ส่วนของการถอดสายรัดห้ามเลือดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แพทย์
ผู้เชี่ยวชาญ หรือในขณะที่ผู้บาดเจ็บอยู่ที่รพ. แล้วเท่านั้น )
5. เมื่อใช้งานสายรัดห้ามเลือด การดึงสายเพื่อรัดห้ามเลือดครั้งแรก
ควรทำให้แน่นที่สุดเท่าที่จะดึงได้ และ ก้านขันนั้นเป็นตัวช่วย
เพิ่มแรงกดเท่านั้น ( ในจุดนี้เคยเห็นในการฝึกพบว่า
ผู้ฝึกเกิดปัญหาไม่สามารถห้ามเลือดได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
แม้ว่าจะขันก้านขันหลายรอบแล้วก็ตาม ซึ่งจากการตรวจพบ
ทำให้เห็นว่าเกิดมาจากการดึงสายรัดไม่แน่นพอตั้งแต่แรก )
.
6. เราสามารถรัดสายรัดห้ามเลือดบนอวัยวะได้นานมากกว่า 2 ชม.
โดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆถึงเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อของร่างกาย
ซึ่งสามารถกระทำได้แม้แต่ในการฝึกการใช้สายรัดห้ามเลือด
( แต่ในขณะทำการฝึก เมื่อทำการถอดสายรัดห้ามเลือด
จะต้องกระทำโดยครูฝึกหรือเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์
ในการถอดสายรัดห้ามเลือดเท่านั้น ห้ามนักเรียนทำโดยพลการ )
.
7.หากคุณยังรู้สึกไม่แน่ใจว่าต้องใช้สายรัดห้ามเลือดกับผู้บาดเจ็บหรือไม่ ?
ให้คุณใช้สายรัดห้ามเลือดไปก่อนเลย ไม่จำเป็นต้องเสียดายใดๆ
เพราะในบางครั้ง มีหลายเคสที่พบบาดแผลแต่ไม่ชัวร์ว่าอยู่จุดไหน
และอาการหนักแค่ไหนจนไม่ชัวร์ว่าควรใช้ TQ ไหม
ฉะนั้นจงใช้สายรัดห้ามเลือดกันเหนียวไปก่อนเลย
ยังไงก็ดีกว่าการที่ไม่ได้ใช้แต่แรกแล้วพลาดโอกาสรักษาพยาบาลไป
.
8. คุณสามารถใช้สายรัดห้ามเลือดในบริเวณที่มีกระดูกสองท่อนคู่กันได้
เช่นบริเวณแขนท่อนล่าง หรือ บริเวณหน้าแข้ง
.
9. ห้ามใช้สายรัดห้ามเลือดบนข้อต่อร่างกายหรือข้อต่ออวัยวะ
เช่นหัวเข่า , ข้อศอก จุดที่เป็นข้อพับต่างๆ
( หากถึงจุดนั้น คำแนะนำที่ดีที่สุดคือให้ใช้สายรัดห้ามเลือด
บริเวณต้นแขนหรือต้นขาไปเลยจะดีที่สุด )
.
10. หลังจากที่ได้นำพาผู้บาดเจ็บไปยังสถานที่ปลอดภัย
หรือควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ควรตรวจสอบให้มั่นใจเป็นระยะๆ
ว่าสายรัดห้ามเลือดนั้นยังคงใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
ควรตรวจสอบว่าสายรัดนั้นได้รัดบนผิวหนังโดยตรง ไม่มีเสื้อผ้า หรือ
ชิ้นส่วนอะไรที่จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของสายรัดห้ามเลือด
( อาจจะใช้การตรวจสอบด้วยการใช้นิ้ว 3 นิ้วสอดเข้าไป
หากไม่สามารถสอดได้ถือว่ายังคงใช้งานได้ดีอยู่ เป็นต้น )
.
เพิ่มเติม : การใช้สายรัดห้ามเลือดแม้ว่าจะยังสวมใส่เสื้อผ้าอยู่
จะอนุโลมเฉพาะขณะทำการฝึกเท่านั้น แต่ขณะปฏิบัติจริง
ควรทำการตัดเสื้อผ้าออกให้หมดก่อนใช้สายรัดห้ามเลือด
( หากสามารถกระทำได้ในขณะนั้น ) เพื่อลดความเสี่ยง
ที่เศษเสื้อผ้าหรือสิ่งของด้านในจะทำให้การใช้สายรัดห้ามเลือด
ไม่เต็มประสิทธิภาพ
.
เพิ่มเติม 2 : หากไม่ได้อยู่ในการปะทะ หรืออยู่ในสถานที่อันตราย
และสามารถใช้สายรัดห้ามรัดได้แบบไม่เร่งรีบ การรัดสายรัดห้ามเลือด
เหนือปากแผล 2-3 นิ้ว จะได้ประสิทธิภาพในการห้ามเลือดสูงสุด
.
ที่มาบทความ FB : North American Rescue
ผู้แปล : ธีธัช รินชัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564
ผู้เรียบเรียง : รณกฤต ศรีพุมมา วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 

ทิ้งข้อความไว้

ความคิดเห็นทั้งหมดจะถูกกลั่นกรองก่อนที่จะเผยแพร่

Blog posts

View all